ประกาศสถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล
เรื่อง ขยายเวลารับสมัครคัดเลือกบุคคลเพื่อบรรจุและแต่งตั้งเป็นพนักงานวิทยาลัย
-------------------------------------

       ด้วยมหาวิทยาลัยมหิดลมีความประสงค์จะรับสมัครคัดเลือกบุคคลเพื่อบรรจุเป็น พนักงานวิทยาลัย ตำแหน่งนักวิจัย จำนวน ๑ อัตรา ปฏิบัติงาน ศูนย์ศึกษาและฟื้นฟูภาษาและวัฒนธรรมในภาวะวิกฤต สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย

        ๑. ตำแหน่งที่จะดำเนินการรับสมัครเพื่อคัดเลือก ตำแหน่งที่บรรจุปรากฏอยู่ในรายละเอียดแนบท้ายประกาศนี้

        ๒. คุณสมบัติของผู้มีสิทธิสมัคร ผู้สมัครรับการคัดเลือกต้องมีคุณสมบัติทั่วไปตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยมหิดลว่าด้วยการบริหารงานบุคคลพนักงานมหาวิทยาลัย พ.ศ.๒๕๕๑ และมีคุณสมบัติเฉพาะตำแหน่งตามที่ระบุไว้ในรายละเอียดเกี่ยวกับการสอบแนบท้ายประกาศนี้

        ๓. เอกสารหลักฐานประกอบการสมัครในลักษณะของไฟล์อิเล็กทรอนิกส์(PDF)เท่านั้น
           ๓.๑ สำเนาหลักฐานวุฒิการศึกษา
           ๓.๒ สำเนาใบรายงานผลการศึกษาฉบับสมบูรณ์
           ๓.๓ สำเนาคะแนนทดสอบภาษาอังกฤษ จำนวน ๑ ฉบับ (ตามเกณฑ์ผ่านการทดสอบภาษาอังกฤษที่มหาวิทยาลัยมหิดลกำหนด)
           ๓.๔ ใบรับรองการทำงาน (ถ้ามี)
           ๓.๕ ไฟล์รูปถ่ายหน้าตรง ใส่ชุดสุภาพ ถ่ายไว้ไม่เกิน ๖ เดือน ในรูปแบบ jpg หรือ png ที่มีขนาดไม่เกิน ๒๐๐ kb

        ๔. การสมัครและการยื่นใบสมัคร ผู้ประสงค์จะสมัครงานสามารถกรอกใบสมัครลงในระบบ e-Recruitment Online
ที่ https://muhr.mahidol.ac.th/E-Recruitment ตั้งแต่บัดนี้ถึงวันที่ ๓o กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๔

        ๕. การประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิเข้ารับการคัดเลือก วัน เวลา และสถานที่ทำการคัดเลือก
           ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิเข้ารับการคัดเลือกภายในวันที่ ๒o สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๖๔ ที่ https://muhr.mahidol.ac.th/E-Recruitment

 
 
ประกาศ ณ วันที่         กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๔
 

(ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.มรกต ไมยเออร์)
ผู้อำนวยการสถาบันฯ




 



รายละเอียดแนบท้ายประกาศสถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล

ลงวันที่         กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๔


ตำแหน่ง นักวิจัย จำนวน ๑ อัตรา
หน่วยงาน ศูนย์ศึกษาและฟื้นฟูภาษาและวัฒนธรรมในภาวะวิกฤต สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย
อายุไม่เกิน ๓๕ ปีนับถึงวันที่สมัคร
ประสบการณ์ หากเป็นเจ้าของภาษาหรือมีทักษะภาษาชาติพันธุ์ในประเทศไทย เช่น ภาษาอาข่า ม้ง กะเหรี่ยง ภาษาเขมร ภาษามลายู เป็นต้น จะได้รับการพิจารณาเป็นพิเศษ
คุณสมบัติของผู้สมัคร

คุณสมบัติทั่วไป:

๑. ไม่จำกัดเพศ  (เพศชายต้องผ่านการเกณฑ์ทหารแล้ว หรือจบ ร.ด. ปี ๓)

๒. ไม่เคยต้องโทษจำคุก โดยคำพิพากษาเพราะกระทำผิดทางอาญา

คุณสมบัติเฉพาะตำแหน่ง (Required qualifications):

๑. เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาดุษฎีบัณฑิต ในสาขาภาษาศาสตร์ วัฒนธรรมศึกษา พหุวัฒนธรรม คติชนวิทยา สังคมวิทยาและมานุษยวิทยา รวมถึงผู้สำเร็จการศึกษาสาขาศึกษาศาสตร์และทำงานด้านการพัฒนาการศึกษาสำหรับกลุ่มชาติพันธุ์ ชนกลุ่มน้อยหรือกลุ่มข้ามชาติต่างๆ และสาขาวิทยาศาสตร์ชาติพันธุ์ เช่น พฤกษศาสตร์ชาติพันธุ์ เภสัชศาสตร์ชาติพันธุ์ เป็นต้น

๒. มีความรู้ความสามารถหรือทักษะเกี่ยวกับการจัดการข้อมูล (Data management) สามารถย่อย สรุป ดึงจุดเด่นของข้อมูล รวมทั้งจัดการข้อมูลซับซ้อนให้เข้าใจง่ายหรือเป็นแผนภาพเพื่อใช้ประโยชน์ต่อไปได้

๓. มีประสบการณ์ทำงานวิจัยปฏิบัติการหรือการทำงานวิจัยแบบมีส่วนร่วมในด้านภาษา วัฒนธรรม การศึกษาหรือในบริบทที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มคนต่างๆ จะได้รับการพิจารณาเป็นพิเศษ

๔. หากเป็นเจ้าของภาษาหรือมีทักษะภาษาชาติพันธุ์ในประเทศไทย เช่น ภาษาอาข่า ม้ง กะเหรี่ยง ภาษาเขมร ภาษามลายู เป็นต้น จะได้รับการพิจารณาเป็นพิเศษ

๕. มีผลงานตีพิมพ์บทความวิจัยหรือบทความวิชาการที่อยู่ในฐานข้อมูลระดับนานาชาติ เช่น SCOPUS หรือฐานข้อมูลวารสารสากลตามประกาศที่ ก.พ.อ. ให้การรับรอง จำนวนอย่างน้อย ๑ ชิ้น

๖. มีความรู้ความสามารถด้านภาษาอังกฤษ ในระดับดี-ดีมาก โดยสามารถใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารทั้งในด้านการฟัง พูด อ่านและเขียนในระดับวิชาการได้ โดยมีผลคะแนนไม่ต่ำกว่าเกณฑ์อย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้ 

IELTS (Academic Module) คะแนนรวมไม่ต่ำกว่า ๗ คะแนน

TOEFL IBT (Internet Based)  คะแนนรวมไม่ต่ำกว่า ๙๕ คะแนน

TOEFL- ITP  คะแนนรวมไม่ต่ำกว่า ๕๘๗ คะแนน

TOEFL- CBT คะแนนรวมไม่ต่ำกว่า ๒๑๓ คะแนน

ทั้งนี้หากเป็นผู้สำเร็จการศึกษาในหลักสูตรนานาชาติจากต่างประเทศที่มีการใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาแม่หรือเป็นภาษาราชการ อาจใช้หลักฐานอื่นในระดับที่เท่ากันกับเกณฑ์ดังกล่าวข้างต้น โดยผลการสอบตามเกณฑ์ต่างๆ ต้องมีระยะเวลาไม่เกิน ๒ ปี นับถึงวันที่ยื่นใบสมัคร (แนบผลคะแนน ณ วันที่สมัคร) หากไม่มีผลคะแนนดังกล่าวมหาวิทยาลัยจะไม่พิจารณาใบสมัคร

๗. สามารถทำงานภาคสนาม และทำงานร่วมกับนักวิจัยชาวบ้านหรือชุมชนต่างๆ ได้

 

๘. สามารถทำงานในภาวะเร่งด่วน ทำงานล่วงเวลา และทำงานในวันหยุดได้

๙. มีความคิดสร้างสรรค์ สามารถทำงานเป็นทีมได้ดี

๑๐. มีพื้นฐานจิตใจที่เปิดกว้างในการทำงานกับกลุ่มที่มีความหลากหลายทางภาษา-วัฒนธรรมและในบริบทต่างๆ

ผ่านเกณฑ์ทดสอบภาษาอังกฤษที่มหาวิทยาลัยมหิดลกำหนด จะต้องได้คะแนนไม่ต่ำกว่าเกณฑ์อย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนี้
IELTS(Academic Module) คะแนนไม่ต่ำกว่า
TOEFL IBT คะแนนไม่ต่ำกว่า ๙๕
TOEFL ITP คะแนนไม่ต่ำกว่า ๕๘๗
TOEFL CBT คะแนนไม่ต่ำกว่า ๒๑๓
TOEIC คะแนนไม่ต่ำกว่า
MU GRAD Test คะแนนไม่ต่ำกว่า
GRAD PLUS คะแนนไม่ต่ำกว่า
MU ELT คะแนนไม่ต่ำกว่า
*** ผลคะแนนการทดสอบภาษาอังกฤษต้องมีอายุไม่เกิน ๒ ปี นับถึงวันยื่นใบสมัคร ***

ลักษณะงานที่ปฏิบัติ

หน้าที่และความรับผิดชอบ

ปฏิบัติงานเกี่ยวกับงานวิจัยที่สอดคล้องกับเป้าหมายหรือพันธกิจของสถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย ในส่วนของศูนย์ศึกษาและฟื้นฟูภาษาและวัฒนธรรมในภาวะวิกฤต และงานอื่นของสถาบันฯ นำเสนอผลงานวิจัยในรูปแบบบทความตีพิมพ์ระดับนานาชาติ ดำเนินงานภายใต้การกำกับตรวจสอบเฉพาะกรณีที่จำเป็น และปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่ได้รับมอบหมาย

 

ลักษณะงานที่ปฏิบัติ

๑. ดำเนินการวิจัย ศึกษา ทดสอบ รวบรวม วิเคราะห์ข้อมูลและจัดทำรายงานวิจัยในด้านภาษา ภาษาศาสตร์ วัฒนธรรม การพัฒนาการศึกษา การท่องเที่ยว เทคโนโลยี ดิจิทัล เศรษฐกิจและด้านต่างๆ ที่ส่งเสริมศักยภาพกลุ่มชาติพันธุ์ในประเทศไทย หรืองานวิจัยที่สอดคล้องกับเป้าหมายหรือพันธกิจของสถาบันฯ โดยสามารถดำเนินการด้วยตนเอง หรือ ดำเนินการร่วมกับนักวิจัยที่ปรึกษาหรือนักวิจัยท่านอื่นภายในสถาบันฯ และหน่วยงานภายนอก

๒. ยื่นเสนอขอทุน/งบประมาณวิจัยจากหน่วยงานสนับสนุนในประเทศและต่างประเทศ เพื่อดำเนินงานวิจัยในด้านภาษา ภาษาศาสตร์ วัฒนธรรม การพัฒนาการศึกษา การท่องเที่ยว เทคโนโลยี ดิจิทัล เศรษฐกิจและด้านต่างๆ ที่ส่งเสริมศักยภาพ และโอกาสทางเศรษฐกิจ สังคมและสิทธิทางวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์รวมถึงกลุ่มวัฒนธรรมอื่นๆ ในสังคมไทยและบริบทอาเซียน หรืองานวิจัยที่มีความสอดคล้องกับเป้าหมายหรือพันธกิจของศูนย์และสถาบันฯ

๓. บริหารจัดการโครงการวิจัย โดยบริหารจัดการทั้งโครงการวิจัยและโครงการรับจ้างวิจัย รวมทั้งบริหารโครงการในด้านบุคลากรวิจัย ผลผลิตวิจัย การใช้ประโยชน์จากงานวิจัยและการขับเคลื่อนในเชิงนโยบาย รวมทั้งการบริหารจัดการงบประมาณอย่างมีประสิทธิภาพและโปร่งใส

๔. ผลิตบทความวิจัยหรือบทความวิชาการ เพื่อตีพิมพ์ในวารสารระดับนานาชาติ และระดับชาติ โดยสม่ำเสมอ

๕. ฝึกอบรม บริการวิชาการ ถ่ายทอดความรู้และพัฒนานวัตกรรมที่ได้จากงานวิจัยทั้งในระหว่างการวิจัยและเสร็จสิ้นงานวิจัย หรือตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย ให้บริการวิชาการ ตอบคำถาม ชี้แจงและให้คำปรึกษาในการปฏิบัติงานวิจัยแก่เจ้าหน้าที่ บุคลากร นักศึกษา ชุมชนและบุคคลทั่วไปที่สนใจในงานวิจัยด้านภาษาและวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์และกลุ่มวัฒนธรรมต่างๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ

หลักเกณฑ์การคัดเลือก

๑. พิจารณาผู้มีสิทธิ์เข้ารับการคัดเลือกเบื้องต้นจากใบสมัคร ประวัติส่วนตัว ประวัติการทำงาน และจดหมายแสดงความตั้งใจในการสมัครงานเป็นภาษาอังกฤษ ความยาวไม่เกิน ๑,ooo คำ (Letter of statement/ Statement of purpose)

๒. การสอบข้อเขียน 

๓. การนำเสนอผลงานทางวิชาการ

๔. การสอบสัมภาษณ์

อัตราเงินเดือนและสวัสดิการ

การรักษาพยาบาล:   สิทธิกองทุนประกันสังคม/ กองทุนเงินทดแทน/ กองทุนพนักงานมหาวิทยาลัย

สวัสดิการ: สวัสดิการสำหรับบุคลากรภายในสถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย และบุคลากรมหาวิทยาลัยมหิดล