๑. คุณวุฒิปริญญาเอกจากสถาบันที่ ก.พ. รับรอง ทั้งในประเทศและต่างประเทศ สาขาวิชาใดสาขาหนึ่งหรือเทียบเท่าทางด้านมานุษยวิทยา สังคมวิทยา ที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ และหากมีประสบการณ์ในการวิจัยทางด้านสุขภาพจะได้รับการพิจารณาเพิ่มเติม
๒. เป็นผู้มีความรู้ ทักษะ การศึกษาเกี่ยวกับแนวคิด กระบวนการวิจัยทางมานุษยวิทยา ขอบเขต เชิงทฤษฎีที่สำคัญๆ ในการศึกษาทางมานุษยวิทยา เชิงวิพากษ์สุขภาพ ความเจ็บป่วย ปรากฎการณ์ทางวัฒนธรรมและสังคม ระบบสุขภาพกับการเปลี่ยนแปลงทางสังคม ความเป็นธรรมและจริยธรรม
๓. และ/หรือ เป็นผู้มีความรู้ ทักษะ การศึกษาเกี่ยวกับแนวคิด และทฤษฎีทางสังคมวิทยา ทฤษฎีสังคมวิทยาร่วมสมัย สุขภาพ และตัวกำหนดนำทางสังคมเกี่ยวกับสุขาพ ความเจ็บป่วย ความเป็นธรรมและจริยธรรม
๔. เป็นผู้มีการตีพิมพ์ผลงานวิจัยหรือวิชาการในฐานข้อมูล Scopus อย่างน้อยจำนวน ๑ - ๓ บทความ
๕. มีความรู้และทักษะด้านภาษาอังกฤษ (อ่าน พูด ฟัง เขียน) ในระดับดี หรือ ดีมาก และผ่านเกณฑ์ตามประกาศมหาวิทยาลัยมหิดลกำหนด หากไม่มีผลคะแนนภาษาอังกฤษยื่นในระบบรับสมัครงานฯ จะไม่พิจารณา ใบสมัคร โดยจะต้องได้คะแนนไม่ต่ำกว่าเกณฑ์อย่างใดอย่างหนี่ง และผลคะแนนสอบต้องมีระยะเวลาไม่เกิน ๒ ปี นับถึงวันยื่นใบสมัคร ดังนี้
- ILETS (Academic Module) คะแนนรวมไม่ตำกว่า ๖ คะแนน หรือ
- TOEF IBT (Interest Based) ไม่ต่ำกว่า ๗๙ คะแนน หรือ
- TOEFL ITP ไม่ต่ำกว่า ๕๕o คะแนน หรือ
- TOEFL CBT ไม่ต่ำกว่า ๒๑๓ คะแนน หรือ
- MU GRAD Test ไม่ต่ำกว่า ๘o คะแนน หรือ
- MU GRAD PLUS ไม่ต่ำกว่า ๙o คะแนน
- CU-TEP ไม่ต่ำกว่า ๗๕ คะแนน หรือ
- TU-GET (Paper Based) ไม่ต่ำกว่า ๕๕o คะแนน หรือ
- TU-GET (Computer Based) ไม่ต่ำกว่า ๘o คะแนน
กรณีผู้ที่บรรจุและแต่งตั้ง เปลี่ยนตำแหน่ง หรือเปลี่ยนประเภทการจ้างเป็นพนักงานมหาวิทยาลัย ไม่ผ่านการทดสอบภาษาอังกฤษตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ ข้อ ๖ ให้สามารถบรรจุและแต่งตั้ง เปลี่ยนตำแหน่ง หรือเปลี่ยนประเภทการจ้างได้ต่อไปนี้
๑) เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอกขึ้นไป และมีผลคะแนนทดสอบภาษาอังกฤษก่อนเข้าศึกษา โดยผลคะแนนทดสอบภาษาอังกฤษมากกว่าหรือเท่ากับเกณฑ์ที่มหาวิทยาลัยกำหนด หรือ
๒) เป็นผู้สำเร็จการศึกษาจากหลักสูตรที่มีการเรียนการสอนเป็นภาษาอังกฤษ (หลักสูตรนานาชาติ) ในประเทศที่มีการใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาทางการ
|