ประกาศคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
เรื่อง ขยายเวลารับสมัครคัดเลือกบุคคลเพื่อบรรจุและแต่งตั้งเป็นพนักงานมหาวิทยาลัย (ชื่อส่วนงาน)
-------------------------------------

       ด้วยมหาวิทยาลัยมหิดลมีความประสงค์จะรับสมัครคัดเลือกบุคคลเพื่อบรรจุเป็น พนักงานมหาวิทยาลัย (ชื่อส่วนงาน) ตำแหน่งแพทย์ จำนวน ๒ อัตรา ปฏิบัติงาน หน่วยขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ผู้สูงอายุ Transitional Co-Care Team (TCC) ในโครงการ FAST3 คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล

        ๑. ตำแหน่งที่จะดำเนินการรับสมัครเพื่อคัดเลือก ตำแหน่งที่บรรจุปรากฏอยู่ในรายละเอียดแนบท้ายประกาศนี้

        ๒. คุณสมบัติของผู้มีสิทธิสมัคร ผู้สมัครรับการคัดเลือกต้องมีคุณสมบัติทั่วไปตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยมหิดลว่าด้วยการบริหารงานบุคคลพนักงานมหาวิทยาลัย พ.ศ.๒๕๕๑ และมีคุณสมบัติเฉพาะตำแหน่งตามที่ระบุไว้ในรายละเอียดเกี่ยวกับการสอบแนบท้ายประกาศนี้

        ๓. เอกสารหลักฐานประกอบการสมัครในลักษณะของไฟล์อิเล็กทรอนิกส์(PDF)เท่านั้น
           ๓.๑ สำเนาหลักฐานวุฒิการศึกษา
           ๓.๒ สำเนาใบรายงานผลการศึกษาฉบับสมบูรณ์
           ๓.๓ สำเนาคะแนนทดสอบภาษาอังกฤษ จำนวน ๑ ฉบับ (ตามเกณฑ์ผ่านการทดสอบภาษาอังกฤษที่มหาวิทยาลัยมหิดลกำหนด)
           ๓.๔ ใบรับรองการทำงาน (ถ้ามี)
           ๓.๕ ไฟล์รูปถ่ายหน้าตรง ใส่ชุดสุภาพ ถ่ายไว้ไม่เกิน ๖ เดือน ในรูปแบบ jpg หรือ png ที่มีขนาดไม่เกิน ๒๐๐ kb

        ๔. การสมัครและการยื่นใบสมัคร ผู้ประสงค์จะสมัครงานสามารถกรอกใบสมัครลงในระบบ e-Recruitment Online
ที่ https://muhr.mahidol.ac.th/E-Recruitment ตั้งแต่บัดนี้ถึงวันที่ ๓o พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๖๖

        ๕. การประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิเข้ารับการคัดเลือก วัน เวลา และสถานที่ทำการคัดเลือก
           ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิเข้ารับการคัดเลือกภายในวันที่ ๗ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๖ ที่ https://muhr.mahidol.ac.th/E-Recruitment

 
 
ประกาศ ณ วันที่         มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๖
 

(ศาสตราจารย์ นายแพทย์อภิชาติ อัศวมงคลกุล)
คณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล




 



รายละเอียดแนบท้ายประกาศคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล

ลงวันที่         มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๖


ตำแหน่ง แพทย์(ประจำโรงพยาบาล) จำนวน ๒ อัตรา
หน่วยงาน หน่วยขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ผู้สูงอายุ Transitional Co-Care Team (TCC) ในโครงการ FAST3
อายุไม่เกิน ๖o ปีนับถึงวันที่สมัคร
ประสบการณ์ ไม่จำเป็นต้องมีประสบการณ์
คุณสมบัติของผู้สมัคร

๑. ได้รับคุณวุฒิแพทยศาสตรบัณฑิตหรือเทียบได้ไม่ต่ำกว่านี้ และได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ สาขาอายุรศาสตร์ หรืออนุสาขาอายุรศาสตร์ผู้สูงอายุ หรืออนุสาขาอื่นๆ ของอายุรศาสตร์ หรือกำลังจะเสร็จสิ้นการฝึกอบรมภายในเวลาที่จะเริ่มปฏิบัติงาน  
๒. ไม่จำกัดเพศ (หากเป็นเพศชายต้องผ่านการเกณฑ์ทหารหรือได้รับการยกเว้น กรุณาแนบใบ ส.ด.๘ หรือ ส.ด.๔๓ ด้วย)
๓. อายุไม่เกิน ๖o ปีนับถึงวันรับสมัคร
๔. เป็นผู้ไม่บกพร่องในศีลธรรม จริยธรรมอันดี และไม่ต้องโทษคดีอาญา และไม่มีลักษณะต้องห้ามตามข้อ ๖ แห่งข้อบังคับมหาวิทยาลัยมหิดล ว่าด้วยการบริหารงานบุคคลพนักงานมหาวิทยาลัย พ.ศ. ๒๕๕๑ ประกอบกับกฎ ก.พ. ว่าด้วยโรค พ.ศ.๒๕๕๓

ผ่านเกณฑ์ทดสอบภาษาอังกฤษที่มหาวิทยาลัยมหิดลกำหนด จะต้องได้คะแนนไม่ต่ำกว่าเกณฑ์อย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนี้
IELTS(Academic Module) คะแนนไม่ต่ำกว่า
TOEFL IBT คะแนนไม่ต่ำกว่า ๒๙
TOEFL ITP คะแนนไม่ต่ำกว่า ๓๙o
TOEFL CBT คะแนนไม่ต่ำกว่า ๙o
TOEIC คะแนนไม่ต่ำกว่า ๔oo
MU GRAD Test คะแนนไม่ต่ำกว่า ๓๖
MU GRAD PLUS คะแนนไม่ต่ำกว่า ๔o
MU ELT คะแนนไม่ต่ำกว่า ๕๖
*** ผลคะแนนการทดสอบภาษาอังกฤษต้องมีอายุไม่เกิน ๒ ปี นับถึงวันยื่นใบสมัคร ***

ลักษณะงานที่ปฏิบัติ

๑. งานบริการทางการแพทย์
๑.๑ สามารถออกตรวจผู้ป่วยนอกเพื่อให้การวินิจฉัยและรักษาภาวะทางอายุรกรรมทั่วไปที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ เช่น โรคเบาหวาน, โรคความดันโลหิตสูง, โรคหัวใจและหลอดเลือด, โรคกระดูกพรุน 
๑.๒ สามารถร่วมออกตรวจเพื่อดูแลผู้ป่วยนอกสูงอายุที่มีกลุ่มอาการกลุ่มอาการผู้สูงอายุ (Geriatric syndrome) ได้ เช่น ภาวะถดถอยทางความสามารถในการใช้ชีวิตประจำวัน (functional decline), ภาวะซึมสับสนเฉียบพลัน (delirium), ภาวะเดินไม่มั่นคง (gait impairment), ภาวะหกล้ม (falls) หรือภาวะขาดสารอาหาร (malnutrition) เป็นต้น โดยมีอายุรแพทย์ผู้สูงอายุให้คำปรึกษา
๑.๓ สามารถร่วมดูแลผู้ป่วยสูงอายุในหอผู้ป่วยในทีมีภาวะทางอายุรกรรมร่วมกับกลุ่มอาการผู้สูงอายุ (Geriatric syndrome) เช่น ภาวะถดถอยทางความสามารถในการใช้ชีวิตประจำวัน (functional decline), ภาวะซึมสับสนเฉียบพลัน (delirium), ภาวะเดินไม่มั่นคง (gait impairment), ภาวะหกล้ม (falls) หรือ  ภาวะขาดสารอาหาร (malnutrition) เป็นต้น โดยมีอายุรแพทย์ผู้สูงอายุให้คำปรึกษา
๑.๔ เข้าร่วมกิจกรรมกิจกรรมการดูแลผู้สูงอายุแบบสหสาขาวิชาชีพ เช่น Multidisciplinary conference, family meeting, palliative care conference เป็นต้น
๑.๕ ติดตามผลการรักษา ประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการดูแลผู้ป่วยตาม Model of care
๑.๖ ติดตามผลความพึงพอใจของผู้ป่วยและญาติ
๒. งานวิจัย บริการวิชาการ และอื่น ๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย
๒.๑ ออกแบบการดูแลผู้ป่วยสูงอายุตาม model of care ต่าง ๆ ของโครงการในยุทธศาสตร์ผู้สูงอายุ เช่น Transitional Co-Care (TCC) และ โครงการที่เกี่ยวข้อง
๒.๒ ร่วมประชุมเพื่อพัฒนากระบวนการของ FAST๓ Initiative ๓ Holistic Transitional care team : to facilitate transitional and intermediate care models
๒.๓ ร่วมประชุมยุทธศาสตร์ผู้สูงอายุใน initiative ที่เกี่ยวข้อง
๒.๔ มีส่วนร่วมในการทำงานวิจัยของหน่วยขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ผู้สูงอายุ  เช่น เป็นผู้ร่วมโครงการวิจัย เป็นผู้เก็บข้อมูลหรือวิเคราะห์ข้อมูลวิจัย
๒.๕ มีส่วนร่วมในโครงการงานอบรมผู้ที่เกี่ยวข้องกับการดูแลผู้สูงอายุตามที่หน่วยขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ผู้สูงอายุจัดขึ้น 
๒.๖ จัดทำโครงการพัฒนาคุณภาพของหน่วยงาน และจัดเตรียมข้อมูลรองรับการเยี่ยมสำรวจภายใน เช่น ประชุม, ติดตาม, รองรับการเยี่ยมสำรวจ และสรุปผลการเยี่ยมสำรวจ
๒.๗ ประสานงานจัดประชุมคณะทำงาน คณะกรรมการต่างๆ และ บุคคล/หน่วยงาน ภายนอกคณะ

หลักเกณฑ์การคัดเลือก

สอบสัมภาษณ์

อัตราเงินเดือนและสวัสดิการ

๑. เงินเดือนตามคุณวุฒิ
๒. ค่าตอบแทนอื่นๆ ตามที่คณะกำหนด
๓. สิทธิสวัสดิการต่างๆตามประเภทการจ้างพนักงานมหาวิทยาลัยคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล