ประกาศสถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล
เรื่อง รับสมัครคัดเลือกบุคคลเพื่อบรรจุและแต่งตั้งเป็นพนักงานมหาวิทยาลัย
-------------------------------------

       ด้วยมหาวิทยาลัยมหิดลมีความประสงค์จะรับสมัครคัดเลือกบุคคลเพื่อบรรจุเป็น พนักงานมหาวิทยาลัย ตำแหน่งผู้ช่วยอาจารย์ จำนวน ๑ อัตรา ปฏิบัติงาน กลุ่มวิชาภาษา วัฒนธรรม การสื่อสารและการพัฒนา มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย

        ๑. ตำแหน่งที่จะดำเนินการรับสมัครเพื่อคัดเลือก ตำแหน่งที่บรรจุปรากฏอยู่ในรายละเอียดแนบท้ายประกาศนี้

        ๒. คุณสมบัติของผู้มีสิทธิสมัคร ผู้สมัครรับการคัดเลือกต้องมีคุณสมบัติทั่วไปตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยมหิดลว่าด้วยการบริหารงานบุคคลพนักงานมหาวิทยาลัย พ.ศ.๒๕๕๑ และมีคุณสมบัติเฉพาะตำแหน่งตามที่ระบุไว้ในรายละเอียดเกี่ยวกับการสอบแนบท้ายประกาศนี้

        ๓. เอกสารหลักฐานประกอบการสมัครในลักษณะของไฟล์อิเล็กทรอนิกส์(PDF)เท่านั้น
           ๓.๑ สำเนาหลักฐานวุฒิการศึกษา
           ๓.๒ สำเนาใบรายงานผลการศึกษาฉบับสมบูรณ์
           ๓.๓ สำเนาคะแนนทดสอบภาษาอังกฤษ จำนวน ๑ ฉบับ (ตามเกณฑ์ผ่านการทดสอบภาษาอังกฤษที่มหาวิทยาลัยมหิดลกำหนด)
           ๓.๔ ใบรับรองการทำงาน (ถ้ามี)
           ๓.๕ ไฟล์รูปถ่ายหน้าตรง ใส่ชุดสุภาพ ถ่ายไว้ไม่เกิน ๖ เดือน ในรูปแบบ jpg หรือ png ที่มีขนาดไม่เกิน ๒๐๐ kb

        ๔. การสมัครและการยื่นใบสมัคร ผู้ประสงค์จะสมัครงานสามารถกรอกใบสมัครลงในระบบ e-Recruitment Online
ที่ https://muhr.mahidol.ac.th/E-Recruitment ตั้งแต่บัดนี้ถึงวันที่ ๘ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๗

        ๕. การประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิเข้ารับการคัดเลือก วัน เวลา และสถานที่ทำการคัดเลือก
           ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิเข้ารับการคัดเลือกภายในวันที่ ๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๗ ที่ https://muhr.mahidol.ac.th/E-Recruitment

 
 
ประกาศ ณ วันที่         กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๗
 

รองศาสตราจารย์ ดร.มรกต ไมยเออร์
ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเซีย




 



รายละเอียดแนบท้ายประกาศสถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล

ลงวันที่         กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๗


ตำแหน่ง ผู้ช่วยอาจารย์(หลักสูตรปัชญาดุษฎีบัณฑิต/ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาศาสตร์) จำนวน ๑ อัตรา
หน่วยงาน กลุ่มวิชาภาษา วัฒนธรรม การสื่อสารและการพัฒนา มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา
อายุไม่เกิน ๔๕ ปีนับถึงวันที่สมัคร
ประสบการณ์ มีประสบการณ์ในการทำงานวิจัยด้านภาษาศาสตร์คอมพิวเตอร์หรือเทคโนโลยีภาษาในภูมิภาคเอเซีย (นอกเหนือจากภาษาไทย) สามารถทำงานวิจัยภาคสนามหรือทำงานวิจัยร่วมกับชุมชนในประเด็นภาษาและวัฒนธรรมภาษาศาสตร์มานุษยวิทยา หรือสาขาที่เกี่ยวข้อง จะได้รับการพิจารณาเป็นพิเศษ
คุณสมบัติของผู้สมัคร
  1. ไม่จำกัดเพศ อายุไม่เกิน ๔๕ ปีนับถึงวันที่สมัคร
  2. ไม่เคยต้องโทษจำคุก โดยคำพิพากษาเพราะกระทำผิดทางอาญา
  3. มีผลการทดสอบภาษาอังกฤษผ่านเกณฑ์ตามที่มหาวิทยาลัยมหิดลกำหนด ดังนี้

IELTS (Academic Module)                คะแนนรวมไม่ต่ำกว่า        ๔      คะแนน

TOEFL IBT (Internet Based)              คะแนนรวมไม่ต่ำกว่า      ๔o       คะแนน

TOEFL- ITP                                  คะแนนรวมไม่ต่ำกว่า     ๔๓๓      คะแนน

TOEFL- CBT                                 คะแนนรวมไม่ต่ำกว่า     ๑๒o      คะแนน

TOEIC                                         คะแนนรวมไม่ต่ำกว่า     ๕oo      คะแนน          

MU GRAD Test                              คะแนนรวมไม่ต่ำกว่า      ๔๘       คะแนน                    

MU-ELT                                      คะแนนรวมไม่ต่ำกว่า      ๗o       คะแนน                    

โดยผลการทดสอบต้องมีอายุไม่เกิน ๒ ปี นับถึงวันยื่นใบสมัคร

กรณี เป็นผู้สำเร็จการศึกษาจากหลักสูตรที่มีการเรียนการสอนเป็นภาษาอังกฤษ (หลักสูตรนานาชาติ) ในประเทศที่มีการใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาทางการ จะไม่แนบผลคะแนนทดสอบภาษาอังกฤษดังกล่าวก็ได้

ผ่านเกณฑ์ทดสอบภาษาอังกฤษที่มหาวิทยาลัยมหิดลกำหนด จะต้องได้คะแนนไม่ต่ำกว่าเกณฑ์อย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนี้
IELTS(Academic Module) คะแนนไม่ต่ำกว่า
TOEFL IBT คะแนนไม่ต่ำกว่า ๔o
TOEFL ITP คะแนนไม่ต่ำกว่า ๔๓๓
TOEFL CBT คะแนนไม่ต่ำกว่า ๑๒o
TOEIC คะแนนไม่ต่ำกว่า ๕oo
MU GRAD Test คะแนนไม่ต่ำกว่า ๔๘
GRAD PLUS คะแนนไม่ต่ำกว่า
MU ELT คะแนนไม่ต่ำกว่า
*** ผลคะแนนการทดสอบภาษาอังกฤษต้องมีอายุไม่เกิน ๒ ปี นับถึงวันยื่นใบสมัคร ***

ลักษณะงานที่ปฏิบัติ
  1. ทำวิจัยและผลิตผลงานทางวิชาการด้านภาษาศาสตร์หรือเทคโนโลยีภาษาที่สอดคล้องกับเป้าหมายหรือพันธกิจของหลักสูตรฯ และสถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย
  2. ร่วมจัดการเรียนการสอนและให้คำแนะนำแก่นักศึกษาในรายวิชาที่เกี่ยวข้องกับภาษาศาสตร์คอมพิวเตอร์ ทฤษฎีภาษาศาสตร์ และรายวิชาอื่น ๆ ที่ได้รับมอบหมาย
  3. ให้บริการทางวิชาการและร่วมทำนุบำรุงส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม
  4. ปฏิบัติงานอื่น ๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย
หลักเกณฑ์การคัดเลือก
  1. สอบสัมภาษณ์: พิจารณาจากคุณสมบัติทางวิชาการความสามารถในการถ่ายทอดความรู้ และบุคลิกภาพที่เหมาะสมกับตำแหน่งผู้ช่วยอาจารย์
  2. นำเสนอผลงานวิชาการหรือผลงานวิจัย: นำเสนอไม่เกิน ๒o นาที
  3. นำเสนอแผนการสอน (course syllabus): จัดทำและนำเสนอแผนการสอนจำนวน ๒ รายวิชา (เลือก ๑ วิชาจากกลุ่มภาษาศาสตร์คอมพิวเตอร์ และ ๑ วิชาจากกลุ่มทฤษฎีภาษาศาสตร์) ดังนี้

กลุ่มวิชาภาษาศาสตร์คอมพิวเตอร์ (แผนการสอน ๑๕ ครั้ง จำนวน ๔๕ ชั่วโมง)

วภภษ ๕๓๗ การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำหรับนักภาษาศาสตร์              ๓(๒-๒-๕)

วภภษ ๕๓๙ ภาษาศาสตร์คลังข้อมูล                                                ๓(๒-๒-๕)

วภภษ ๕๔๘ ภาษาศาสตร์คอมพิวเตอร์และการประมวลผลภาษาธรรมชาติ       ๓(๒-๒-๕)

กลุ่มวิชาทฤษฎีภาษาศาสตร์ (แผนการสอน ๗ ครั้ง จำนวน ๒๑ ชั่วโมง)

วภภษ ๕o๒ สัทศาสตร์และสัทวิทยา (สัทวิทยา)                                   ๓(๓-o-๖)

วภภษ ๕o๔ อรรถศาสตร์และวัจนปฏิบัติศาสตร์ (อรรถศาสตร์)                   ๓(๓-o-๖)

อัตราเงินเดือนและสวัสดิการ

คุณวุฒิปริญญาโท  ๒๗,o๔o บาท

สวัสดิการ

  • กองทุนประกันสังคมและกองทุนเงินทดแทน
  • สิทธิการลาประเภทต่าง ๆ ตามประกาศมหาวิทยาลัยมหิดล
  • กองทุนสำรองเลี้ยงชีพมหาวิทยาลัยมหิดล
  • เงินช่วยเหลือค่ารักษาพยาบาล
  • ตรวจสุขภาพประจำปี
  • สวัสดิการแบบยืดหยุ่นด้านสุขภาพ (เงื่อนไขตามหลักเกณฑ์และวิธีการจัดสรรสวัสดิการแบบยืดหยุ่นด้านสุขภาพของมหาวิทยาลัยมหิดล)
  • โครงการสวัสดิการที่มหาวิทยาลัย หรือส่วนงานจัดเพิ่มเติม
  • สมาชิกสหกรณ์ออมทรัพย์มหาวิทยาลัยมหิดล