ประกาศคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
เรื่อง รับสมัครคัดเลือกบุคคลเพื่อบรรจุและแต่งตั้งเป็นพนักงานมหาวิทยาลัย (ชื่อส่วนงาน)
-------------------------------------

       ด้วยมหาวิทยาลัยมหิดลมีความประสงค์จะรับสมัครคัดเลือกบุคคลเพื่อบรรจุเป็น พนักงานมหาวิทยาลัย (ชื่อส่วนงาน) ตำแหน่งนักจิตวิทยาคลินิก จำนวน ๑ อัตรา ปฏิบัติงาน หน่วยขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ผู้สูงอายุ(TCC) คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล

        ๑. ตำแหน่งที่จะดำเนินการรับสมัครเพื่อคัดเลือก ตำแหน่งที่บรรจุปรากฏอยู่ในรายละเอียดแนบท้ายประกาศนี้

        ๒. คุณสมบัติของผู้มีสิทธิสมัคร ผู้สมัครรับการคัดเลือกต้องมีคุณสมบัติทั่วไปตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยมหิดลว่าด้วยการบริหารงานบุคคลพนักงานมหาวิทยาลัย พ.ศ.๒๕๕๑ และมีคุณสมบัติเฉพาะตำแหน่งตามที่ระบุไว้ในรายละเอียดเกี่ยวกับการสอบแนบท้ายประกาศนี้

        ๓. เอกสารหลักฐานประกอบการสมัครในลักษณะของไฟล์อิเล็กทรอนิกส์(PDF)เท่านั้น
           ๓.๑ สำเนาหลักฐานวุฒิการศึกษา
           ๓.๒ สำเนาใบรายงานผลการศึกษาฉบับสมบูรณ์
           ๓.๓ สำเนาคะแนนทดสอบภาษาอังกฤษ จำนวน ๑ ฉบับ (ตามเกณฑ์ผ่านการทดสอบภาษาอังกฤษที่มหาวิทยาลัยมหิดลกำหนด)
           ๓.๔ ใบรับรองการทำงาน (ถ้ามี)
           ๓.๕ ไฟล์รูปถ่ายหน้าตรง ใส่ชุดสุภาพ ถ่ายไว้ไม่เกิน ๖ เดือน ในรูปแบบ jpg หรือ png ที่มีขนาดไม่เกิน ๒๐๐ kb

        ๔. การสมัครและการยื่นใบสมัคร ผู้ประสงค์จะสมัครงานสามารถกรอกใบสมัครลงในระบบ e-Recruitment Online
ที่ https://muhr.mahidol.ac.th/E-Recruitment ตั้งแต่บัดนี้ถึงวันที่ ๘ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๖๗

        ๕. การประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิเข้ารับการคัดเลือก วัน เวลา และสถานที่ทำการคัดเลือก
           ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิเข้ารับการคัดเลือกภายในวันที่ ๑๔ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๖๗ ที่ https://muhr.mahidol.ac.th/E-Recruitment

 
 
ประกาศ ณ วันที่         กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๗
 

ศ.นพ.อภิชาติ อัศวมงคลกุล
คณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล




 



รายละเอียดแนบท้ายประกาศคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล

ลงวันที่         กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๗


ตำแหน่ง นักจิตวิทยาคลินิก จำนวน ๑ อัตรา
หน่วยงาน หน่วยขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ผู้สูงอายุ(TCC)
อายุไม่เกิน ๔o ปีนับถึงวันที่สมัคร
ประสบการณ์ หากมีประสบการณ์ด้าน ในการทำงานทางจิตวิทยาคลินิก หรือจิตวิทยาคลินิกผู้สูงอายุ จะพิจารณาเป็นพิเศษ
คุณสมบัติของผู้สมัคร

๑. ได้รับคุณวุฒิปริญญาตรี/โท วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยา หรือ จิตวิทยาคลินิก หรือสาขาอื่นๆที่เกี่ยวข้อง (การพิจารณาคุณสมบัติด้านการศึกษา จะถูกพิจารณาร่วมกับคุณสมบัติอื่นๆ และประวัติการทำงาน)
๒. ไม่จำกัดเพศ (หากเป็นเพศชายต้องผ่านการเกณฑ์ทหารหรือได้รับการยกเว้น กรุณาแนบใบ ส.ด.๘ หรือ ส.ด.๔๓ ด้วย)
๓. อายุไม่เกิน ๔o ปีถึงวันรับสมัคร
๔. มีหนังสือรับรองการผ่านงานด้านจิตวิทยาคลินิก ได้รับใบอนุญาตประกอบโรคศิลปะ มาแล้วไม่น้อยกว่า ๑ ปี
๕. เป็นผู้ไม่บกพร่องในศีลธรรม จริยธรรมอันดี ไม่ต้องโทษคดีอาญา และไม่มีลักษณะต้องห้าม
ตามข้อ ๖ แห่งข้อบังคับมหาวิทยาลัยมหิดลว่าด้วยการบริหารงานบุคคลพนักงานมหาวิทยาลัย พ.ศ. ๒๕๕๑ ประกอบกับกฎ ก.พ. ว่าด้วยโรค พ.ศ.๒๕๕๓

ผ่านเกณฑ์ทดสอบภาษาอังกฤษที่มหาวิทยาลัยมหิดลกำหนด จะต้องได้คะแนนไม่ต่ำกว่าเกณฑ์อย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนี้
IELTS(Academic Module) คะแนนไม่ต่ำกว่า
TOEFL IBT คะแนนไม่ต่ำกว่า ๒๙
TOEFL ITP คะแนนไม่ต่ำกว่า ๓๙o
TOEFL CBT คะแนนไม่ต่ำกว่า ๙o
TOEIC คะแนนไม่ต่ำกว่า ๔oo
MU GRAD Test คะแนนไม่ต่ำกว่า ๓๖
MU GRAD PLUS คะแนนไม่ต่ำกว่า ๔o
MU ELT คะแนนไม่ต่ำกว่า ๕๖
*** ผลคะแนนการทดสอบภาษาอังกฤษต้องมีอายุไม่เกิน ๒ ปี นับถึงวันยื่นใบสมัคร ***

ลักษณะงานที่ปฏิบัติ

เป็นผู้ปฏิบัติงานที่ต้องใช้ความรู้ทางวิชาชีพของนักจิตวิทยาคลินิก ในการประเมินผู้ป่วย ประเมินญาติ ครอบครัว ผู้ดูแล เพื่อเป็นข้อมูลกับสหวิชาชีพสำหรับวางแผนการรักษาตลอดจน ช่วยเหลือดูแลจิตใจของผู้ป่วย และผู้ดูแล จัดกิจกรรมกระตุ้นส่งเสริมการรู้คิด    สร้างเสริมแรงใจ พลังใจทางบวกเพื่อเพิ่มคุณภาพจิตใจ และอารมณ์ของผู้ป่วยให้สอดคล้อง เหมาะสมกับความสามารถของผู้ป่วย และผู้ดูแล ร่วมออกแบบโมเดลการดูแลผู้สูงอายุ ภายใต้ยุทธศาสตร์การดูแลผู้สูงอายุ ของคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล โดยมีลักษณะงานที่ต้องปฏิบัติการในด้านต่างๆ ดังต่อไปนี้
๑. ด้านงานบริการ งานปฏิบัติการ
๑.๑ ประเมิน ใน ๓ ประเด็นหลัก ได้แก่ ภาวะบกพร่องทางการรู้คิด (cognitive impairment) ภาวะซึมเศร้า (depression) และภาวะเหนื่อยล้าของญาติหรือผู้ดูแล (caregiver burden) วิเคราะห์ ตรวจวินิจฉัย ด้วยเครื่องมือทดสอบทางจิตวิทยาคลินิกตามมาตรฐานวิชาชีพจิตวิทยาคลินิก
๑.๒ เข้าร่วมประเมินคัดกรองผู้สูงอายุที่มีภาวะเปราะบาง (frailty) ผู้สูงอายุในระยะกลาง (intermediate care: IMC) ผู้สูงอายุที่อยู่ระยะเปลี่ยนผ่าน (transitional care) เพื่อให้ได้เข้าสู่กระบวนการดูแลรักษาในระยะเปลี่ยนผ่านอย่างเหมาะสม โดยมีการบริหารจัดการ วางแผน ให้การดูแล ติดตาม ส่งปรึกษา ร่วมกับทีมสหสาขาวิชาชีพ ภายใต้โครงการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการดูแลผู้สูงอายุของหน่วยขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ผู้สูงอายุ และโครงการต่างๆ ของคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลับมหิดล 
๑.๓ ติดตามเกี่ยวกับความสามารถด้านการรู้คิดหรือการทำงานของสมอง และภาวะซึมเศร้าที่อาจเกิดขึ้นได้ในผู้ป่วย มีการดูแลจิตใจให้กับผู้ดูแลที่ประสบกับภาวะเหนื่อยล้าจากการดูแล (Caregiver burden)
๑.๔ ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการช่วยเหลือผู้ที่มีปัญหาทางจิตเวช และสุขภาพจิต รวมถึงการให้คำปรึกษาผู้ป่วย และญาติ โดยประเมินสถานภาพ วินิจฉัยปัญหา วางแผน ประเมินผลด้านจิตใจ รวมถึงการฟื้นฟูสภาพ ป้องกันโรค และส่งเสริมสุขภาพป้องกันโรคในผู้ป่วยสูงอายุ เพื่อให้ได้รับการบริการที่ได้มาตรฐานวิชาชีพ
๑.๕ จัดกิจกรรมกระตุ้นการรู้คิด ส่งเสริมคุณภาพจิตใจและอารมณ์ของผู้ป่วย ผู้ดูแล ครอบครัว/ญาติ ทำกิจกรรม Brain Fitness สอนกลุ่มผู้ที่มารับบริการ
๑.๖ สำรวจ ศึกษา รวบรวม จัดเก็บ สถิติ ตัวชี้วัด สรุปจัดทำรายงาน สร้างฐานข้อมูล วิเคราะห์ รายงานผล ข้อเสนอแนะ แนวทางต่างๆ เพื่อนำไปใช้ในการดำเนินงาน ประกอบการพัฒนา และวางแผน เพื่อการดูแลผู้สูงอายุ และครอบครัวผู้ดูแล
๑.๗ พัฒนาความรู้ และทักษะตนเองในการดูแลผู้สูงอายุ ในทุกๆ มิติ ที่เกี่ยวข้องกับการดูแลผู้สูงอายุ เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด
๑.๘ ประชุม ปรึกษา วางแผนการทำงาน ประสานความร่วมมือ ให้ความร่วมมือในการทำงานร่วมกันกับทีมสหสาขาวิชาชีพต่างๆ ทั้งภายในหน่วยงาน ภายนอกหน่วยงานเพื่อสนับสนุน ส่งเสริมให้เกิดการดูแลผู้สูงอายุให้ครอบคลุมทุกมิติการดูแลอย่างครบถ้วนแบบองค์รวม

๒. ด้านงานวิชาการ งานวิจัย งานนโยบาย และงานอื่นๆ ที่ได้รับมอบหมาย
๒.๑ ร่วมออกแบบรูปแบบการดูแล (model of care) ในผู้สูงอายุร่วมกับทีมสหสาขาวิชาชีพ หน่วยขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ผู้สูงอายุ (TCC) ภายใต้ยุทธศาสตร์การดูแลผู้สูงอายุของคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
๒.๒ มีส่วนร่วมในงานวิชาการ งานวิจัยของหน่วยขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ผู้สูงอายุ (TCC) เช่น เป็นผู้ร่วมโครงการวิจัย เป็นผู้เก็บรวบรวมข้อมูล แบบสำรวจ วิเคราะห์ข้อมูลวิจัย ข้อคำถามในโครงการวิจัยต่างๆ ร่วมกับแพทย์ และสหวิชาชีพ เขียนบทความ จัดทำคู่มือ เพื่อพัฒนารูปแบบการดูแลผู้สูงอายุ ครอบครัว และผู้ดูแล
๒.๓ เป็นวิทยากร ให้คำแนะนำ ให้บริการทางวิชาการ ถ่ายทอดความรู้ทางด้านสุขภาพจิต ให้กับบุคลากรทางการแพทย์และบุคคลทั่วไป ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาบริการทางการแพทย์ในการดูแลผู้ป่วยสูงอายุ
๒.๔ ให้บริการข้อมูล ในรูปแบบต่างๆ เกี่ยวกับความรู้ทางด้านสุขภาพจิต แก่ครอบครัว กลุ่ม ชุมชน องค์กร หน่วยงานภาครัฐ เอกชน เครือข่าย ประชาชนทั่วไป และผู้ที่สนใจ ตลอดจนส่งเสริมให้เกิดความรู้ด้านสุขภาพจิตได้อย่างเหมาะสม และมีประสิทธิภาพ
๒.๕ จัดการฝึกอบรม จัดกิจกรรม จัดทำสื่อ และถ่ายทอดความรู้ด้านสุขภาพจิตแก่ บุคลากรภายในหน่วยงาน ครอบครัว กลุ่มชุมชน หน่วยงานภาครัฐ เอกชน เครือข่าย และประชาชนทั่วไป เพื่อให้ความรู้ สร้างความเข้าใจ และพัฒนาศักยภาพ และความสามารถในการดำเนินงานด้านการดูแลผู้ป่วยสูงอายุในพื้นที่ และชุมชนให้เกิดประสิทธิภาพ
๒.๖ เป็นตัวแทนหน่วยงานเข้าร่วมเป็นคณะกรรมการชุดต่างๆ 
๒.๗ ปฏิบัติงานอื่นๆ ตามที่ได้รับมอบหมายจากผู้บังคับบัญชา

หลักเกณฑ์การคัดเลือก

สอบสัมภาษณ์

อัตราเงินเดือนและสวัสดิการ

๑. เงินเดือนคุณวุฒิปริญญาตรี ๒o,o๙o บาท / คุณวุฒิปริญญาโท ๒๓,๔๔o บาท 
๒. เงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษของผู้ปฏิบัติงานให้บริการด้านการแพทย์ 
๓. Siriraj Fitness Center อาคารกีฬาและกิจกรรมนันทนาการ
๔. กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
๕. การฝึกอบรมและพัฒนาพนักงาน
๖. การตรวจสุขภาพประจำปี
๗. ทำงานสัปดาห์ละ ๕ วัน
๘. ทุนการศึกษา / ฝึกอบรม
๙. ประกันสังคมของโรงพยาบาลศิริราช
๑o. รถรับ-ส่งบุคคลากร 
๑๑. ศูนย์รับเลี้ยงและพัฒนาเด็กศิริราช
๑๒. ศูนย์อาหารและร้านค้าสวัสดิการ
๑๓. สมาชิกสหกรณ์ออมทรัพย์มหาวิทยาลัยมหิดล
๑๔. สวัสดิการค่ารักษาพยาบาลบุคลากรและครอบครัว และสวัสดิการยืดหยุ่น (Flexible Benefit)
๑๕. สิทธิลดหย่อนค่ารักษาพยาบาลและส่วนเกินสิทธิ
๑๖. สิทธิการลากิจ ลาป่วย ลาพักผ่อนประจำปี ๑o วัน/ปี (สะสมได้) การลาอื่นๆ ตามที่คณะฯกำหนด
๑๗. สิทธิพิเศษส่วนลดร้านค้า
๑๘. สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยอัตราดอกเบี้ยพิเศษ
๑๙. เงินชดเชยเมื่อเกษียณ
๒o. เงินช่วยเหลือฌาปนกิจ