Research Institute for Languages and Cultures of Asia Mahidol University Announcement
Application for University Employee Officer, Mahidol University
-------------------------------------

          Mahidol University has opening for the position of Instructor 1 position to work at หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวัฒนธรรมศึกษา กลุ่มวิชาภาษา วัฒนธรรม การสื่อสาร และการพัฒนา Research Institute for Languages and Cultures of Asia
Qualifications

คุณสมบัติของผู้สมัคร 

คุณสมบัติทั่วไป :

๑. ไม่จำกัดเพศ (เพศชายต้องผ่านการเกณฑ์ทหารแล้ว หรือจบ ร.ด. ปี ๓)

๒. ไม่เคยถูกจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ

คุณสมบัติเฉพาะตำแหน่ง (Required qualifications) :

คุณสมบัติเฉพาะตำแหน่ง (Required qualifications) :

๑. เป็นผู้สำเร็จการศึกษาปริญญาเอก ในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจสร้างสรรค์ วัฒนธรรมดิจิทัล สื่อศึกษา การออกแบบเมือง หรือสาขาใกล้เคียง (related fields) หากมีความรู้หรือประสบการณ์ด้านการบริหารธุรกิจ โดยเฉพาะธุรกิจงานวัฒนธรรม จะได้รับการพิจารณาเป็นพิเศษ

๒. มีประสบการณ์สอน การบรรยายวิชาการ หรือการทำวิจัยในระดับอุดมศึกษา ว่าด้วยประเด็นสังคม วัฒนธรรมศึกษา หรือวัฒนธรรมร่วมสมัยที่เชื่อมโยงกับวัฒนธรรมศึกษา หรือมีผลงานวิจัยที่ตีพิมพ์แล้วหรืออยู่ระหว่างการพัฒนาผลงานเพื่อตีพิมพ์ทางวิชาการ

๓. มีความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษตามเกณฑ์ที่กำหนด โดยมีผลคะแนน IELTS (Academic Module) คะแนนรวมไม่ต่ำกว่า ๖ คะแนน หรือ TOEFL IBT (Internet Based) คะแนนรวมไม่ต่ำกว่า ๗๙ คะแนน หรือ TOEFL- ITP คะแนนรวมไม่ต่ำกว่า ๕๕๐ คะแนน หรือ TOEFL- CBT คะแนนรวมไม่ต่ำกว่า ๒๑๓ คะแนน หรือ MU GRAD Test คะแนนรวมไม่ต่ำกว่า ๘๐ คะแนน และเป็นผลการสอบที่มีระยะเวลาไม่เกิน ๒ ปี นับถึงวันที่ยื่นใบสมัคร (แนบผลคะแนน ณ วันที่สมัคร)

กรณี เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอกขึ้นไป และมีผลคะแนนทดสอบภาษาอังกฤษก่อนเข้าศึกษา โดยผลคะแนนทดสอบภาษาอังกฤษมากกว่าหรือเท่ากับเกณฑ์ที่กำหนดไว้ข้างต้น จะแนบผลคะแนนทดสอบภาษาอังกฤษก่อนเข้าศึกษาดังกล่าวแทนก็ได้ หรือเป็นผู้สำเร็จการศึกษาจากหลักสูตรที่มีการเรียนการสอนเป็นภาษาอังกฤษ (หลักสูตรนานาชาติ) ในประเทศที่มีการใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาทางการ จะไม่แนบผลคะแนนทดสอบภาษาอังกฤษดังกล่าวก็ได้

๔. ผู้สมัครต้องเป็นผู้ไม่ติดเงื่อนไขการชดใช้ทุนกับหน่วยงานใด

คุณสมบัติอื่นๆ ซึ่งจะได้รับการพิจารณาเป็นพิเศษ (Desirable qualifications)

๑. มีเครือข่ายทางวิชาการในต่างประเทศ หรือประสบการณ์ทำวิจัยทางด้านพหุภาษา พหุวัฒนธรรม ในภูมิภาคเอเชียหรืออาเซียน สนใจการทำงานในเชิงเปรียบเทียบ หรือประเด็นการวิจัยข้ามชาติ

๒. มีความรู้และทักษะการใช้ภาษาที่สาม เช่น ภาษาในกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือกลุ่มประเทศยุโรป หรือประเทศอื่น ๆ ในระดับดี

๓. มีความสามารถในการใช้เทคโนโลยีในการวิจัยสมัยใหม่ หรือสามารถใช้โปรแกรมใหม่ ๆ ในการวิเคราะห์ข้อมูลสำหรับงานวิจัยด้านวัฒนธรรมศึกษา

๔. มีความสามารถหรือมีประสบการณ์ในการทำงานวิจัยในเชิง mixed methods/digital research/big data qualitative research

๕. มีประสบการณ์ทำงานวิจัยด้านการบริหารจัดการ ความเป็นผู้ประกอบการ เศรษฐกิจฐานวัฒนธรรม

หมายเหตุ: คุณสมบัติซึ่งจะได้รับการพิจารณาเป็นพิเศษ ไม่ได้เป็นคุณสมบัติที่ผู้สมัครจำเป็นต้องมีครบทุกข้อ แต่หากผู้สมัครมีคุณสมบัติดังกล่าว จะได้รับการพิจารณาเป็นพิเศษ

 

Specific qualifications

1. Applicant must hold a doctoral degree in the field of creative industries and digital economy, media studies, urban design or related field. Experience in business administration, especially in the field of cultural business, will be an advantage.

2. Applicant should have teaching experience and research skills at the higher education level on social issues, cultural studies or contemporary culture that is linked to cultural studies, or have research papers that have already been published, or be in the process of developing a paper for academic publication.

3. Applicant must have good English language skills, which can be declared through successful results in the following schemes:

- IELTS (Academic module): 6.0 or higher

- TOEFL IBT (Internet based): 79 or higher

- TOEFL ITP: 550 or higher

- TOEFL CBT: 213 or higher

- MU GRAD Test: 80 or higher

Please note that the results declared must be within 2 years from the application closure date. If proof of English language proficiency is not declared, the university will not consider the submitted application.

Remark: If applicant has completed their doctoral studies or higher with proof of English language proficiency submitted when enrolling in the degree program, the same proof can be used for this application. If applicant has completed their doctoral studies in English in a country where English is an official language, declaring English language proficiency can be exempted.

4. Applicant must not be subject to conditions applied by any scholarship program.

Desirable qualifications

1. Applicant should have academic networks in foreign countries or experience doing research in multi-lingual and multicultural areas in Asia or ASEAN and be interested in comparative work or transnational research issues

2. Apart from English, applicant should possess knowledge and good skills using another language, preferably an ASEAN or European language.

3. Applicant should have the ability to use technology in modern research, such as new data analysis programs that can be used for cultural studies research.

4. Applicant should have experience or ability to conduct mixed methods/ digital/ big data qualitative research.

5. Applicant should have experience working in management research, entrepreneurship and cultural economy

Note: These qualifications will be considered an advantage; they are not requirements.

Applicants must submit one of the English proficiency scores mentioned in the below
LELTS(Academic Module) apply criteria 6
TOFEL IBT apply criteria 79
TOFEL ITP apply criteria 550
TOFEL CBT apply criteria 213
MU GRAD Test apply criteria 80
(The English proficiency score must br 2-year validity up to the application date)

Job Description

ลักษณะงานที่ปฏิบัติ

              หน้าที่รับผิดชอบโดยย่อ: ปฏิบัติงานหลักเกี่ยวกับการเรียนการสอน การให้คำปรึกษาในการทำวิทยานิพนธ์/สารนิพนธ์ของนักศึกษาในหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวัฒนธรรมศึกษา รวมถึงสาขาพิพิธภัณฑศึกษา (ในอนาคต) ผลิตผลงานวิชาการ อาทิ ตีพิมพ์เผยแพร่ ผลงานวิจัยและวิชาการ หนังสือ บริการวิชาการ และปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่ได้รับมอบหมาย

 

Responsibilities

Carry out research, teaching and the mentoring of students, as well as academic services in the relevant cultural field - especially in the field of museum studies - produce academic works for publication, research and other academic production, books, academic services, and perform other duties as assigned.

Selection process

หลักเกณฑ์การคัดเลือก

              ๑. ผู้สมัครนำเสนอแผนการสอน (course syllabus) ในวิชาใดวิชาหนึ่งของหลักสูตรฯ ที่สะท้อนประเด็นที่ตนเชี่ยวชาญ/สนใจ มิติทางสังคมวัฒนธรรมในปัจจุบันและแนวโน้มอนาคต และความเชื่อมโยงกับแนวคิดหลักและกระบวนการทำงานวิจัยด้านวัฒนธรรมศึกษา จำนวน ๑ วิชา โดยระบุเนื้อหา/หัวข้อการสอนแต่ละครั้ง เอกสารสำหรับนักศึกษาอ่านประกอบในแต่ละครั้ง การวัดผลและประเมินผลการเรียน (ทั้งหมด ๔๕ ชั่วโมง โดยอาจแบ่งเป็นสัปดาห์ละ ๓ ชั่วโมง ๑๕ สัปดาห์ หรือปรับตามความเหมาะสม) โดยมีรายชื่อวิชาเพื่อเลือกวิชาใดวิชาหนึ่งสำหรับนำเสนอแผนการสอนดังนี้

 

แนวคิดหลักทางด้านวัฒนธรรมศึกษา

ภาพรวมและความหลากหลายของแนวทางการศึกษาและนิยามวัฒนธรรม คุณค่าและการจัดประเภทวัฒนธรรม วัฒนธรรมประจำชาติ รสนิยมและชนชั้น วัฒนธรรมในชีวิตประจำวัน การศึกษาวัฒนธรรมผ่านมุมมองยุคหลังอาณานิคมนิยม การเมืองเรื่องของอัตลักษณ์และเพศสภาพ อัตลักษณ์กลุ่มชาติพันธุ์ มานุษยวิทยากับการพัฒนา วัฒนธรรมสุขภาพ วัฒนธรรมกับดนตรี ประวัติศาสตร์วัฒนธรรมผ่านวงศาวิทยา วาทกรรม การสร้างข้อเท็จจริงผ่านสื่อ ปรากฏการณ์นิยมและความเป็นตัวตนยุคหลังสมัยใหม่ ปรากฏการณ์นิยมกับพื้นที่จัดแสดงและวัฒนธรรมการมีส่วนร่วม

ฝึกปฏิบัติ

วิธีวิทยาและกระบวนการในการวิจัยเกี่ยวกับวัฒนธรรมศึกษา วิจัยที่หลากหลายในการศึกษาวัฒนธรรม การเลือกสรรแนวทางการวิจัย การปฏิบัติการวิจัยทางชาติพันธุ์วรรณาแนววิพากษ์และมานุษยวิทยาทัศนา การปฏิบัติการวิจัยในรูปแบบปรากฏการณ์วิทยา การปฏิบัติการวิจัยในแนวสัญญวิทยาและการวิเคราะห์วาทกรรม การปฏิบัติการวิจัยทางแบบเรื่องเล่า การปฏิบัติการวิจัยทางเชิงปฏิบัติการ การปฏิบัติการวิจัยแบบผสมผสาน ประเด็นทางจริยธรรมในการวิจัยทางวัฒนธรรม

การออกแบบการวิจัยทางวัฒนธรรมศึกษา

ปรัชญาและกระบวนทัศน์ในการวิจัย หลากหลายทิศทางในการทำวิจัยเกี่ยวกับวัฒนธรรมความรู้ที่แตกต่างกันจากวิธีการวิจัยที่หลากหลายประเภท โครงสร้างของโครงร่างวิจัย โจทย์วิจัย การทบทวนวรรณกรรม การกำหนดขอบเขตการวิจัย และการคำนึงถึงข้อจำกัดในการวิจัย การวางแผนการวิจัย จริยธรรมในการทำงานวิจัย

ทฤษฎีเชิงวิพากษ์ทางวัฒนธรรมศึกษา

พัฒนาการและข้อโต้แย้งของทฤษฎีเชิงวิพากษ์ร่วมสมัยที่เกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมศึกษา แนวโน้มใหม่ของปรัชญาความคิดในการวิเคราะห์วัฒนธรรมและพหุวัฒนธรรม วัฒนธรรมในฐานะที่เป็นเครื่องมือในการสร้างอุดมการณ์ วัฒนธรรมในฐานะการเมือง ประเด็นทางทฤษฎีและอิทธิพลของโลกาภิวัตน์และวัฒนธรรมข้ามแดน วาทกรรมหลังอาณานิคมและการเปลี่ยนแปลง วัฒนธรรมกับการต่อรองความหมายในบริบททางสังคมที่หลากหลาย สิทธิทางวัฒนธรรม เพศสภาพและความเป็นอื่น การเปลี่ยนแปลงวิถีสังคมในสังคมเมือง สื่อและสารในสังคมดิจิทัล การวิพากษ์นโยบายรัฐด้านวัฒนธรรม

นโยบายวัฒนธรรมเชิงวิพากษ์         

ความเป็นมาของโครงสร้างการกำหนดนโยบายและกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับยุทธศาสตร์ด้านวัฒนธรรมแห่งชาติและนานาชาติในบริบทโลกและการศึกษาเชิงเปรียบเทียบ การกำหนดกรอบยุทธศาสตร์การพัฒนาวัฒนธรรมระหว่างประเทศ การวิเคราะห์นโยบายการพัฒนาวัฒนธรรมและเศรษฐกิจในประเทศกำลังพัฒนา บทบาทขององค์กรระดับโลกกับการกำหนดนโยบายวัฒนธรรมโลก จุดเปลี่ยนสำคัญในการกำหนดนโยบายวัฒนธรรมและผลกระทบของนโยบายวัฒนธรรมประเทศต่าง ๆ

ความสัมพันธ์ทางวัฒนธรรมของชนบทกับเมือง

แนวคิดเชิงวิพากษ์เกี่ยวกับวัฒนธรรมความเป็นเมืองและชนบท ปัญหา เงื่อนไข และปัจจัยเกี่ยวกับนโยบายวัฒนธรรมชุมชน วาทกรรมการพัฒนาในบริบทประเทศไทย อัตลักษณ์ความเป็นเมืองและชนบทและการแสดงออกทางวัฒนธรรม งานศิลปะในท้องถิ่นที่หลากหลาย  การใช้เทคโนโลยีดิจิทัลและวัฒนธรรมการมีส่วนร่วม แนวทางการกำหนดนโยบายวัฒนธรรมและการพัฒนาที่สอดคล้องกับความต้องการของชุมชน แนวคิดเรื่องเทศะรังสรรค์ เศรษฐกิจสร้างสรรค์และสังคมที่ยั่งยืน

การออกแบบเพื่อชุมชน

แนวคิดและหลักการการออกแบบ การไตร่ตรองจากการปฏิบัติจากการทำงานกับชุมชนเมืองและชนบท ความเป็นผู้ประกอบการวัฒนธรรม การเรียนรู้จากโลกแห่งชีวิตจริงและโลกดิจิทัล การเรียนรู้จากสถานประกอบการและชุมชน

การประกอบกิจการสร้างสรรค์ทางวัฒนธรรม 

แนวคิดหลักในการออกแบบและพัฒนาธุรกิจจากทุนทางวัฒนธรรม คุณลักษณะของผู้ประกอบการเชิงสร้างสรรค์ ความเข้าใจในระบบนิเวศผู้ประกอบการเชิงสร้างสรรค์ ทักษะการบริหารองค์กร การประเมินผลประกอบ การทางธุรกิจ กลยุทธ์ทางการตลาดและการหาแหล่งเงินทุน

ผู้ประกอบการพิพิธภัณฑ์

ความเป็นผู้ประกอบการ แนวคิดในการออกแบบและจัดการพิพิธภัณฑ์เชิงธุรกิจ การทำความเข้าใจผู้ชม การทำเส้นทางผู้ชม การสร้างคุณค่า การเขียนประพจน์เชิงคุณค่า การวางแผนทางการเงิน การตลาด การวางแผนกลยุทธ์ทางธุรกิจ การประเมินความคุ้มค่าในการลงทุน และการตอบแทนการลงทุนเชิงสังคม

  •  

ความหมายสาธารณศิลป์ กระบวนการการสร้างสรรค์ การสร้างความหมาย พื้นที่สาธารณะ การจัดแสดง ความร่วมมือระหว่างศิลปินและชุมชน ภูมิทัศน์วัฒนธรรม การออกแบบเมืองหรือชุมชนที่หลากหลาย การฟื้นฟูสภาพแวดล้อมด้วยศิลปกรรม การปรับปรุงภาพลักษณ์ชุมชน การสนับสนุนกิจกรรมของชุมชม การส่งเสริมความรู้สึกของการเป็นชุมชน ความตระหนักรู้ถึงอัตลักษณ์ท้องถิ่น การส่งเสริมการพัฒนาเครือข่ายทางสังคม การบูรณาการทางสังคม กระบวนการมีส่วนร่วม วิธีการให้ความรู้และการกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคม สุนทรียศาสตร์เชิงสัมพันธ์ การทำงานร่วมกันอย่างสร้างสรรค์ การส่งเสริมความหลากหลายทางวัฒนธรรมของชุมชน

จดหมายเหตุภาพยนตร์ ข้อมูลดิจิทัล และความทรงจำวัฒนธรรม 

แนวคิดประวัติศาสตร์นิพนธ์กับการสร้างองค์ความรู้ใหม่ในวัฒนธรรมภาพยนตร์ การศึกษาวัฒนธรรมภาพยนตร์กับแนวคิดความทรงจำวัฒนธรรมเพื่อการวิเคราะห์เนื้อหาและวาทกรรม แนวทางการเก็บข้อมูลและวิเคราะห์วัฒนธรรมภาพยนตร์ วัฒนธรรมการมีส่วนร่วมออนไลน์ ความทรงจำวัฒนธรรมผ่านจดหมายเหตุภาพยนตร์และข้อมูลดิจิทัลในรูปแบบต่าง ๆ การทำงานกับเอกสารที่หอจดหมายเหตุด้านภาพยนตร์

              ๒. ผู้สมัครคัดเลือกผลงานวิชาการของท่านมานำเสนอ และเสวนากับคณะกรรมการฯ

              ๓. การสอบสัมภาษณ์ โดยพิจารณาจากคุณสมบัติทางวิชาการ ความสามารถในการถ่ายทอดความรู้

 

Selection Criteria

1. Applicant presents a lesson plan (course syllabus) for one of the courses listed below which reflects the issues of their expertise/interest in current socio-cultural dimensions and future trends, and linked to principles and research work processes in cultural studies, including the following: 1) course description, 2) course learning outcomes, 3) topics for 15 lectures, 4) reading and literature for each lecture, 5) course evaluation and criteria , and 6) classroom activities and other necessary information (45 hours total, which may be divided into 3 hours per week, 15 weeks or adjusted as appropriate). The list of subjects to choose from for presenting the lesson plan is as follows:

Principle Concepts in Cultural Studies

Overview and various definitions and approaches to cultures; cultural studies through the lens of power, discourse and signs; understanding cultural phenomenon related to everyday practices; issues of class, race and gender

Practicum

Methods and approaches in conducting cultural studies-related research, different methods in studying cultures, selecting a research method, research practicality in critical ethnography and visual anthropology, research practicality in phenomenology, research practicality in semiotics and discourse analysis, research practicality in narrative research, research practicality in action research, research practicality in mixed method research, ethical issues in cultural research

Research Design in Cultural Studies

Philosophy and paradigms in conducting research; different directions of conducting research in relation to culture; different forms of knowledge from multiple research methods; research proposal structure, research questions, literature review, research planning, setting the scope of research, consideration of research limitations and research ethics.

Critical Theory in Cultural Studies

Development and debates about contemporary critical theory in relation to cultural studies; the relationship between cultural studies and modern and postmodern conditions, post-structuralism and political economy; new trends in the study of media, art, culture, and multiculturalism through the lens of critical theory

 

 

Critical Cultural Policies

Background of policy structure and relevant legal frameworks in relation to national and international cultural strategies and comparative studies; outlining of cultural development strategies between nations; analysis of cultural and economic development policies in developing countries; roles of international organizations in shaping global cultural policy, critical points in cultural policies and impacts of cultural policies from different countries

Rural-Urban Cultural Relations

Critical concepts in relation to urban and rural spaces; problems, conditions and factors in community cultural policy; discourse on cultural development in the Thai context; urban and rural identities and cultural expressions; art practices in different cultural spaces; digital technology and participatory cultures; guidelines on developing cultural policies and development that meet community needs; place making concept, creative economy and sustainable society

Community Design

Concepts and principles of design; reflection-inaction from working with urban and rural communities; cultural entrepreneurism; learning from reality and digital world; workplace-based and community-based learning

Cultural & Creative Entrepreneurship

               Key concepts of business design and development from cultural capital; creative entrepreneurial characteristics; understanding of creative entrepreneurial ecosystem; organizational management skills; business outcome evaluation; marketing and fund-raising strategies

Museum Entrepreneurship

Concepts in designing and managing a museum business; understanding the audience; creating a path, value creation, value proposition, financial planning, marketing, business strategies, planning investment, assessment and return on social investment

Public Art

Meanings of public art, creative process, meaning-making, public space, exhibition; collaboration between artists and community; cultural landscape, urban design and diverse communities, restoring the environment through art; improving community environment; support for community activities; community inclusion support; awareness of cultural identities; social networks support; social integration; process of participation; knowledge sharing and social change; relational aesthetics; collaborative creativity; support for diverse community cultures

Film Archive, Digital Data and Cultural Memories

Concept of historiography and a creation of new knowledge in film culture, the study of film culture and concept of cultural memory for content and discourse analysis; approaches to data collection and data analysis; online participatory cultures; cultural memories through film archives and other different forms of digital data; working with archival materials at film-related archives

2. Applicant makes a presentation based on their previous research, prospective research or dissertation.

3. Applicant is interviewed by the selection committee. The selection criteria include academic qualifications, pedagogical skills, vision and personality suitable for the lecturer position.

 

Welfare bennefits

อัตราเงินเดือน

อัตราเงินเดือน : คุณวุฒิปริญญาเอก ๓๒,๔๕๐ บาท (ยังไม่รวมเงินเพิ่มหากมีประสบการณ์ตรงที่เป็นประโยชน์ในการปฏิบัติหน้าที่)

การรักษาพยาบาล  สิทธิกองทุนประกันสังคม/กองทุนเงินทดแทน/กองทุนพนักงานมหาวิทยาลัย

สวัสดิการต่างๆ สำหรับบุคลากรภายในสถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย

 

Benefits

Salary rate: The rate for a doctoral degree holder is 32,450 baht. The successful candidate’s prior academic experience directly related to the position may qualify for a supplement to the base salary.

Other:  Social security fund and health services for Mahidol University’s employees.

Application
Please submit an application form along e-Recruitment online at http://www.op.mahidol.ac.th/orpr/e-Recruitment

Application must be received by 8 July 2022
Candidate who are eligible to take an examination will announced by 7 October 2022

 
23 May 2022

รองศาสตราจารย์ ดร.มรกต ไมยเออร์
ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย