ประกาศศูนย์สัตว์ทดลองแห่งชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล
เรื่อง ขยายเวลารับสมัครคัดเลือกบุคคลเพื่อบรรจุและแต่งตั้งเป็นพนักงานมหาวิทยาลัย
-------------------------------------

       ด้วยมหาวิทยาลัยมหิดลมีความประสงค์จะรับสมัครคัดเลือกบุคคลเพื่อบรรจุเป็น พนักงานมหาวิทยาลัย ตำแหน่งนักวิทยาศาสตร์ จำนวน ๑ อัตรา ปฏิบัติงาน งานบริการวิชาการ ศูนย์สัตว์ทดลองแห่งชาติ

        ๑. ตำแหน่งที่จะดำเนินการรับสมัครเพื่อคัดเลือก ตำแหน่งที่บรรจุปรากฏอยู่ในรายละเอียดแนบท้ายประกาศนี้

        ๒. คุณสมบัติของผู้มีสิทธิสมัคร ผู้สมัครรับการคัดเลือกต้องมีคุณสมบัติทั่วไปตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยมหิดลว่าด้วยการบริหารงานบุคคลพนักงานมหาวิทยาลัย พ.ศ.๒๕๕๑ และมีคุณสมบัติเฉพาะตำแหน่งตามที่ระบุไว้ในรายละเอียดเกี่ยวกับการสอบแนบท้ายประกาศนี้

        ๓. เอกสารหลักฐานประกอบการสมัครในลักษณะของไฟล์อิเล็กทรอนิกส์(PDF)เท่านั้น
           ๓.๑ สำเนาหลักฐานวุฒิการศึกษา
           ๓.๒ สำเนาใบรายงานผลการศึกษาฉบับสมบูรณ์
           ๓.๓ สำเนาคะแนนทดสอบภาษาอังกฤษ จำนวน ๑ ฉบับ (ตามเกณฑ์ผ่านการทดสอบภาษาอังกฤษที่มหาวิทยาลัยมหิดลกำหนด)
           ๓.๔ ใบรับรองการทำงาน (ถ้ามี)
           ๓.๕ ไฟล์รูปถ่ายหน้าตรง ใส่ชุดสุภาพ ถ่ายไว้ไม่เกิน ๖ เดือน ในรูปแบบ jpg หรือ png ที่มีขนาดไม่เกิน ๒๐๐ kb

        ๔. การสมัครและการยื่นใบสมัคร ผู้ประสงค์จะสมัครงานสามารถกรอกใบสมัครลงในระบบ e-Recruitment Online
ที่ https://muhr.mahidol.ac.th/E-Recruitment ตั้งแต่บัดนี้ถึงวันที่ ๓o กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๔

        ๕. การประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิเข้ารับการคัดเลือก วัน เวลา และสถานที่ทำการคัดเลือก
           ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิเข้ารับการคัดเลือกภายในวันที่ ๒o กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๔ ที่ https://muhr.mahidol.ac.th/E-Recruitment

 
 
ประกาศ ณ วันที่         กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๔
 

รองอธิการบดี
รักษาการแทนผู้อำนวยการศูนย์สัตว์ทดลองแห่งชาติ




 



รายละเอียดแนบท้ายประกาศศูนย์สัตว์ทดลองแห่งชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล

ลงวันที่         กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๔


ตำแหน่ง นักวิทยาศาสตร์ จำนวน ๑ อัตรา
หน่วยงาน งานบริการวิชาการ
อายุไม่เกิน ๓๕ ปีนับถึงวันที่สมัคร
ประสบการณ์ o
คุณสมบัติของผู้สมัคร

๑. ได้รับคุณวุฒิวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาพันธุศาสตร์, ชีวเคมี, จุลชีววิทยา , วิทยาภูมิคุ้มกัน และ ชีวเคมีและชีววิทยาโมเลกุลทางการแพทย์ หรือสาขาวิชาวิทยาศาสตร์การแพทย์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง 

๒. เพศชายหรือหญิง (ถ้าเป็นเพศชายต้องผ่านการเกณฑ์ทหารแล้ว)

๓. มีความรู้ ความสามารถในการใช้คอมพิวเตอร์อย่างเหมาะสมแก่การปฏิบัติงาน

๔. มีความรู้ ความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษ และต้องไม่หมดอายุ ณ วันที่ยื่นใบสมัคร

    - TOEIC ไม่น้อยกว่า ๕๕o คะแนน หรือ

    - IELTS ไม่น้อยกว่า ๕.o คะแนน หรือ

    - TOEFL-iBT ไม่น้อยกว่า ๖๔ คะแนน หรือ

    - MU GRAD Plus ไม่น้อยกว่า ๗o คะแนน หรือ

    - MU ELT ไม่น้อยกว่า ๘๔ คะแนน    -

๕. หากมีประสบการณ์เกี่ยวกับเทคนิค PCR, Real-time PCR, Sites direct mutagenesis /การทำงานเกี่ยวกับการ design primer, SNP และ SSLP /การตรวจหาเชื้อในสัตว์ทดลองด้วยวิธี PCR /ความรู้เกี่ยวกับการหาความแปรผันของพันธุกรรมในสัตว์ทดลองกลุ่ม inbreeding และ outbreeding จะได้รับการพิจารณาเป็นพิเศษ

๖. สามารถปฏิบัติงานนอกเวลาราชการและวันหยุดได้     

ผ่านเกณฑ์ทดสอบภาษาอังกฤษที่มหาวิทยาลัยมหิดลกำหนด จะต้องได้คะแนนไม่ต่ำกว่าเกณฑ์อย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนี้
IELTS(Academic Module) คะแนนไม่ต่ำกว่า
TOEFL IBT คะแนนไม่ต่ำกว่า ๖๔
TOEFL ITP คะแนนไม่ต่ำกว่า
TOEFL CBT คะแนนไม่ต่ำกว่า
TOEIC คะแนนไม่ต่ำกว่า ๕๕o
MU GRAD Test คะแนนไม่ต่ำกว่า ๗o
GRAD PLUS คะแนนไม่ต่ำกว่า
MU ELT คะแนนไม่ต่ำกว่า
*** ผลคะแนนการทดสอบภาษาอังกฤษต้องมีอายุไม่เกิน ๒ ปี นับถึงวันยื่นใบสมัคร ***

ลักษณะงานที่ปฏิบัติ

๑. ตรวจสอบคุณภาพพันธุ์สัตว์ทดลองโดยใช้เทคนิค อณูชีววิทยา

๑.๑ วางแผน/ออกแบบการตรวจตรวจสอบพันธุกรรมของ กระต่ายและหนูตะเภา

๑.๒ จัดทำคู่มือ/ขั้นตอนการปฏิบัติการ (SOP) การตรวจสอบพันธุกรรมของ กระต่ายและหนูตะเภา

๑.๓ ทดสอบหาแบบแผน  SNP/SSLP ในของกระต่าย (Mlac:NZW) และหนูตะเภา (Mlac:DH) (Outbred Animal) และแปลผล

๑.๔ รับบริการตรวจสอบพันธุกรรมของ กระต่าย (Mlac:NZW) และหนูตะเภา (Mlac:DH)

๑.๕ ออกรายงานผลการตรวจวิเคราะห์

๒. การยืนยันผลการตรวจเชื้อก่อโรค เพื่อตรวจสอบสุขภาพสัตว์ทดลอง ด้วยวิธีทาง Molecular (Helicobacter)

๒.๑ จัดทำคู่มือ และทบทวนขั้นตอนการปฏิบัติการ (SOP) การตรวจหาสารพันธุกรรมของเชื้อไวรัส และเชื้อ Helicobacter ในสัตว์ทดลองปั่นแยกซีรั่มที่เป็นมาตรฐานการปฏิบัติงาน

๒.๒ ทำแผนการตรวจหาสารพันธุกรรมของเชื้อไวรัส และเชื้อ Helicobacter ในสัตว์ทดลองควบคุมสภาวะที่จัดเก็บเพื่อมั่นใจว่าคุณสมบัติ ของตัวอย่างไม่เปลี่ยนไปในระยะเวลาที่กำหนด

๒.๓ เก็บ และรักษาอวัยวะสัตว์ทดลอง และสกัดสารพันธุกรรม (DNA, RNA) ของเชื้อไวรัส และเชื้อ Helicobacter สำหรับตรวจหาสารพันธุกรรม

๒.๔ ตรวจหาพันธุกรรมของเชื้อไวรัส (DNA) ในสัตว์ทดลองด้วยวิธี PCR  และตรวจหาเชื้อ Helicobacter  ด้วยวิธี Nested-PCR และตรวจหาพันธุกรรมของเชื้อไวรัส (RNA) ในสัตว์ทดลองด้วยวิธี RT-PCR

๒.๕ ออกรายงานผลการทดสอบภูมิคุ้มกันในสัตว์ทดลอง สรุปรายงานผลการตรวจส่งกรรมการประจำศูนย์ และจัดเก็บข้อมูลอย่างเป็นระบบ

 

 

๓. ตรวจสอบคุณภาพพันธุ์สัตว์ทดลองโดยใช้เทคนิค อณูชีววิทยา

๓.๑ วางแผน/ออกแบบการตรวจตรวจสอบพันธุกรรมของ กระต่ายและหนูตะเภา

๓.๒ จัดทำคู่มือ/ขั้นตอนการปฏิบัติการ (SOP) การตรวจสอบพันธุกรรมของ กระต่ายและหนูตะเภา

๓.๓ ทดสอบหาแบบแผน  SNP/SSLP ในของกระต่าย (Mlac:NZW) และหนูตะเภา (Mlac:DH) (Outbred Animal) และแปลผล

๓.๔ รับบริการตรวจสอบพันธุกรรมของ กระต่าย (Mlac:NZW) และหนูตะเภา (Mlac:DH)

๓.๕ ออกรายงานผลการตรวจวิเคราะห์

 

๔. การยืนยันผลการตรวจเชื้อก่อโรค เพื่อตรวจสอบสุขภาพสัตว์ทดลอง ด้วยวิธีทาง Molecular (Helicobacter)

๔.๑ จัดทำคู่มือ และทบทวนขั้นตอนการปฏิบัติการ (SOP) การตรวจหาสารพันธุกรรมของเชื้อไวรัส และเชื้อ Helicobacter ในสัตว์ทดลองปั่นแยกซีรั่มที่เป็นมาตรฐานการปฏิบัติงาน

๔.๒ ทำแผนการตรวจหาสารพันธุกรรมของเชื้อไวรัส และเชื้อ Helicobacter ในสัตว์ทดลองควบคุมสภาวะที่จัดเก็บเพื่อมั่นใจว่าคุณสมบัติ ของตัวอย่างไม่เปลี่ยนไปในระยะเวลาที่กำหนด

๔.๓ เก็บ และรักษาอวัยวะสัตว์ทดลอง และสกัดสารพันธุกรรม (DNA, RNA) ของเชื้อไวรัส และเชื้อ Helicobacter สำหรับตรวจหาสารพันธุกรรม

๔.๔ ตรวจหาพันธุกรรมของเชื้อไวรัส (DNA) ในสัตว์ทดลองด้วยวิธี PCR  และตรวจหาเชื้อ Helicobacter  ด้วยวิธี Nested-PCR และตรวจหาพันธุกรรมของเชื้อไวรัส (RNA) ในสัตว์ทดลองด้วยวิธี RT-PCR

๔.๕ ออกรายงานผลการทดสอบภูมิคุ้มกันในสัตว์ทดลอง สรุปรายงานผลการตรวจส่งกรรมการประจำศูนย์ และจัดเก็บข้อมูลอย่างเป็นระบบ

๕. ธำรงรักษาระบบประกันคุณภาพของศูนย์สัตว์ทดลองแห่งชาติ

๖. ปฏิบัติงานอื่นๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย

หลักเกณฑ์การคัดเลือก

โดยการสอบแบบ presentation และสัมภาษณ์

อัตราเงินเดือนและสวัสดิการ

๒๓,๔๔o  บาท