ประกาศคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
เรื่อง ขยายเวลารับสมัครคัดเลือกบุคคลเพื่อบรรจุและแต่งตั้งเป็นพนักงานมหาวิทยาลัย (ชื่อส่วนงาน)
-------------------------------------

       ด้วยมหาวิทยาลัยมหิดลมีความประสงค์จะรับสมัครคัดเลือกบุคคลเพื่อบรรจุเป็น พนักงานมหาวิทยาลัย (ชื่อส่วนงาน) ตำแหน่งนักวิชาการศึกษา จำนวน ๑ อัตรา ปฏิบัติงาน ภาควิชาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี

        ๑. ตำแหน่งที่จะดำเนินการรับสมัครเพื่อคัดเลือก ตำแหน่งที่บรรจุปรากฏอยู่ในรายละเอียดแนบท้ายประกาศนี้

        ๒. คุณสมบัติของผู้มีสิทธิสมัคร ผู้สมัครรับการคัดเลือกต้องมีคุณสมบัติทั่วไปตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยมหิดลว่าด้วยการบริหารงานบุคคลพนักงานมหาวิทยาลัย พ.ศ.๒๕๕๑ และมีคุณสมบัติเฉพาะตำแหน่งตามที่ระบุไว้ในรายละเอียดเกี่ยวกับการสอบแนบท้ายประกาศนี้

        ๓. เอกสารหลักฐานประกอบการสมัครในลักษณะของไฟล์อิเล็กทรอนิกส์(PDF)เท่านั้น
           ๓.๑ สำเนาหลักฐานวุฒิการศึกษา
           ๓.๒ สำเนาใบรายงานผลการศึกษาฉบับสมบูรณ์
           ๓.๓ สำเนาคะแนนทดสอบภาษาอังกฤษ จำนวน ๑ ฉบับ (ตามเกณฑ์ผ่านการทดสอบภาษาอังกฤษที่มหาวิทยาลัยมหิดลกำหนด)
           ๓.๔ ใบรับรองการทำงาน (ถ้ามี)
           ๓.๕ ไฟล์รูปถ่ายหน้าตรง ใส่ชุดสุภาพ ถ่ายไว้ไม่เกิน ๖ เดือน ในรูปแบบ jpg หรือ png ที่มีขนาดไม่เกิน ๒๐๐ kb

        ๔. การสมัครและการยื่นใบสมัคร ผู้ประสงค์จะสมัครงานสามารถกรอกใบสมัครลงในระบบ e-Recruitment Online
ที่ https://muhr.mahidol.ac.th/E-Recruitment ตั้งแต่บัดนี้ถึงวันที่ ๓o พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๖๗

        ๕. การประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิเข้ารับการคัดเลือก วัน เวลา และสถานที่ทำการคัดเลือก
           ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิเข้ารับการคัดเลือกภายในวันที่ ๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๗ ที่ https://muhr.mahidol.ac.th/E-Recruitment

 
 
ประกาศ ณ วันที่         พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๖๗
 

นางสาวชมพูนุท จิวะธานนท์
รองคณบดีฝ่ายบริหารทุนมนุษย์
ปฏิบัติหน้าที่แทน คณบดีคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี




 



รายละเอียดแนบท้ายประกาศคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

ลงวันที่         พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๖๗


ตำแหน่ง นักวิชาการศึกษา จำนวน ๑ อัตรา
หน่วยงาน ภาควิชาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา
อายุไม่เกิน ๓๕ ปีนับถึงวันที่สมัคร
ประสบการณ์ ๑ ปี ด้านการศึกษา
คุณสมบัติของผู้สมัคร
  • คุณวุฒิ ปริญญาตรี สาขาที่เกี่ยวข้อง  
  • อายุไม่เกิน ๓๕ ปี นับถึงวันที่สมัคร (เพศชาย ต้องพ้นภาระทางทหารแล้ว) 
  • สามารถใช้คอมพิวเตอร์โปรแกรมสำเร็จรูป Microsoft office และอุปกรณ์สำนักงานต่าง ๆ ได้ดี
  • มีคะแนนทดสอบภาษาอังกฤษตามเกณฑ์ที่กำหนด และเป็นผลการสอบที่มีระยะเวลาไม่เกิน ๒ ปี นับถึงวันที่สมัคร 
ผ่านเกณฑ์ทดสอบภาษาอังกฤษที่มหาวิทยาลัยมหิดลกำหนด จะต้องได้คะแนนไม่ต่ำกว่าเกณฑ์อย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนี้
IELTS(Academic Module) คะแนนไม่ต่ำกว่า
TOEFL IBT คะแนนไม่ต่ำกว่า ๒๙
TOEFL ITP คะแนนไม่ต่ำกว่า ๓๙o
TOEFL CBT คะแนนไม่ต่ำกว่า ๙o
TOEIC คะแนนไม่ต่ำกว่า ๔oo
MU GRAD Test คะแนนไม่ต่ำกว่า ๓๖
MU GRAD PLUS คะแนนไม่ต่ำกว่า ๔o
MU ELT คะแนนไม่ต่ำกว่า ๕๖
*** ผลคะแนนการทดสอบภาษาอังกฤษต้องมีอายุไม่เกิน ๒ ปี นับถึงวันยื่นใบสมัคร ***

ลักษณะงานที่ปฏิบัติ

ภาระงานด้านการศึกษา

๑. สนับสนุนและอำนวยการงานสอน การจัดการ ตารางการเรียนการสอน การปฏิบัติงาน ของรายวิชา (หัวข้อสอน) workshop ประสานงานการประชุมรายวิชาบันทึกการประชุม จัดทำเอกสารหลักสูตร ได้แก่ มคอ ๓ มคอ ๔ มคอ ๕ มคอ ๖ ของรายวิชาดังต่อไปนี้ RAOG ๖๑๕ Clinical clerkship in Obstetrics and Gynecology รวมถึงรายวิชา elective ทั้งจากภายในและต่างประเทศ ภายในคณะฯ และภายนอกคณะฯ  โดยมีรายละเอียดงาน ดังนี้

  • ประสานงานกับแพทยศาสตร์จัดการเรียนการสอนของนักศึกษาตามรายชื่อและจำนวนของนักศึกษาในแต่ละรอบ ประสานงานกับสถาบันสบทบได้แก่ โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา,โรงพยาบาลบุรีรัมย์,โรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช,โรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยา โดยการอำนวยการจัดการเรียนการสอน
  • แก้ปัญหาเฉพาะหน้า หากการเรียนการสอนมีอุปสรรคเช่น การตามนักเรียนที่มาสาย อาจารย์ลืมสอน สื่อการสอนไม่เรียบร้อย ใบประเมินไม่ครบ เป็นต้น
  • การใช้แบบประเมินผ่านระบบ SLCM และ ลงแบบ     ประเมินผลของนักศึกษาในระบบ SLCM และ REXX

๒ การประเมินผลรายวิชา 

รายวิชาที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ RAOG ๖๑๕ Clinical clerkship in Obstetrics and Gynaecolog โดยมีรายละเอียดดังนี้

  • จัดทำชุดข้อสอบ ภายหลังการเลือกข้อสอบของอาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชา
  • จัดการสอบประเมินลงกอง ทั้งรูปแบบทฤษฏี และปฏิบัติ (OSCE) จัดชุดข้อสอบ อุปกรณ์การสอบ ประสานงาน สถานที่จัดสอบ เจ้าหน้าที่ช่วยควบคุมการสอบ ผู้ป่วยจำลอง และอาจารย์ผู้คุมสอบ
  • ติดตามใบประเมินการปฏิบัติงานภาคปฏิบัติของแต่ละส่วนงานที่เกี่ยวช้อง ได้แก่ OR OPD ANC LR เป็นต้น
  • รวบรวมผลการประเมิน ในแต่ละกิจกรรมการเรียนการสอน นำมาตัดเกรดโดยการใช้ โปรแกรม EXCEL ได้อย่างรวดเร็ว ถูกต้องแม่นยำ
  • รายงานผลการประเมินแต่ละรายวิชา เสนออาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชา และส่งต่อไปยังแพทยศาสตร์ศึกษา คณะแพทยศาสตร์รามาธิบดี เพื่อรับรองผลการศึกษา
  • ทำลายข้อสอบภายหลังการรับรองผลการสอบ ของแต่ละกลุ่มนักศึกษาจัดทำข้อสอบและทบทวนข้อสอบ

๓ จัดทำคลังข้อสอบที่เป็นระบบ

  • มีความปลอดภัย ในรายวิชาที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ RAOG ๖๑๕ Clinical clerkship in Obstetrics and Gynaecolog

๔ การวิเคราะห์ข้อสอบ 

  • ภายหลังการสอบในแต่ละปีการศึกษาและรายงานผลกลับไปยังอาจารย์ผู้ออกข้อสอบ เพื่อการพัฒนาปรับปรุงข้อสอบ ในแต่ละปีการศึกษา

๕ พัฒนาและปรับปรุงนวัตกรรมด้านการศึกษา 

  • ได้แก่  Application REXX
  • โปรแกรมการประเมินผล SLCM
  • ระบบ e-learning
  • ประสานงานสถาบัน ๔ สถาบันสมทบ ในรายวิชาที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ RAOG ๖๑๕ Clinical clerkship in Obstetrics and Gynaecolog

สนับสนุนการขอตำแหน่งวิชาการของอาจารย์

  • บันทึกและรายงานสถิติชั่วโมงสอน
  • ประสานงานและอำนวยการประเมินการสอน
  • ประสานงานและอำนวยงาน การประเมินระดับคุณภาพการจัดการเรียนการสอนตามเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพอาจารย์ของมหาวิทยาลัยมหิดล (Mahidol University Professional Standards Framework: MUPSF)
  • ติดตามข้อมูลระเบียบกฎเกณฑ์การขอตำแหน่งวิชาการที่เกี่ยวข้องกับการประเมินการสอน

๗ ภาระงานด้านการประเมินผลรวบรวมข้อมูลและเก็บสถิติ

   ๗.๑ การประเมินผลงาน

  • จัดทำการประเมินผลการเรียนการสอนของนักศึกษาแต่ละรายวิชา
  • การประเมินผลความพึงพอใจแต่ละรายวิชาของอาจารย์ผู้สอนและนักศึกษา
  • จำนวนชั่วโมงสอนของอาจารย์แต่ละท่าน
  • รวบรวมผลการประเมินการศึกษา ปัญหาของแต่ละกลุ่มนักศึกษา นำเสนอที่ประชุมและปรับปรุงแต่ละรายวิชา

   ๗.๒ การรวบรวมข้อมูล และเก็บสถิติงานการศึกษา

  • การรวบรวมข้อมูลทางสถิติผลงานด้านการศึกษา รายงานตามแต่ละกลุ่ม นศพ.
  • การรวบรวมข้อมูลทางสถิติผลงานด้านการศึกษาตามตัวชี้วัดของภาควิชา
  • การรวบรวมข้อมูลทางสถิติผลงานด้านการศึกษา การที่สามารถบันทึกเก็บสะสมคะแนนการศึกษาต่อเนื่องได้ (CME)

ภาระงานด้านการเงิน

  1. ควบคุมดูแลด้านการเบิก-จ่ายเงินของพันธกิจบริการการศึกษา
  2. ตามแผนการงานการศึกษาในแต่ละรายวิชา
  3. เบิกเงินค่าตอบแทน ผู้ป่วยจำลอง ผู้ป่วยสาธิต
  4. เบิกจ่ายเงินสนับสนุน อาหารว่าง ในการ formative และสอบลงกอง

ภาระงานโครงการอื่น ๆ ที่ไม่ใช่งานประจำ

  1. ร่วมจัดงานประชุมวิชาการของภาควิชาตามที่ได้รับการร้องขอผ่านหัวหน้าพันธกิจฯ
  2. ประสานความร่วมมือ ตลอดจนการสื่อสารระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการดำเนินการโครงการให้มีประสิทธิภาพ

ภาระงานอื่นๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย

  1. ให้ความร่วมมือในกิจกรรมทางสังคมของคณะฯ ตามที่ได้รับมอบหมาย
  2. ช่วยเหลืองานธุรการด้านอื่นของภาควิชาฯ เมื่อได้รับการร้องขอผ่านความเห็นชอบจากผู้บังคับบัญชา
  3. เข้าร่วมประชุมฝ่ายสนับสนุน
  4. เข้าร่วมกิจกรรมของคณะฯ
หลักเกณฑ์การคัดเลือก
  • สอบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์โปรแกรม Microsoft Office ได้แก่ Word , Excel, แบบทดสอบบุคลิกภาพ, สอบข้อเขียนวิชาความรู้ความสามารถทั่วไป
    • กำหนดการสอบ วันศุกร์ที่ ๖ ธันวาคม ๒๕๖๗ เวลา o๙.oo น. 
  • สอบสัมภาษณ์
    • กำหนดสอบ ๑๗ ธันวาคม ๒๕๖๗ เวลา ๑๓.oo น. ณ ห้องประชุม ๑ ภาควิชาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา
  • สอบการปฏิบัติ 
อัตราเงินเดือนและสวัสดิการ

เงินเดือน 

  • คุณวุฒิ ปริญญาตรี  ๒o,o๙o  บาท
  • (หากมีประสบการณ์ในงานที่เกี่ยวข้อง อาจได้รับการพิจารณาเพิ่มเงินเดือนตามหลักเกณฑ์ของคณะฯ)

สวัสดิการและสิทธิประโยชน์

  • ค่ารักษาพยาบาล (ตนเองและครอบครัว) และ สวัสดิการยืดหยุ่น (Flexible Benefit)
  • ประกันสังคม (รพ.รามาธิบดี)
  • ตรวจสุขภาพประจำปี
  • กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
  • สหกรณ์ออมทรัพย์มหาวิทยาลัยมหิดล
  • สินเชื่อที่อยู่อาศัย อัตราดอกเบี้ยพิเศษกับสถาบันการเงิน
  • ค่าเล่าเรียนบุตร / ทุนการศึกษาบุตร
  • โอกาสเรียนรู้และพัฒนา / ศึกษาต่อ
  • วันหยุดพักผ่อนประจำปี ๑o วัน / ปี (สะสมได้)
  • ศูนย์กีฬารามาธิบดีสำหรับบุคลากร
  • รถบริการรับส่งสถานีรถไฟฟ้า
  • เงินรางวัลประจำปี (ขึ้นอยู่กับผลประกอบการ)