รายละเอียดตำแหน่งงาน

  • ตำแหน่งที่เปิดรับสมัคร :
    อาจารย์ (หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวัฒนธรรมศึกษา )
  • จำนวน :
    1 อัตรา
  • ประเภทบุคคล :
    พนักงานมหาวิทยาลัย
  • สังกัด :
    สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย
  • ปฏิบัติงาน :
    หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวัฒนธรรมศึกษา กลุ่มวิชาภาษา วัฒนธรรม การสื่อสาร และการพัฒนา สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย
  • เปิดรับสมัคร :
    16 มิถุนายน 2566
  • ปิดรับสมัคร :
    21 กรกฎาคม 2566
  • ประกาศรายชื่อ :
    27 กรกฎาคม 2566
  • วันที่นัดหมาย :
    -
  • วันที่รายงานตัว :
    -
  • ระดับการศึกษา :
    ปริญญาเอก
  • ประสบการณ์ :
    -
  • คุณสมบัติผู้สมัคร :

    คุณสมบัติทั่วไป :

    ๑. ไม่จำกัดเพศ (เพศชายต้องผ่านการเกณฑ์ทหารแล้ว หรือจบ ร.ด. ปี ๓)

    ๒. ไม่เคยถูกจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ

    คุณสมบัติเฉพาะตำแหน่ง (Required qualifications) :

    1. เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอกในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องกับ วัฒนธรรมศึกษา (Cultural Studies)  สังคมวิทยา (Sociology) มานุษยวิทยา  (Anthropology) มานุษยวิทยาประยุกต์ (Applied Anthropology) หรือสาขาใกล้เคียง หากมีความสามารถด้านการบูรณาการข้ามศาสตร์จะได้รับการพิจารณาเป็นพิเศษ

    ๒. มีประสบการณ์สอนหรือการบรรยายวิชาการในระดับอุดมศึกษา หรือเป็นผู้มีประสบการณ์ในการทำวิจัยในประเด็นวัฒนธรรมศึกษา สังคมวิทยา มานุษยวิทยา หรือสาขาที่ใกล้เคียง ควรมีผลงานวิจัย/หรืออยู่ระหว่างการพัฒนาผลงานเพื่อตีพิมพ์ทางวิชาการในด้านดังกล่าว

    ๓. มีความสามารถในการใช้ภาษาไทยในระดับดีมาก และภาษาอังกฤษตามเกณฑ์ที่กำหนด โดยมีผลคะแนน IELTS (Academic Module) คะแนนรวมไม่ต่ำกว่า ๖ คะแนน หรือ TOEFL IBT (Internet Based) คะแนนรวมไม่ต่ำกว่า ๗๙ คะแนน หรือ TOEFL- ITP คะแนนรวมไม่ต่ำกว่า ๕๕๐ คะแนน หรือ TOEFL- CBT คะแนนรวมไม่ต่ำกว่า ๒๑๓ คะแนน หรือ MU GRAD Test คะแนนรวมไม่ต่ำกว่า ๘๐ คะแนน และเป็นผลการสอบที่มีระยะเวลาไม่เกิน ๒ ปี นับถึงวันที่ยื่นใบสมัคร (แนบผลคะแนน ณ วันที่สมัคร)

    กรณี เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอกขึ้นไป และมีผลคะแนนทดสอบภาษาอังกฤษก่อนเข้าศึกษา โดยผลคะแนนทดสอบภาษาอังกฤษมากกว่าหรือเท่ากับเกณฑ์ที่กำหนดไว้ข้างต้น จะแนบผลคะแนนทดสอบภาษาอังกฤษก่อนเข้าศึกษาดังกล่าวแทนก็ได้  หรือ เป็นผู้สำเร็จการศึกษาจากหลักสูตรที่มีการเรียนการสอนเป็นภาษาอังกฤษ (หลักสูตรนานาชาติ) ในประเทศที่มีการใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาทางการ จะไม่แนบผลคะแนนทดสอบภาษาอังกฤษดังกล่าวก็ได้

    ๔. ผู้สมัครต้องเป็นผู้ไม่ติดเงื่อนไขการชดใช้ทุนกับหน่วยงานใด

    คุณสมบัติอื่นๆ ซึ่งจะได้รับการพิจารณาเป็นพิเศษ (Desirable qualifications)

    1. มีเครือข่ายทางวิชาการหรือวิชาชีพในต่างประเทศ
    2. มีประสบการณ์การทำงานหรือทำวิจัยเกี่ยวกับวัฒนธรรมแบบการบูรณาการข้ามศาสตร์
    3. มีความรู้และทักษะการใช้ภาษาที่สาม เช่น ภาษาในกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือกลุ่มประเทศยุโรป หรือประเทศอื่น ๆ ในระดับดี
    4. มีความสามารถในการใช้เทคโนโลยีในการสอน หรือสามารถสร้างนวัตกรรมในการจัดการเรียนการสอนได้

    หมายเหตุ: คุณสมบัติซึ่งจะได้รับการพิจารณาเป็นพิเศษ ไม่ได้เป็นคุณสมบัติที่ผู้สมัครจำเป็นต้องมีครบทุกข้อ แต่หากผู้สมัครมีคุณสมบัติดังกล่าว จะได้รับการพิจารณาเป็นพิเศษ

    General qualifications

    1. Applicant’s age is not over 45 by the application closure date (a Thai male applicant must have completed their military duties or completed their year 3 of Reserve Officer Training Corps training).

    2. Applicant has never been sentenced to imprisonment for a crime, unless it is a criminal negligence or a petty offense.

     

    Specific qualifications

     1. Applicant must hold a doctoral degree relating to cultural studies, sociology, anthropology, applied anthropology, or similar fields, and skills in interdisciplinary integration will be considered an advantage.

    2. Applicant must be experienced in teaching or lecturing at a higher education level, or have experience in conducting research relating to cultural studies, sociology, anthropology, or similar fields. Applicant should have published research papers/or be in the process of developing papers for academic publication.

    3. Applicant must be able to communicate in Thai and have qualified English language skills, which can be declared through successful results in the following schemes:

    - IELTS (Academic module): 6.0 or higher

    - TOEFL IBT (Internet based): 79 or higher

    - TOEFL ITP: 550 or higher

    - TOEFL CBT: 213 or higher

    - MU GRAD Test: 80 or higher

    Please note that the results declared must be within 2 years from the application closure date. If proof of English language proficiency is not declared, the university will not consider the submitted application.

    ​Remark: If an applicant has completed their doctoral studies or higher with proof of English language proficiency submitted when enrolling in the degree program, the same proof can be used for this application. If an applicant has completed their doctoral studies in English in a country where English is an official language, declaring English language proficiency can be exempted.

    4. Applicant must not be subject to conditions applied by any scholarship program.

    Desirable qualifications

    1. Applicant should have academic or professional networks in other countries.

    2. Applicant should have experience or cross-disciplinary integration skills for research.

    3. Apart from English, applicant should possess knowledge and good skills using another language, preferably an ASEAN or European language.

    4. Applicant should have the ability to use technology in teaching, or the ability to create teaching innovations for teaching and learning management

    Note: These qualifications will be considered as an advantage; they are not requirements.

  • การทดสอบภาษาอังกฤษ :
    ผ่านเกณฑ์ทดสอบภาษาอังกฤษที่มหาวิทยาลัยมหิดลกำหนด จะต้องได้คะแนนไม่ต่ำกว่าเกณฑ์อย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนี้
    IELTS(Academic Module)
    คะแนนไม่ต่ำกว่า
    6
    TOEFL IBT
    คะแนนไม่ต่ำกว่า
    79
    TOEFL ITP
    คะแนนไม่ต่ำกว่า
    550
    TOEFL CBT
    คะแนนไม่ต่ำกว่า
    213
    MU GRAD TEST
    คะแนนไม่ต่ำกว่า
    80
    MU GRAD PLUS
    คะแนนไม่ต่ำกว่า
    90
    โดยผลคะแนนการทดสอบภาษาอังกฤษต้องมีอายุไม่เกิน 2 ปี นับถึงวันยื่นใบสมัคร
  • หน้าที่ความรับผิดชอบ :

    หน้าที่รับผิดชอบโดยย่อ: ปฏิบัติงานหลักเกี่ยวกับการเรียนการสอน งานวิจัย และบริการวิชาการ การให้คำปรึกษาในการทำวิทยานิพนธ์/สารนิพนธ์ของนักศึกษาในหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวัฒนธรรมศึกษา และสาขาวิชาพิพิธภัณฑศึกษา ทำผลงานวิชาการ อาทิ ตีพิมพ์เผยแพร่ ผลงานวิจัยและวิชาการ หนังสือ บริการวิชาการ และปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่ได้รับมอบหมาย

     

    Responsibilities

    Carry out research, teaching and the mentoring of students, as well as academic services in the relevant cultural field - especially in the field of museum studies - produce academic works for publication, research and other academic production, books, academic services, and perform other duties as assigned.

  • หลักเกณฑ์การคัดเลือก :

                 ๑. ผู้สมัครจัดทำและนำเสนอแผนการสอน (course syllabus) ในวิชาใดวิชาหนึ่งของหลักสูตรฯ ที่สะท้อนประเด็นที่ตเชี่ยวชาญ/สนใจ มิติทางสังคมวัฒนธรรมในปัจจุบันและแนวโน้มอนาคต และความเชื่อมโยงกับแนวคิดหลักและกระบวนการทำงานวิจัยด้านวัฒนธรรมศึกษา จำนวน ๑ วิชา โดยระบุเนื้อหา/หัวข้อการสอนแต่ละครั้ง เอกสารสำหรับนักศึกษาอ่านประกอบในแต่ละครั้ง การวัดผลและประเมินผลการเรียน (ทั้งหมด ๔๕ ชั่วโมง โดยอาจแบ่งเป็นสัปดาห์ละ ๓ ชั่วโมง ๑๕ สัปดาห์ หรือปรับตามความเหมาะสม) โดยมีรายชื่อวิชาเพื่อเลือกวิชาใดวิชาหนึ่งสำหรับนำเสนอแผนการสอนดังนี้

    แนวคิดหลักทางด้านวัฒนธรรมศึกษา

                 ภาพรวมและความหลากหลายของแนวทางการศึกษาและนิยามวัฒนธรรม คุณค่าและการจัดประเภทวัฒนธรรม วัฒนธรรมประจำชาติ รสนิยมและชนชั้น วัฒนธรรมในชีวิตประจำวัน การศึกษาวัฒนธรรมผ่านมุมมองยุคหลังอาณานิคมนิยม การเมืองเรื่องของอัตลักษณ์และเพศสภาพ อัตลักษณ์กลุ่มชาติพันธุ์ มานุษยวิทยากับการพัฒนา วัฒนธรรมสุขภาพ วัฒนธรรมกับดนตรี ประวัติศาสตร์วัฒนธรรมผ่านวงศาวิทยา วาทกรรม การสร้างข้อเท็จจริงผ่านสื่อ ปรากฏการณ์นิยมและความเป็นตัวตนยุคหลังสมัยใหม่ ปรากฏการณ์นิยมกับพื้นที่จัดแสดงและวัฒนธรรมการมีส่วนร่วม

    ทฤษฎีเชิงวิพากษ์ทางวัฒนธรรมศึกษา

                 พัฒนาการและข้อถกเถียงของทฤษฎีเชิงวิพากษ์ร่วมสมัยที่เกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมศึกษา คุณค่าและสิทธิที่เกี่ยวข้องกับความหลากหลายทางวัฒนธรรม ความสัมพันธ์ระหว่างวัฒนธรรมศึกษากับภาวะสมัยใหม่ ภาวะหลังสมัย ใหม่ หลังโครงสร้างนิยม และเศรษฐศาสตร์การเมือง แนวโน้มใหม่ในการศึกษาร่างกายและการเมืองเรื่องอัตลักษณ์ ปฏิสัมพันธ์ทางวัฒนธรรมของพื้นที่เมืองและชนบท วัฒนธรรมร่วมสมัยและอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ การเคลื่อนย้าย ความพรมแดนและพหุวัฒนธรรมผ่านทฤษฎีวิพากษ์

    ความหลากหลายทางเพศสภาพกับการเคลื่อนไหวทางสังคม

                 ประวัติศาสตร์สังคมและความหลากหลายทางเพศสภาพ สิทธิทางวัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกับเพศสภาพ
    และองค์กรที่เกี่ยวข้อง ทฤษฎีเชิงวิพากษ์ พัฒนาการ และข้อโต้แย้งสำคัญของนักวิชาการและนักเคลื่อนไหวในแนวสตรีนิยม บทบาทและการเคลื่อนไหวทางสังคมที่เกี่ยวข้องกับความหลากหลายทางเพศเพื่อแก้ไขปัญหาความไม่เท่าเทียมกันผ่านมิติความหลากหลายทางเพศสภาพ

                 ๒. ผู้สมัครคัดเลือกผลงานวิชาการของท่านมานำเสนอ และเสวนากับคณะกรรมการฯ

                ๓. การสอบสัมภาษณ์ โดยพิจารณาจากคุณสมบัติทางวิชาการ ความสามารถในการถ่ายทอดความรู้

     

    Selection Criteria

    1. Applicant presents a lesson plan (course syllabus) for one of the courses listed below which reflects the issues of their expertise/interest in current socio-cultural dimensions and future trends and linked to principles and research work processes in cultural studies (45 hours total, which may be divided into 3 hours per week, 15 weeks or adjusted as appropriate). The list of subjects to choose from for presenting the lesson plan is as follows:

     Principle Concepts in Cultural Studies

    Overview and various definitions and approaches to cultures; cultural studies through the lens of power, discourse and signs; understanding cultural phenomena related to everyday practices; issues of class, race and gender.

     

    Critical Theory in Cultural Studies

    Developments and current debates on contemporary critical theory in relation to Cultural Studies, new trends of philosophical thoughts in analyzing culture and multi-cultures, culture as a tool for ideological construction, culture as politics, the theoretical issues and impacts of globalization and transnational cultures, postcolonial discourses and changes, culture and negotiations of meanings in different social contexts, cultural rights, gender and the Otherness, changes in social life within urbanized society, media and messages in digital society, critical debates on state cultural policies.

    Gender Diversity and Social Movement

    Social history and sexual diversity; cultural rights in relation to sexuality and related organizations; critical theory; key development and debates from feminist academics and activists; roles and social movements towards gender diversity to solve inequality problems through the lens of sexual diversity

     2. Applicant makes a presentation based on their previous research, prospective research or dissertation.

    3. Applicant is interviewed by the selection committee. The selection criteria include academic qualifications, pedagogical skills, vision and personality suitable for the lecturer position.

  • อัตราเงินเดือนและสวัสดิการ :

    อัตราเงินเดือน : คุณวุฒิปริญญาเอก ๓๒,๔๕๐ บาท (ยังไม่รวมเงินเพิ่มหากมีประสบการณ์ตรงที่เป็นประโยชน์ในการปฏิบัติหน้าที่)

    การรักษาพยาบาล  สิทธิกองทุนประกันสังคม/กองทุนเงินทดแทน/กองทุนพนักงานมหาวิทยาลัย

    สวัสดิการต่างๆ สำหรับบุคลากรภายในสถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย

     

    Benefits

    Salary rate: The rate for a doctoral degree holder is 32,450 baht. The successful candidate’s prior academic experience directly related to the position may qualify for a supplement to the base salary.

    Other:  Social security fund and health services for Mahidol University’s employees.

     

  • หมายเหตุ :
    -
  • ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม :
    0 2800 2308-14ต่อ 3207
  • เอกสารประกอบ :
    อ่านประกาศ   ดาวน์โหลดประกาศ
  • รายชื่อผู้มีสิทธิ์เข้าสอบข้อเขียน :
    ดาวน์โหลดประกาศ
  • รายชื่อผู้มีสิทธิ์เข้าสอบสัมภาษณ์ :
    อ่านประกาศ   ดาวน์โหลดประกาศ
  • รายชื่อผู้ผ่านการคัดเลือก :
    อ่านประกาศ   ดาวน์โหลดประกาศ