ประกาศสถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล
เรื่อง ขยายเวลารับสมัครคัดเลือกบุคคลเพื่อบรรจุและแต่งตั้งเป็นพนักงานมหาวิทยาลัย
-------------------------------------

       ด้วยมหาวิทยาลัยมหิดลมีความประสงค์จะรับสมัครคัดเลือกบุคคลเพื่อบรรจุเป็น พนักงานมหาวิทยาลัย ตำแหน่งอาจารย์ จำนวน ๑ อัตรา ปฏิบัติงาน หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิตและปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาภาษาศาสตร์ กลุ่มวิชาภาษา วัฒนธรรม การสื่อสารและการพัฒนา สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย

        ๑. ตำแหน่งที่จะดำเนินการรับสมัครเพื่อคัดเลือก ตำแหน่งที่บรรจุปรากฏอยู่ในรายละเอียดแนบท้ายประกาศนี้

        ๒. คุณสมบัติของผู้มีสิทธิสมัคร ผู้สมัครรับการคัดเลือกต้องมีคุณสมบัติทั่วไปตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยมหิดลว่าด้วยการบริหารงานบุคคลพนักงานมหาวิทยาลัย พ.ศ.๒๕๕๑ และมีคุณสมบัติเฉพาะตำแหน่งตามที่ระบุไว้ในรายละเอียดเกี่ยวกับการสอบแนบท้ายประกาศนี้

        ๓. เอกสารหลักฐานประกอบการสมัครในลักษณะของไฟล์อิเล็กทรอนิกส์(PDF)เท่านั้น
           ๓.๑ สำเนาหลักฐานวุฒิการศึกษา
           ๓.๒ สำเนาใบรายงานผลการศึกษาฉบับสมบูรณ์
           ๓.๓ สำเนาคะแนนทดสอบภาษาอังกฤษ จำนวน ๑ ฉบับ (ตามเกณฑ์ผ่านการทดสอบภาษาอังกฤษที่มหาวิทยาลัยมหิดลกำหนด)
           ๓.๔ ใบรับรองการทำงาน (ถ้ามี)
           ๓.๕ ไฟล์รูปถ่ายหน้าตรง ใส่ชุดสุภาพ ถ่ายไว้ไม่เกิน ๖ เดือน ในรูปแบบ jpg หรือ png ที่มีขนาดไม่เกิน ๒๐๐ kb

        ๔. การสมัครและการยื่นใบสมัคร ผู้ประสงค์จะสมัครงานสามารถกรอกใบสมัครลงในระบบ e-Recruitment Online
ที่ https://muhr.mahidol.ac.th/E-Recruitment ตั้งแต่บัดนี้ถึงวันที่ ๓o มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๓

        ๕. การประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิเข้ารับการคัดเลือก วัน เวลา และสถานที่ทำการคัดเลือก
           ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิเข้ารับการคัดเลือกภายในวันที่ ๑๕ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ ที่ https://muhr.mahidol.ac.th/E-Recruitment

 
 
ประกาศ ณ วันที่         มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๓
 

รองศาสตราจารย์ ดร.ขวัญจิต ศศิวงศาโรจน์
ผู้อำนวยการสถาบันฯ




 



รายละเอียดแนบท้ายประกาศสถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล

ลงวันที่         มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๓


ตำแหน่ง อาจารย์(ภาษาศาสตร์) จำนวน ๑ อัตรา
หน่วยงาน หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิตและปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาภาษาศาสตร์ กลุ่มวิชาภาษา วัฒนธรรม การสื่อสารและการพัฒนา
อายุไม่เกิน ๔o ปีนับถึงวันที่สมัคร
ประสบการณ์ มีประสบการณ์บริหารโครงการวิจัยระดับแผนงาน และมีประสบการณ์สอนหรือการบรรยายวิชาการในระดับอุดมศึกษา และมีผลงานวิจัย/หรืออยู่ระหว่างการพัฒนาผลงานเพื่อตีพิมพ์ทางวิชาการในฐานข้อมูลสากล
คุณสมบัติของผู้สมัคร

คุณสมบัติทั่วไป

๑. ไม่จำกัดเพศ อายุไม่เกิน ๔๐ ปีนับถึงวันที่สมัคร (เพศชายต้องผ่านการเกณฑ์ทหารแล้วหรือจบ ร.ด. ปี ๓)

๒. ไม่เคยต้องโทษจำคุก โดยคำพิพากษาเพราะกระทำผิดทางอาญา

คุณสมบัติเฉพาะตำแหน่ง (Required qualifications) :

๑. เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอก มีประสบการณ์สอนหรือวิจัยด้านวัจนปฏิบัติศาสตร์ (Pragmatics)

๒. เป็นผู้ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการระดับผู้ช่วยศาสตราจารย์ขึ้นไป (จะได้รับการพิจารณาเป็นพิเศษ)

๓. มีความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษระดับดี โดยมีผลคะแนน IELTS (Academic Module) คะแนนรวมไม่ต่ำกว่า ๖ คะแนน หรือ TOEFL IBT (Internet Based)  คะแนนรวมไม่ต่ำกว่า ๗๙ คะแนน หรือ TOEFL- ITP  คะแนนรวมไม่ต่ำกว่า ๕๕๐ คะแนน หรือ TOEFL- CBT คะแนนรวมไม่ต่ำกว่า ๒๑๓ คะแนน หรือ MU GRAD Test  คะแนนรวมไม่ต่ำกว่า ๘๐ คะแนน  และเป็นผลการสอบที่มีระยะเวลาไม่เกิน ๒ ปี นับถึงวันที่ยื่นใบสมัคร (แนบผลคะแนน ณ วันที่สมัคร) หากไม่มีผลคะแนนดังกล่าวมหาวิทยาลัยจะไม่พิจารณาใบสมัคร

กรณี เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอกขึ้นไป และมีผลคะแนนทดสอบภาษาอังกฤษก่อนเข้าศึกษา โดยผลคะแนนทดสอบภาษาอังกฤษมากกว่าหรือเท่ากับเกณฑ์ที่กำหนดไว้ข้างต้น จะแนบผลคะแนนทดสอบภาษาอังกฤษก่อนเข้าศึกษาดังกล่าวแทนก็ได้  หรือ เป็นผู้สำเร็จการศึกษาจากหลักสูตรที่มีการเรียนการสอนเป็นภาษาอังกฤษ (หลักสูตรนานาชาติ) ในประเทศที่มีการใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาทางการ จะไม่แนบผลคะแนนทดสอบภาษาอังกฤษดังกล่าวก็ได้

๔. เป็นผู้ที่มีทักษะการวิจัยด้านภาษา ภาษาศาสตร์ และภาษาศาสตร์ประยุกต์

๕. มีเครือข่ายวิชาการทั้งในและต่างประเทศ และโปรดให้ข้อมูลความร่วมมือที่ทำร่วมกัน (อาทิ โครงการวิจัย การเผยแพร่ผลงานวิชาการ พร้อมหลักฐาน (ถ้ามี)

๖. มีประสบการณ์บริหารโครงการวิจัยระดับแผนงาน

๗. มีประสบการณ์สอนหรือการบรรยายวิชาการในระดับอุดมศึกษา และมีผลงานวิจัย/หรืออยู่ระหว่างการพัฒนาผลงานเพื่อตีพิมพ์ทางวิชาการในฐานข้อมูลสากล

๘. มีความรู้และทักษะในการใช้ภาษาไทยและภาษาอังกฤษในการสื่อสาร และการวิจัยในระดับดีมาก

๙. มีความรู้ภาษาอาเซียนหรือภาษาอื่นๆ (ถ้ามี)

๑๐. ผู้สมัครต้องเป็นผู้ไม่ติดเงื่อนไขการชดใช้ทุนกับหน่วยงานใด

คุณสมบัติซึ่งจะได้รับการพิจารณาเป็นพิเศษ (Desirable qualifications) :

มีผลงานวิจัยตีพิมพ์ในฐานข้อมูลสากล หนังสือหรือบทความในหนังสือที่ตีพิมพ์โดยสำนักพิมพ์ต่างประเทศ

ผ่านเกณฑ์ทดสอบภาษาอังกฤษที่มหาวิทยาลัยมหิดลกำหนด จะต้องได้คะแนนไม่ต่ำกว่าเกณฑ์อย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนี้
IELTS(Academic Module) คะแนนไม่ต่ำกว่า
TOEFL IBT คะแนนไม่ต่ำกว่า ๗๙
TOEFL ITP คะแนนไม่ต่ำกว่า ๕๕o
TOEFL CBT คะแนนไม่ต่ำกว่า ๒๑๓
MU GRAD Test คะแนนไม่ต่ำกว่า ๘o
MU GRAD PLUS คะแนนไม่ต่ำกว่า ๙o
CU-TEP คะแนนไม่ต่ำกว่า ๗๕
TU-GET (Computer Based) คะแนนไม่ต่ำกว่า ๕๕o
TU-GET (Computer Based) คะแนนไม่ต่ำกว่า ๘o
*** ผลคะแนนการทดสอบภาษาอังกฤษต้องมีอายุไม่เกิน ๒ ปี นับถึงวันยื่นใบสมัคร ***

ลักษณะงานที่ปฏิบัติ

หน้าที่รับผิดชอบโดยย่อ : ปฏิบัติงานด้านการวิจัยเป็นหลัก นำเสนอโครงการเพื่อขอสนับสนุนจากแหล่งทุนทั้งในระดับชาติและนานาชาติ สร้างเครื่อข่ายการวิจัย สร้างนวัตกรรมจากงานวิจัย เผยแพร่ผลงานวิจัยโดยเฉพาะบนฐานข้อมูลสากล และในรูปแบบอื่นๆ จัดการเรียนการสอน ให้คำปรึกษาในการทำวิทยานิพนธ์ของนักศึกษาในหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบันฑิต สาขาภาษาศาสตร์ และหลักสูตรอื่นที่เกี่ยวข้อง
การบริการทางวิชาการที่เกี่ยวกับภาษาและวัฒนธรรมโดยเฉพาะในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง และปฏิบัติหน้าที่อื่นๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย

หลักเกณฑ์การคัดเลือก

การคัดเลือก : พิจารณาคุณสมบัติเบื้องต้นจากคณะกรรมการ เพื่อสอบนำเสนอผลงาน  สอบสอน  สอบสัมภาษณ์ ดังนี้

  1. ผู้สมัครนำเสนอแผนการสอน (course syllabus) จำนวน ๑ วิชา โดยระบุเนื้อหา /หัวข้อการสอนแต่ละครั้ง เอกสารสำหรับนักศึกษาอ่านประกอบในแต่ละครั้ง การวัดผลและประเมินผลการเรียน (แผนการสอน ๑ รายวิชา ประกอบด้วยการเรียนการสอนจำนวน ๑๕ ครั้ง) รายวิชาที่ผู้สมัครสามารถจัดทำแผนการสอนมีดังนี้

 

วภภษ    ๕๒๐     วัจนปฏิบัติศาสตร์                                                                            ๓(๓-๐-๖)

LCLG    ๕๒o       Pragmatics  

           มโนทัศน์พื้นฐานทางวัจนปฏิบัติศาสตร์ ความสำคัญของบริบทต่อการติดต่อสื่อสาร ตัวบ่งบอก สภาวะเกิดก่อน การตีความหมายนัย วัจนกรรม การวิเคราะห์บทสนทนา โครงสร้างบทสนทนา ความสุภาพ ความสัมพันธ์ระหว่างความหมายและวัจนปฏิบัติศาสตร์ ความสัมพันธ์ระหว่างวัจนปฏิบัติศาสตร์กับโครงสร้างสัมพันธสาร

Basic concepts of pragmatics, significance of context in communication, deixis, presupposition, implicature, speech acts, conversation analysis, conversational structure, politeness, relationship between meaning and pragmatics, relationship between pragmatics and discourse structure

 

วภภษ  ๖๑๒    สัมมนาทางวัจนปฏิบัติศาสตร์                                                                   ๓ (๒-๒-๕)

LCLG    ๖๒    Seminar in Pragmatics 

                    พัฒนาการของแนวคิดสำคัญของทฤษฎีวัจนปฏิบัติศาสตร์  วัจนปฏิบัติศาสตร์กับปริชาน วัจนปฏิบัติศาสตร์กับอรรถศาสตร์ วัจนปฏิบัติศาสตร์กับสัมพันธสาร วัจนปฏิบัติศาสตร์ในภาษาและวัฒนธรรมต่างๆ วัจนปฏิบัติศาสตร์กับการเรียนการสอนภาษา ระเบียบวิธีวิจัยทางวัจนปฏิบัติศาสตร์

                     Key concepts in Pragmatics; pragmatics and cognition, pragmatics and semantics, pragmatics and discourse, pragmatics across languages and cultures, pragmatics and language learning and teaching, research methodology in pragmatics

 

 

 

วภภษ    ๖๑๓   สัมมนาทางภาษาศาสตร์เอเชียอาคเนย์                                                        ๓ (๒-๒-๕)

LCLG    ๖๑๓    Seminar in Southeast Asian Linguistics 

                     ลักษณะของแต่ละตระกูลภาษาในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้แก่ ตระกูลไท ออสโตรเอเชียติก ไซโน-ทิเบตัน ม้ง-เย้า และออสโตรนีเชียน ลักษณะเฉพาะและลักษณะร่วมของภาษาในอาณาบริเวณนี้

                     Characteristics of each language family in South East Asia, namely, Tai language family, Astroasiatic language family, Sino-Tibetan language family, Hmong-Mien language family, and Austronesian family. Distinct and shared areal linguistic features in this area                                                                           

๒. ผู้สมัครนำเสนอผลงานวิชาการ

๓. การสอบสัมภาษณ์ โดยพิจารณาจากคุณสมบัติทางวิชาการความสามารถในการถ่ายทอดความรู้ และบุคลิกภาพที่เหมาะสมกับตำแหน่งอาจารย์

อัตราเงินเดือนและสวัสดิการ

อัตราเงินเดือน : คุณวุฒิปริญญาเอก ๓๒,๔๕๐ บาท (ยังไม่รวมเงินเพิ่มหากมีประสบการณ์ตรงที่เป็นประโยชน์ในการปฏิบัติหน้าที่)

การรักษาพยาบาล  สิทธิกองทุนประกันสังคม/กองทุนเงินทดแทน/กองทุนพนักงานมหาวิทยาลัย

สวัดิการต่างๆ สำหรับบุคลากรภายในสถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชียและมหาวิทยาลัยกำหนด