ตำแหน่ง พยาบาล (ห้องผ่าตัด)
ลักษณะงานที่ปฏิบัติ
๑. มีความรู้ความสามารถปฏิบัติการพยาบาลตามระเบียบปฏิบัติและวิธีปฏิบัติงาน (Work instruction) ที่เกี่ยวข้องได้ถูกต้อง
๒. มีความรู้เกี่ยวกับโรคและแนวทางการรักษาที่อยู่ในขอบเขตบริการของหน่วยงานและสามารถถ่ายทอดความรู้แก่บุคลากรในหน่วยงานได้
๓. สามารถวางแผนและให้การพยาบาลได้ครอบคลุมแบบองค์รวมได้เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละรายสามารถจัดลำดับความสำคัญของปัญหาและสามารถใช้ความรู้จัดการช่วยเหลือผู้ป่วยให้ลุล่วงไปได้ด้วยดี
๔. สามารถจัดลำดับความสำคัญของปัญหาและสามารถใช้ความรู้จัดการช่วยเหลือผู้ป่วยให้ลุล่วงไปได้ด้วยดี
๕. มีความรู้ความสามารถในการใช้กระบวนการพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยทุกระยะของการผ่าตัดรวมถึงการดูแลเฝ้าระวังสัญญาณชีพ
๖. มีความสามารถในการจัดสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมกับภาวะโรคและปลอดภัยจากความเสี่ยงทางกายภาพ เช่น ดูแลความปลอดภัยผู้ป่วยจากการใช้สารเคมี เครื่องจี้ไฟฟ้า รังสี การเคลื่อนย้าย การจัดท่า สิ่งแวดล้อมและอุปกรณ์อื่น ๆ
๗. มีความสามารถในการให้ความรู้ด้านสุขภาพ (Health information) และสุขศึกษา (Health education) และให้คำแนะนำแก่ผู้ป่วยได้อย่างถูกต้องเหมาะสม
๘. มีความรู้ความสามารถในการปฏิบัติการพยาบาลเพื่อความสุขสบายของผู้ป่วย
๙. มีความสามารถในการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ
๑o. มีความสามารถในการปฎิบัติการช่วยชีวิตขั้นสูง (ACLS)
๑๑. มีความสามารถในการบริหารยา สารน้ำ เลือดและส่วนประกอบของเลือดได้ถูกต้องและปลอดภัย
๑๒. มีความสามารถในการส่งสิ่งตรวจทางห้องปฏิบัติการได้ถูกต้อง
๑๓. มีความสามารถในการทำนัดหมายหรือส่งผู้ป่วยตรวจพิเศษต่าง ๆ
๑๔. มีความสามารถในการบันทึกทางการพยาบาลให้ถูกต้อง ครบถ้วนและส่งต่อข้อมูลให้ถูกต้อง ครบถ้วน
๑๕. มีความรู้ความสามารถในการใช้การดูแลรักษาเครื่องมือและอุปกรณ์ทางการแพทย์ต่าง ๆ ในหน่วยงาน
๑๖. มีความรู้ความสามารถในการดูแลผู้ป่วยหลังผ่าตัดที่ได้รับยาระงับความรู้สึกทั่วร่างกายเสร็จในระยะที่ ๑ เช่น ประเมินระดับความรู้สึกตัว เฝ้าระวังการเปลี่ยนแปลงของสัญญาณชีพ การรู้สึกตัว การหายใจ ภาวะออกซิเจนในเลือด การจัดท่านอนที่เหมาะสม เพื่อป้องกันการอุดกั้นทางเดินหายใจและการสูดสำลัก การให้ออกซิเจนป้องกันภาวะอุณหภูมิกายต่ำ เป็นต้น
๑๗. มีความรู้ความสามารถดูแลผู้ป่วยที่ได้ยาระงับความรู้สึกเฉพาะที่ (Local anesthesia ,Tropical anesthesia)
๑๘. มีความรู้ความสามารถในการสังเกตอาการผิดปกติหรือภาวะแทรกซ้อนของผู้ป่วยในทุกระยะผ่าตัดและสามารถบริหารจัดการแก้ปัญหาหรือให้การพยาบาลเพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วยได้ทันเหตุการณ์
๑๙. มีความสามารถในการวางแผนจำหน่ายและการส่งต่อผู้ป่วยให้ได้รับการดูแลต่อเนื่อง
๒o. มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีสามารถสร้างความเป็นมิตรหรือความสัมพันธ์เชิงบวกกับบุคคลอื่น สนับสนุนและช่วยเหลือและพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล รวมทั้งการให้เกียรติบุคคลอื่น
๒๑. มีทักษะการสื่อสารที่ดี สามารถใช้ภาษาที่เหมาะสมในการให้บริการและการโทรเยี่ยมผู้ป่วย ให้คำแนะนำ ซักประวัติ การส่งเวรแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร ความคิดเห็นต่างๆได้อย่างถูกต้อง รวมทั้งการแสดงออกด้วยท่าทางที่เหมาะสม
๒๒. มีเจตคติที่ดีสามารถควบคุมอามรมณ์ตัวเองอย่างเหมาะสมภายใต้สถานการณ์ที่มีความขัดแย้งและสามารถปรับตัวให้เข้ากับบุคคล สถานการณ์ หรือลักษณะที่แตกต่างกันโดยใช้ระยะเวลาในการปรับตัวได้อย่างเหมาะสม
๒๓. สามารถประเมินเวชภัณฑ์และสารน้ำในหน่วยงานให้เพียงพอต่อการใช้งาน
๒๔. ร่วมในกลุ่มพัฒนาคุณภาพ เช่น ๖ส ในการจัดระเบียบและดูแลพื้นที่ในความรับผิดชอบ
๒๕. ปฏิบัติตามนโยบายและมาตรฐานของหน่วยงาน
ตำแหน่ง พยาบาล (หน่วยส่องกล้องทางเดินอาหาร)
ลักษณะงานที่ปฏิบัติ
๑. ด้านการบริหารจัดการทั่วไป
๑.๑ จัดลำดับการบริการผู้ป่วย
๑.๒ ประสานงานกับผู้ที่เกี่ยวข้อง/ทีมในการดูแลผู้ป่วย
๒. ด้านการบริการการพยาบาล
๒.๑ ประเมินสภาพ วินิจฉัยปัญหา วางแผนการพยาบาลและประเมินผลการพยาบาลในทุกระยะการส่องกล้อง
๒.๑.๑ เตรียมผู้ป่วยก่อนการทำหัตถการ
๒.๑.๒ ดูแลระหว่างการทำหัตถการ
๒.๑.๓ ดูแลหลังทำหัตถการ
๒.๒ บันทึกข้อมูลทางการพยาบาล
๒.๓ ควบคุมดูแลการจัดเตรียมเครื่องมือและอุปกรณ์สำหรับทำหัตถการและตรวจสอบความพร้อมใช้
๒.๔ ให้คำแนะนำผู้ป่วย/และนัดหมายทำหัตถการส่องกล้อง
๒.๕ ช่วยแพทย์ในการทำหัตถการส่องกล้อง
๒.๖ จัดเตรียมเอกสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการผู้ป่วยของศูนย์ส่องกล้องฯ
๒.๖.๑ เอกสารชี้แจงผู้ป่วยเรื่องการทำหัตถการต่าง ๆ
๒.๖.๒ ใบเซ็นยินยอมการรับริการทำหัตถการต่าง ๆ
ตำแหน่ง พยาบาล (หน่วยรังสีวิทยา)
ลักษณะงานที่ปฏิบัติ
๑. ห้องตรวจรังสีร่วมรักษา
๑.๑ ทวนตรวจสอบ และจัดเตรียมอุปกรณ์ ยา สารน้ำ เวชภัณฑ์ทางการแพทย์ วันหมดอายุของยา สารน้ำ อุปกรณ์ เวชภัณฑ์ปลอดเชื้อ และเวชภัณฑ์ทางการแพทย์ในห้องทำหัตถการรังสีร่วมรักษาให้เพียงพอ และพร้อมใช้งานก่อนการปฏิบัติงานทุกวัน
๑.๒ ในวันที่ผู้ป่วยมารับคำปรึกษา แนะนำจากรังสีแพทย์ก่อนการทำหัตถการ จัดเตรียมเอกสารทางการแพทย์ที่เกี่ยวข้อง ซักประวัติผู้ป่วยที่เกี่ยวข้องเพื่อวางแผนทำหัตถการ ได้แก่ โรคประจำตัว ประวัติแพ้ยา/แพ้อาหาร การรับประทานยาหม้อ/ยาสมุนไพร/ยาละลายลิ่มเลือด เป็นต้น ช่วยรังสีแพทย์ตรวจสอบตารางนัดหมายทำหัตถการ ประเมินค่าใช้จ่าย ประสานงานอายุรกรรม วิสัญญี หน่วย admission และหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
๑.๓ ในวันทำหัตถการตรวจสอบข้อมูลในใบส่งตรวจ/ใบส่งทำหัตถการ ได้แก่ ชื่อ นามสกุล วันเดือนปีเกิดของผู้ป่วย รวมถึงส่วนที่แพทย์ต้องการตรวจ/ทำหัตถการ ให้ถูกคน ถูกข้างถูกตำแหน่ง หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการส่งตรวจ หรืออื่น ๆ ติดต่อแพทย์เจ้าของไข้ หรือรังสีแพทย์เพื่อยืนยันการส่งตรวจ/ทำหัตถการนั้น และสอบถามข้อมูลจากผู้ป่วยร่วมด้วย พร้อมทั้งตรวจสอบผลตรวจทางห้องปฏิบัติการ และแนวทางการให้การรักษาเมื่อพบผลผิดปกติ
๑.๔ ซักประวัติผู้ป่วยที่มาเข้ารับการทำหัตถการ เกี่ยวกับการเตรียมตัวตรวจ งดน้ำงดอาหาร การรับประทานยาละลายลิ่มเลือด ยาต้มยาหม้อสมุนไพร ประวัติโรคประจำตัว แพ้ยา แพ้อาหาร ข้อห้ามต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง การงดยาก่อนวันทำหัตถการตามคำสั่งการรักษา ได้แก่ หัตถการเจาะ/ดูดชิ้นเนื้อบริเวณตำแหน่งต่าง ๆ และการทำหัตถการพิเศษทางรังสีร่วมรักษา เช่น การเจาะ/ตัดชิ้นเนื้อเพื่อการวินิจฉัย, การจี้ก้อนเนื้อที่ตับด้วยคลื่นเพื่อการรักษา, การระบายน้ำหนอง น้ำดี เลือด หรือลมจากตำแหน่งต่าง ๆ ผ่านทางผิวหนัง, การฉีดยาเพื่อการรักษาเข้าข้อ หรือตำแหน่งต่าง ๆ การหาตำแหน่งอุดหลอดเลือด เป็นต้น
๑.๕ แนะนำ อธิบาย ให้ข้อมูลผู้ป่วยเกี่ยวกับขั้นตอน วิธีการทำหัตถการ การปฏิบัติตนก่อน ขณะ และหลังการทำหัตถการ
๑.๖ จัดเตรียม และตรวจสอบเอกสารทางการแพทย์ที่เกี่ยวข้องกับการตรวจ/การทำหัตถการของผู้ป่วยให้ครบถ้วน เช่น ใบแสดงเจตนายินยอมเข้ารับการตรวจ แบบประเมินความเสี่ยงต่าง ๆ ใบส่งทำหัตถการ ใบคำสั่งการรักษา ใบ Time out, Nurse note เป็นต้น
๒. ห้องหัตถการรังสีร่วมรักษา
๒.๑ ผู้ป่วยในระบบนัดหมาย ๑ วันก่อนทำหัตถการ ตรวจสอบอุปกรณ์ เวชภัณฑ์ทางการแพทย์ ให้พร้อมก่อนทำหัตถการ กรณีเป็นผู้ป่วยเร่งด่วนฉุกเฉิน ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อเบิกอุปกรณ์เร่งด่วน และตรวจสอบให้ครบถ้วนก่อนเริ่มทำหัตถการ
๒.๒ เตรียมความพร้อมผู้ป่วยก่อนเข้าห้องตรวจ/ทำหัตถการ เช่น เปลี่ยนชุดผู้ป่วยให้เป็นชุดโรงพยาบาล เป็นต้น กรณีเป็นผู้ป่วยที่ได้รับการทำหัตถการที่ห้อง DSA ประสานงานกับหน่วยผ่าตัด เพื่อรับผู้ป่วยมาที่ห้องพักรอก่อนทำหัตถการ
๒.๓ กรณีผู้ป่วยนอก ซักประวัติ การเตรียมตัวของผู้ป่วย ดูแลให้ผู้ป่วย หรือผู้มีอำนาจกระทำแทนลงนามแสดงความยินยอมก่อนการทำหัตถการ สำหรับผู้ป่วยใน ประสานงาน รับเวรซักประวัติ อาการ โรคประจำตัว ยา การเตรียมความพร้อมผู้ป่วยก่อนทำหัตถการ
๒.๔ เปิดอุปกรณ์ เวชภัณฑ์ทางการแพทย์ เวชภัณฑ์ปลอดเชื้อ ยา ให้พร้อมสำหรับทำหัตถการ
๒.๕ ดูแลผู้ป่วยนอนบนเตียงทำหัตถการ จัดท่าผู้ป่วยให้เหมาะสม บันทึกสัญญาณชีพ
๒.๖ หัตถการรังสีร่วมรักษาทำโดยเทคนิคปราศจากเชื้อ ได้แก่ สวมชุด ถุงมือปราศจากเชื้อ ปูผ้าปราศจากเชื้อคลุมบริเวณรอบ ๆ ตำแหน่งที่ต้องการทำหัตถการ ทาน้ำยาฆ่าเชื้อบริเวณที่ต้องการทำหัตถการ บริหารยาตามคำสั่งการรักษาแพทย์ การหยิบจับ เตรียม เลือกส่งอุปกรณ์ เวชภัณฑ์ให้แพทย์ตามลำดับขั้นตอน ช่วยเหลือแพทย์ทำหัตถการ กดแผล ปิดแผล เป็นต้น สังเกต สอบถามอาการผู้ป่วยเป็นระยะในรายที่ไม่ได้ยาระงับความรู้สึก บันทึกสัญญาณชีพ ให้การพยาบาล ช่วยเหลือผู้ป่วยเมื่อพบอาการไม่พึงประสงค์อย่างทันท่วงที และลงบันทึกเอกสารทางการพยาบาล (พยาบาล scrub nurse ช่วยแพทย์ทำหัตถการในตำแหน่งปราศจากเชื้อ และพยาบาล circulate nurse ช่วยเปิดอุปกรณ์ร่วมกับผู้ช่วยพยาบาล สังเกตอาการ และจดบันทึกสัญญาณชีพ กิจกรรมการพยาบาล ช่วยเตรียมยาฉีด สารน้ำสำหรับผู้ป่วยเฉพาะราย)
๒.๗ หลังทำหัตถการเสร็จ ตรวจสอบอุปกรณ์ เวชภัณฑ์ปลอดเชื้อ ให้ครบถ้วน ทิ้งขยะตามประเภท
๒.๘ ส่งต่อผู้ป่วยไปห้องสังเกตอาการ ลงบันทึกเอกสารทางการพยาบาลให้สมบูรณ์ ตรวจสอบและเตรียมสิ่งส่งตรวจให้พร้อมส่ง
๒.๙ ดูแลสังเกตอาการผู้ป่วย บันทึกสัญญาณชีพ หากพบอาการผิดปกติรายงานรังสีแพทย์
๒.๑o บันทึกกิจกรรม และรายละเอียดการทำหัตถการ รายการหัตถการ เวชภัณฑ์ ยา ในระบบ SSB (Operating room) และบันทึกรายการสิ่งส่งตรวจ สำหรับผู้ป่วยให้ถูกต้อง
ตำแหน่ง พยาบาล (หอผู้ป่วย)
ลักษณะงานที่ปฏิบัติ
ด้านบริหาร
๑. สนับสนุนการจัดอัตรากำลังและการมอบหมายงานในหอผู้ป่วย รวมทั้งสนับสนุนการวางแผนการพยาบาลประจำวันให้เหมาะสมกับสภาวะงานพยาบาลในหอผู้ป่วย เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลอย่างมีประสิทธิภาพ
๒. สนับสนุนพัฒนาคุณภาพของหน่วยงาน การพัฒนาบริการพยาบาล การจัดทำระเบียบปฏิบัติ WI, WP ต่าง ๆ เพื่อยกระดับคุณภาพการให้บริการในหอผู้ป่วย
๓. สนับสนุนการบริหารจัดการความเสี่ยงในหน่วยงาน เพื่อป้องกันและลดความเสี่ยงต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้น
๔. สนับสนุนการจัดหาทรัพยากรที่จำเป็น บริหารพัสดุและครุภัณฑ์ทางการแพทย์ บำรุงรักษาและจัดการให้ใช้ประโยชน์อย่างคุ้มค่า
๕. ปฏิบัติงานบริหารอื่น ๆ แทนหัวหน้าหอผู้ป่วย และที่ได้รับมอบหมาย
ด้านบริการ
๑. ปฏิบัติงานการพยาบาลดูแลผู้ป่วยในหอผู้ป่วยให้เป็นไปตามแนวทางการดูแล ให้ปลอดภัยจากภาวะแทรกซ้อน โดยประเมินและรวบรวมความรู้ตั้งแต่กระบวนการรับใหม่ การให้ความรู้แก่ผู้ป่วยและครอบครัว การฟื้นฟูและการเตรียมจำหน่าย การบันทึกทางเวชระเบียน เพื่อให้การพยาบาลอย่างครอบคลุมเป็นองค์รวม
๒. ดูแลจัดสภาพแวดล้อมให้เอื้ออำนวยต่อการปฏิบัติงาน รวมถึงบริหารจัดการคลังเวชภัณฑ์ ครุภัณฑ์ ภายในหน่วยงาน เพื่อให้เพียงพอในการรักษาพยาบาลผู้ป่วยอย่างต่อเนื่อง
๓. ประสานงานกับทีมสหสาขาวิชาชีพและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการพยาบาลอย่างทันทีและพึงพอใจ
๔. นิเทศงานทางด้านบริการ จัดการสอน อบรม แก่บุคลากรที่มีประสบการณ์น้อยกว่าในหอผู้ป่วย เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลอย่างถูกต้องตามมาตรฐานวิชาชีพ
๕. ร่วมและสนับสนุนการรับ-ส่ง รายงาน อาการเปลี่ยนแปลงของผู้ป่วย และตรวจวินิจฉัยและรักษาพยาบาล เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่องและบรรลุแผนการรักษา
๖. วางแผนจำหน่ายผู้ป่วย เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการเตรียมความพร้อมก่อนกลับบ้าน ตลอดจนให้คำแนะนำผู้ป่วยเกี่ยวกับสภาวะของโรค การปฏิบัติตัว การฟื้นฟูสภาพ ให้คำแนะนำการปฏิบัติตัวก่อนกลับบ้านแก่ผู้ป่วยและญาติ เพื่อให้ผู้ป่วยปฏิบัติตัวอย่างถูกต้อง
๗. ดูแลการปฏิบัติงานของผู้ใต้บังคับบัญชาให้เป็นไปตามแผนงานที่วางไว้ รวมถึงให้คำปรึกษาและช่วยแก้ไขปัญหางานพยาบาลในหอผู้ป่วย
๘. ช่วยเหลือกิจกรรมพิเศษต่าง ๆ และปฏิบัติงานตามพันธกิจ นโยบาย เพื่อให้บรรลุเป้าหมายวิสัยทัศน์ของฝ่ายการพยาบาล ศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก คณะแพทย์ศาสตร์ศิริราชพยาบาล
๙. ปฏิบัติงานอื่น ๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย
ด้านวิชาการ
๑. นิเทศงานด้านวิชาการ และการพยาบาลที่ซับซ้อนแก่บุคลากร
๒. สนับสนุนและร่วมกิจกรรมวิชาการการพัฒนาทักษะการดูแลผู้ป่วย
๓. ดำเนินงานการพัฒนาคุณภาพการพยาบาลให้มีประสิทธิภาพและเป็นไปตามมาตรฐาน
๔. สนับสนุนและร่วมจัดทำเอกสารทางวิชาการ และสื่อการสอนด้านสุขภาพ
๕. ร่วมในการเก็บบันทึกข้อมูล สถิติและรายงานของผู้ป่วย
ตำแหน่ง พยาบาล (ระบบหัวใจ) และ พยาบาล OPD
ลักษณะงานที่ปฏิบัติ
๑. ให้การพยาบาลผู้ป่วยด้วยความถูกต้องรวดเร็วเหมาะสมสอดคล้องกับมาตรฐานการพยาบาลและ แผนการ รักษา รวมทั้งการบริหารจัดการ การเตรียมผู้ป่วยเพื่อการทำหัตถการตามหลักมาตรฐานวิชีพ
๒. คัดกรองอาการเร่งด่วน ฉุกเฉิน และประสานงานให้ผู้ป่วยได้รับการตรวจรักษาได้อย่างเหมาะสม ตามความเร่งด่วน ของอาการ
๓. มอบหมายงานและนิเทศบุคลากรในระดับรองลงมาตามความรู้ความสามารถและติดตามผลการปฏิบัติ งานป้องกันและควบคุมความปลอดภัยด้านกายภาพและสิ่งแวดล้อม การแพร่กระจายของเชื้อ ตามเกณฑ์มาตรฐาน
๔. กำกับดูแลการใช้งาน ครุภัณฑ์ อุปกรณ์ทางการแพทย์และของใช้ต่างๆให้มีประสิทธิภาพ พร้อมใช้งานอยู่เสมอ
๕. ประสานงานและอำนวยความสะดวกกับทีมสุขภาพในด้านการรักษาพยาบาล
๖. สอน แนะนำผู้รับบริการและครอบครัวเกี่ยวกับและการป้องกันการกลับเป็นซ้ำ ตลอดจนสร้างเสริมสุขภาพด้วยตนเอง
๗. ให้การสนับสนุนด้านการศึกษา วิชาการการวิจัยและการพัฒนาคุณภาพงานต่างๆตามข้อมูล/ตัวชี้วัด
๘. ให้ความร่วมมือในการบริหารงานด้วยการเข้าประชุม เสนอความคิดเห็นมีส่วนร่วมในการประเมินผลงาน
๙. ปฏิบัติงานอื่นๆ และการมีส่วนร่วมในกิจกรรมพิเศษของหน่วยงานและ ส่วนกลาง ตามที่ได้รับมอบหมาย
|