ภาระงานของนักอาชีวอนามัย (ด้านอัคคีภัยของคณะฯ)
๑. ด้านการให้บริการอาชีวอนามัย
๑.๑ ประสานงานกับผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้องเพื่อเพิ่มผลสัมฤทธิ์ของการให้บริการงานความปลอดภัย
อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม
๑.๒ ร่วมจัดแผนงานงบประมาณการดำเนินงานและประเมินผลการให้บริการงานอาชีวอนามัย
๑.๓ พัฒนาและดำเนินงานระบบให้บริการและระบบข้อมูลอาชีวอนามัยอย่างต่อเนื่อง
๑.๔ ตรวจสอบและเสนอแนะให้ปฏิบัติตามกฎหมายความปลอดภัยในการทำงาน
๒. ด้านการประเมินสภาพการทำงาน และสภาพแวดล้อมในการทำงาน (ด้านอัคคีภัย)
๒.๑ ดำเนินการตรวจสอบ/ทำรายงานสรุปอุปกรณ์ป้องกันอัคคีภัยประจำเดือน
๒.๒ ดำเนินการทดสอบ/จัดทำรายงานสรุปการทำงานงานอุปกรณ์ระงับเหตุเพลิงไหม้ประจำเดือน
๓. ด้านการจัดอบรมและบริการวิชาการ
๓.๑ การจัดการอบรมดับเพลิงขั้นต้นและขั้นสูง
- วางแผนการจัดอบรม
- จัดทำรายชื่อผู้เข้าร่วมในการอบรม
- ควบคุมการจัดอบรม
- สรุปผลและวิเคราะห์การอบรม
- นำเสนอผลการอบรม
- ทบทวนและปรับปรุงแนวทางปฏิบัติเมื่อเกิดเหตุอัคคีภัย
- จัดทำสื่อการให้ความรู้เกี่ยวกับความปลอดภัยอัคคีภัย
๔. การเตรียมพร้อมรับเหตุฉุกเฉิน (ซ้อมอพยพหนีไฟ)
- วางแผนและประสานงานการจัดซ้อมอพยพหนีไฟ
- จัดทำแบบทดสอบก่อนและหลังการฝึกซ้อม
- ดำเนินการฝึกซ้อมอพยพหนีไฟ
- สรุปผลการซ้อมอพยพหนีไฟ
- นำเสนอผลการดำเนินงาน
๕. ให้บริการทางวิชการด้านอาชีวอนามัย
ให้ความรู้ทางวิชาการด้านอาชีวอนามัย (ด้านอัคคีภัย) ตามที่กำหนดไว้ในองค์กร กับบุคลากรและผู้รับบริการ
๖. เป็นคณะกรรมการและคณะทำงาน
ร่วมเป็นคณะกรรมการ/คณะทำงาน ในการดำเนินการจัดการสารเคมีและป้องกันอัคคีภัยของคณะฯ อย่างเป็นระบบ
๗. งานด้านคุณภาพ
- ดำเนินงานระบบการจัดการด้านอาชีวอนามัยและ
ความปลอดภัย ISO ๑๔oo๑/AHA/TQA/ISO๑๕๑๙o
- ๕ ส./HA
๘.งานอื่น ๆ ตามที่ได้รับมอบหมายจากผู้บังคับบัญชา
|