![]() |
ประกาศคณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล |
เรื่อง ขยายเวลารับสมัครคัดเลือกบุคคลเพื่อบรรจุและแต่งตั้งเป็นพนักงานมหาวิทยาลัย (เงินงบประมาณ) |
------------------------------------- |
ด้วยมหาวิทยาลัยมหิดลมีความประสงค์จะรับสมัครคัดเลือกบุคคลเพื่อบรรจุเป็น พนักงานมหาวิทยาลัย (เงินงบประมาณ) ตำแหน่งอาจารย์ จำนวน ๑ อัตรา ปฏิบัติงาน คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ ๑. ตำแหน่งที่จะดำเนินการรับสมัครเพื่อคัดเลือก ตำแหน่งที่บรรจุปรากฏอยู่ในรายละเอียดแนบท้ายประกาศนี้ ๒. คุณสมบัติของผู้มีสิทธิสมัคร ผู้สมัครรับการคัดเลือกต้องมีคุณสมบัติทั่วไปตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยมหิดลว่าด้วยการบริหารงานบุคคลพนักงานมหาวิทยาลัย พ.ศ.๒๕๕๑ และมีคุณสมบัติเฉพาะตำแหน่งตามที่ระบุไว้ในรายละเอียดเกี่ยวกับการสอบแนบท้ายประกาศนี้
๓. เอกสารหลักฐานประกอบการสมัครในลักษณะของไฟล์อิเล็กทรอนิกส์(PDF)เท่านั้น
๔. การสมัครและการยื่นใบสมัคร ผู้ประสงค์จะสมัครงานสามารถกรอกใบสมัครลงในระบบ e-Recruitment Online
๕. การประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิเข้ารับการคัดเลือก วัน เวลา และสถานที่ทำการคัดเลือก
|
|
รายละเอียดแนบท้ายประกาศคณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ลงวันที่ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๖๕ |
|
ตำแหน่ง | อาจารย์(การเรียนการสอน เน้นกฎหมายการแพทย์และสาธารณสุข) จำนวน ๑ อัตรา |
หน่วยงาน | คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ |
อายุไม่เกิน | ปีนับถึงวันที่สมัคร |
ประสบการณ์ | สอนด้านนิติศาสตร์ หรือมีประสบการณ์ด้านการวิจัยโดยมีผลงานวิจัยหรือเคยนำเสนอผลงานทางวิชาการในการประชุมวิชาการระดับชาติหรือนานาชาติประเด็นปัญหากฎหมายทางด้านการแพทย์และสาธารณสุขร่วมสมัย อาทิ ปัญญาประดิษฐ์(AI ) โทรเวชกรรม (Telemedicine) การก่อการร้ายโดย ชีวทางการแพทย์ (Bioterrorism) โรคติดต่อ (Communicable Diseases) ระบาดวิทยา (Epidemiology) สเต็มเซลล์ (Stem Cell Research) การเปลี่ยนถ่ายอวัยวะ(Transplantation of Organs and Tissues ) เป็นต้น |
คุณสมบัติของผู้สมัคร |
คุณสมบัติของผู้สมัคร ๑. คุณวุฒิปริญญาเอกจากสถาบันที่ ก.พ. หรือ สกอ. รับรอง กรณีหากวุฒิการศึกษาในระดับต่าง ๆ ตามหลักสูตรการศึกษา ไม่อยู่ในเกณฑ์กำหนดของ ก.พ. ต้องมีหนังสือรับรองคุณวุฒิบุคคลเพื่อบรรจุเข้ารับราชการ และกำหนดอัตราเงินเดือนที่ควรได้รับ เป็นอำนาจหน้าที่ของ ก.พ.และสำนักงาน ก.พ.ตามนัยมาตรา ๘(๑๐) และมาตรา ๑๓(๑๑) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๑ โดยสำเร็จการศึกษาด้านนิติศาสตร์ ในสาขาดังนี้ ก. สาขากฎหมายเน้นกฎหมายการแพทย์และสาธารณสุข หรือสาขาที่ใกล้เคียง โดยมีวิทยานิพนธ์หรือเอกสารแสดงประสบการณ์ทางด้านงานวิจัยประกอบการสมัคร (ซึ่งต้องไม่ใช่งานวิจัยในชั้นเรียน) หรือ ข. สาขากฎหมายสาขาอื่น ๆ โดยมีผลงานวิชาการด้านกฎหมายตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ หรือมีประสบการณ์การสอนด้านกฎหมายการแพทย์และสาธารณสุข หรือมีประสบการณ์ ด้านการวิจัยที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายการแพทย์และสาธารณสุข โดยมีผลงานวิจัยหรือเคยนำเสนอผลงานทางวิชาการในการประชุมวิชาการระดับชาติหรือนานาชาติ ๒. มีผลงานทางวิชาการในสาขานิติศาสตร์ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ หรือมีประสบการณ์การสอนด้านนิติศาสตร์ หรือมีประสบการณ์ด้านการวิจัยโดยมีผลงานวิจัยหรือเคยนำเสนอผลงานทางวิชาการในการประชุมวิชาการระดับชาติหรือนานาชาติ โดยเฉพาะที่เกี่ยวกับประเด็นปัญหากฎหมายทางด้านการแพทย์และสาธารณสุขร่วมสมัย อาทิ ปัญญาประดิษฐ์ (AI ) โทรเวชกรรม (Telemedicine) การก่อการร้ายโดย ชีวทางการแพทย์ (Bioterrorism) โรคติดต่อ (Communicable Diseases) ระบาดวิทยา (Epidemiology) สเต็มเซลล์ (Stem Cell Research) การเปลี่ยนถ่ายอวัยวะ(Transplantation of Organs and Tissues ) เป็นต้น ๓. มีความสามารถในการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ในระดับดี - ดีมาก หรือมีความสามารถ ในการใช้ภาษาอังกฤษทุกทักษะในระดับดี - ดีมาก หรือเคยเป็นวิทยากรบรรยายพิเศษ จัดฝึกอบรมเป็นคณะทำงานหรือคณะกรรมการในโครงการระดับชาติหรือนานาชาติ หรือมีผลงานอื่น ๆ ที่เป็นนวัตกรรมที่ โดดเด่นทางด้านกฎหมายการแพทย์และสาธารณสุข ๔. ผ่านเกณฑ์ทดสอบภาษาอังกฤษที่มหาวิทยาลัยมหิดลกำหนด ผลภาษาอังกฤษไม่หมดอายุจนถึงวันได้รับการบรรจุแต่งตั้ง โดยจะต้องได้คะแนนไม่ต่ำกว่าเกณฑ์อย่างใดอย่างหนึ่งดังนี้ - IELTS (Academic Module) คะแนนรวมไม่ต่ำกว่า ๖ คะแนน หรือ - TOEFL IBT (Internet Based) ไม่ต่ำกว่า ๗๙ คะแนน หรือ - TOEFL ITP ไม่ต่ำกว่า ๕๕๐ คะแนน หรือ - TOEFL CBT ไม่ต่ำกว่า ๒๑๓ คะแนน หรือ - MU GRAD Test ไม่ต่ำกว่า ๘๐ คะแนน กรณีการทดสอบภาษาอังกฤษไม่เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด แต่เป็นไปตามเกณฑ์ดังต่อไปนี้ให้สามารถบรรจุและแต่งตั้งได้ดังนี้ ๑) เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอกขึ้นไป และมีผลคะแนนทดสอบภาษาอังกฤษก่อนเข้าศึกษา โดยผลคะแนนทดสอบภาษาอังกฤษมากกว่าหรือเท่ากับเกณฑ์ที่มหาวิทยาลัยกำหนด หรือ ๒) เป็นผู้สำเร็จการศึกษาจากหลักสูตรที่มีการเรียนการสอนเป็นภาษาอังกฤษ (หลักสูตรนานาชาติ) ในประเทศที่มีการใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาทางการ |
ผ่านเกณฑ์ทดสอบภาษาอังกฤษที่มหาวิทยาลัยมหิดลกำหนด จะต้องได้คะแนนไม่ต่ำกว่าเกณฑ์อย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนี้ |
IELTS(Academic Module) 1 | คะแนนไม่ต่ำกว่า | ๖ | |
TOEFL IBT | คะแนนไม่ต่ำกว่า | ๗๙ | |
TOEFL ITP | คะแนนไม่ต่ำกว่า | ๕๕o | |
TOEFL CBT | คะแนนไม่ต่ำกว่า | ๒๑๓ | |
MU GRAD Test | คะแนนไม่ต่ำกว่า | ๘o | |
MU GRAD PLUS | คะแนนไม่ต่ำกว่า | ๙o | |
CU-TEP | คะแนนไม่ต่ำกว่า | ๗๕ | |
TU-GET (Paper Based) | คะแนนไม่ต่ำกว่า | ๕๕o | |
TU-GET (Computer Based) | คะแนนไม่ต่ำกว่า | ๘o |
*** ผลคะแนนการทดสอบภาษาอังกฤษต้องมีอายุไม่เกิน ๒ ปี นับถึงวันยื่นใบสมัคร *** |
ลักษณะงานที่ปฏิบัติ | |||
|
|||
หลักเกณฑ์การคัดเลือก | |||
|
|||
อัตราเงินเดือนและสวัสดิการ | |||
|