ประกาศวิทยาเขตกาญจนบุรี มหาวิทยาลัยมหิดล
เรื่อง รับสมัครคัดเลือกบุคคลเพื่อบรรจุและแต่งตั้งเป็นพนักงานมหาวิทยาลัย
-------------------------------------

       ด้วยมหาวิทยาลัยมหิดลมีความประสงค์จะรับสมัครคัดเลือกบุคคลเพื่อบรรจุเป็น พนักงานมหาวิทยาลัย ตำแหน่งอาจารย์ จำนวน ๑ อัตรา ปฏิบัติงาน อาจารย์ (ประจำหลักสูตรบัณฑิตศึกษา) วิทยาเขตกาญจนบุรี

        ๑. ตำแหน่งที่จะดำเนินการรับสมัครเพื่อคัดเลือก ตำแหน่งที่บรรจุปรากฏอยู่ในรายละเอียดแนบท้ายประกาศนี้

        ๒. คุณสมบัติของผู้มีสิทธิสมัคร ผู้สมัครรับการคัดเลือกต้องมีคุณสมบัติทั่วไปตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยมหิดลว่าด้วยการบริหารงานบุคคลพนักงานมหาวิทยาลัย พ.ศ.๒๕๕๑ และมีคุณสมบัติเฉพาะตำแหน่งตามที่ระบุไว้ในรายละเอียดเกี่ยวกับการสอบแนบท้ายประกาศนี้

        ๓. เอกสารหลักฐานประกอบการสมัครในลักษณะของไฟล์อิเล็กทรอนิกส์(PDF)เท่านั้น
           ๓.๑ สำเนาหลักฐานวุฒิการศึกษา
           ๓.๒ สำเนาใบรายงานผลการศึกษาฉบับสมบูรณ์
           ๓.๓ สำเนาคะแนนทดสอบภาษาอังกฤษ จำนวน ๑ ฉบับ (ตามเกณฑ์ผ่านการทดสอบภาษาอังกฤษที่มหาวิทยาลัยมหิดลกำหนด)
           ๓.๔ ใบรับรองการทำงาน (ถ้ามี)
           ๓.๕ ไฟล์รูปถ่ายหน้าตรง ใส่ชุดสุภาพ ถ่ายไว้ไม่เกิน ๖ เดือน ในรูปแบบ jpg หรือ png ที่มีขนาดไม่เกิน ๒๐๐ kb

        ๔. การสมัครและการยื่นใบสมัคร ผู้ประสงค์จะสมัครงานสามารถกรอกใบสมัครลงในระบบ e-Recruitment Online
ที่ https://muhr.mahidol.ac.th/E-Recruitment ตั้งแต่บัดนี้ถึงวันที่ ๓๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๖๗

        ๕. การประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิเข้ารับการคัดเลือก วัน เวลา และสถานที่ทำการคัดเลือก
           ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิเข้ารับการคัดเลือกภายในวันที่ ๒๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๖๗ ที่ https://muhr.mahidol.ac.th/E-Recruitment

 
 
ประกาศ ณ วันที่         กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๗
 

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธัชวีร์ ลีละวัฒน์
รองอธิการบดีฝ่ายวิทยาเขตกาญจนบุรี




 



รายละเอียดแนบท้ายประกาศวิทยาเขตกาญจนบุรี มหาวิทยาลัยมหิดล

ลงวันที่         กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๗


ตำแหน่ง อาจารย์((ประจำหลักสูตรบัณฑิตศึกษา) ) จำนวน ๑ อัตรา
หน่วยงาน อาจารย์ (ประจำหลักสูตรบัณฑิตศึกษา)
อายุไม่เกิน ๔๕ ปีนับถึงวันที่สมัคร
ประสบการณ์ ๕. คุณสมบัติพิเศษ (หากมีจะได้รับการพิจารณาเป็นพิเศษ) • มีประสบการณ์ในการหาทุนวิจัยและบริหารจัดการโครงการวิจัย • มีพื้นฐานในการบูรณาการการสอนและการวิจัยแบบสหวิทยาการ (Transdisciplinarity) • มีส่วนร่วมอย่างแข็งขันในองค์กรวิชาชีพที่เกี่ยวข้องกับความยั่งยืนและนวัตกรรม • มีประสบการณ์ทำงานหรือวิจัยในสาขาที่เกี่ยวข้องกับความยั่งยืน • มีทักษะด้านการเป็นกระบวนกร (Facilitating skill)
คุณสมบัติของผู้สมัคร

๒. การศึกษา

  • สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอกด้านการศึกษานวัตกรรม การจัดการเทคโนโลยี การพัฒนาที่ยั่งยืน หรือสาขาที่เกี่ยวข้อง
  • สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีหรือโทที่เกี่ยวข้องในด้าน เช่น วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม เทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม การจัดการสิ่งแวดล้อม นวัตกรรมการจัดการสังคมและสิ่งแวดล้อม บริหารธุรกิจ เศรษฐศาสตร์ รัฐศาสตร์ หรือประชากรศาสตร์

๓. ประสบการณ์

  • มีผลงานทางวิชาการที่มีการเผยแพร่ตามหลักเกณฑ์ที่ ก.พ.อ. กำหนดอย่างต่อเนื่องอย่างน้อย ๓ ฉบับภายใน ๕ ปีที่ผ่านมา (พ.ศ. ๒๕๖๓ - ๒๕๖๗) และผลงานวิชาการดังกล่าวต้องไม่เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์
  • มีประสบการณ์และผลงานเป็นที่ประจักษ์ในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อนวัตกรรมในด้านความยั่งยืน
  • มีประสบการณ์ในด้านการให้คำปรึกษาหรือมีส่วนร่วมกับธุรกิจสตาร์ทอัพที่มุ่งเน้นความยั่งยืน

๔. ทักษะ

  • มีทักษะเกี่ยวกับการพัฒนากระบวนการด้านนวัตกรรม การเผยแพร่เทคโนโลยี และการพัฒนารูปแบบธุรกิจที่ยั่งยืน
  • มีทักษะวิจัย การวิเคราะห์ และการแก้ปัญหาที่ดี
  • มีทักษะการสื่อสารและการทำงานร่วมกันผู้อื่นได้เป็นอย่างดี รวมถึงมีทักษะการเป็นผู้นำ
  • มีทักษะในการใช้เครื่องมือดิจิทัลในการสอนและวิจัย

๕. คุณสมบัติพิเศษ (หากมีจะได้รับการพิจารณาเป็นพิเศษ)

  • มีประสบการณ์ในการหาทุนวิจัยและบริหารจัดการโครงการวิจัย
  • มีพื้นฐานในการบูรณาการการสอนและการวิจัยแบบสหวิทยาการ (Transdisciplinarity)
  • มีส่วนร่วมอย่างแข็งขันในองค์กรวิชาชีพที่เกี่ยวข้องกับความยั่งยืนและนวัตกรรม
  • มีประสบการณ์ทำงานหรือวิจัยในสาขาที่เกี่ยวข้องกับความยั่งยืน
  • มีทักษะด้านการเป็นกระบวนกร (Facilitating skill)
ผ่านเกณฑ์ทดสอบภาษาอังกฤษที่มหาวิทยาลัยมหิดลกำหนด จะต้องได้คะแนนไม่ต่ำกว่าเกณฑ์อย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนี้
IELTS(Academic Module) คะแนนไม่ต่ำกว่า
TOEFL IBT คะแนนไม่ต่ำกว่า ๗๙
TOEFL ITP คะแนนไม่ต่ำกว่า ๕๕o
TOEFL CBT คะแนนไม่ต่ำกว่า ๒๑๓
MU GRAD Test คะแนนไม่ต่ำกว่า ๘o
MU GRAD PLUS คะแนนไม่ต่ำกว่า ๙o
CU-TEP คะแนนไม่ต่ำกว่า ๗๕
TU-GET (Computer Based) คะแนนไม่ต่ำกว่า ๕๕o
TU-GET (Computer Based) คะแนนไม่ต่ำกว่า ๘o
*** ผลคะแนนการทดสอบภาษาอังกฤษต้องมีอายุไม่เกิน ๒ ปี นับถึงวันยื่นใบสมัคร ***

ลักษณะงานที่ปฏิบัติ

ลักษณะงานที่มอบหมายให้ปฏิบัติ

๑. การสอน พัฒนาหลักสูตร และดูแลนักศึกษา

  • ออกแบบและสอนหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษาที่เน้นการจัดการเทคโนโลยี กระบวนการนวัตกรรม และผู้ประกอบการที่ขับเคลื่อนด้วยความยั่งยืน
  • มีส่วนร่วมในการพัฒนาและปรับปรุงหลักสูตรอย่างต่อเนื่องให้ทันสมัยกับเทคโนโลยีและแนวทางนวัตกรรมด้านความยั่งยืนที่เกิดขึ้นใหม่
  • ร่วมมือกับอาจารย์จากหลากหลายสาขาในการผนวกหลักการความยั่งยืนเข้าในเนื้อหาของหลักสูตร
  • ใช้เทคนิคการสอนที่สร้างสรรค์และมุ่งเน้นนักศึกษา (Creative and student-centered teaching)  เพื่อส่งเสริมบรรยากาศการเรียนรู้
  • สนับสนุนงานบริหารจัดการหลักสูตร เช่น การรับนักศึกษา การแนะแนวทางวิชาการ และการสรรหานักศึกษา
  • ให้คำแนะนำด้านการศึกษาและอาชีพแก่นักศึกษา พร้อมดูแลโครงการวิจัยและวิทยานิพนธ์
  • ให้คำปรึกษาแก่นักศึกษาที่มีส่วนร่วมในโครงการสตาร์ทอัพและนวัตกรรมที่มุ่งเน้นความยั่งยืน
  • สนับสนุนการเรียนรู้ภาคปฏิบัติผ่านการฝึกงาน งานภาคสนาม และประสบการณ์จริง

๒. งานวิจัยและนวัตกรรม

  • เป็นผู้นำในการวิจัยด้านนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน
  • ปฏิบัติหน้าที่ด้านงานวิจัยที่สามารถนำไปสู่การประยุกต์ใช้ประโยชน์ได้จริง
  • เผยแพร่ผลงานวิจัยในวารสารทางวิชาการที่มีชื่อเสียงและนำเสนอในที่ประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติ
  • หาเงินทุนวิจัยจากการร่วมมือกับหน่วยงานต่าง ๆ และภาคอุตสาหกรรมในระดับชาติและนานาชาติ
  • พัฒนาเครือข่ายการแลกเปลี่ยนด้านวิชาการ และงานวิจัยกับมหาวิทยาลัยและสถาบันในต่างประเทศ
  • ปฏิบัติหน้าที่ด้านงานเพื่อสังคมแก่หน่วยงานภายนอกสถาบัน โดยสร้างชื่อเสียง เกียรติยศและ/หรือรายได้ให้แก่สถาบัน

๓. การมีส่วนร่วมกับอุตสาหกรรมและชุมชน

  • สร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้นำในอุตสาหกรรม สตาร์ทอัพ และผู้มีส่วนได้เสียเพื่อสนับสนุนโครงการความร่วมมือ
  • จัดกิจกรรม เช่น อบรมเชิงปฏิบัติการ และสัมมนาเพื่อเชื่อมโยงนักศึกษากับผู้เชี่ยวชาญในอุตสาหกรรม
  • เป็นตัวแทนของมหาวิทยาลัยในการสนับสนุนการแก้ปัญหาด้านเทคโนโลยีเพื่อความยั่งยืนในชุมชนและภาคอุตสาหกรรม

๔. ปฏิบัติภารกิจอื่น ๆ ด้วยความรับผิดชอบตามที่ได้รับมอบหมายจากผู้บังคับบัญชา

 

หลักเกณฑ์การคัดเลือก
  • แสดงความสามารถด้านการสอนเป็นภาษาอังกฤษ โดยเลือกหัวข้อใดหัวข้อหนึ่งต่อไปนี้
    (๑) Global Sustainability Frameworks หรือ (๒) Creative Sustainability Solutions (๑๕ นาที)
  • นำเสนอ Case study ที่เกี่ยวข้องกับประสบการณ์ทำงานหรือวิจัยของตนเอง ในหัวข้อการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมอย่างยั่งยืน และแผนงานวิจัยที่สนใจรวมถึงเป้าหมายที่จะดำเนินการในอนาคต (๑๕ นาที)
  • สอบสัมภาษณ์ (๓o นาที)
  • ทั้งนี้คณะกรรมการอาจมีการเปลี่ยนแปลงวิธีการคัดเลือกได้ตามความเหมาะสม
อัตราเงินเดือนและสวัสดิการ

อัตราเงินเดือนและสวัสดิการ

  • ตำแหน่งอาจารย์ อัตราเงินเดือน   ๔๑,ooo  บาท   
  • กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ/กองทุนประกันสังคม/สหกรณ์ออมทรัพย์มหาวิทยาลัยมหิดล
  • สิทธิ์การรักษาพยาบาลพนักงานมหาวิทยาลัย / การตรวจสุขภาพประจำปี
  • สวัสดิการสงเคราะห์ / สวัสดิการยืดหยุ่น
  • ห้องพักบุคลากรของวิทยาเขตกาญจนบุรี มหาวิทยาลัยมหิดล ตามอัตราที่มหาวิทยาลัยกำหนด