ภาระงานของนักอาชีวอนามัย
1. ด้านการให้บริการอาชีวอนามัย
1.1 ประสานงานกับผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้องเพื่อเพิ่มผลสัมฤทธิ์ของการให้บริการงานความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม
1.2 ร่วมจัดแผนงานงบประมาณการดำเนินงานและประเมินผลการให้บริการงานอาชีวอนามัย
1.3 พัฒนาและดำเนินงานระบบให้บริการและระบบข้อมูลอาชีวอนามัยอย่างต่อเนื่อง
1.4 ตรวจสอบและเสนอแนะให้ปฏิบัติตามกฎหมายความปลอดภัยในการทำงาน
2. ประเมิน / ร่วมประเมินสภาพงาน สภาพแวดล้อมและสุขภาพของผู้ให้บริการ
2.1 ตรวจวัดและประเมินสภาพแวดล้อมในการทำงาน รวมทั้งเสนอแนะงานด้านอาชีวอนามัย
2.2 ควบคุม กำจัดหรือปรับปรุงสิ่งคุกคามสุขภาพ
เพื่อลดปัญหาการเกิดโรคจากการทำงาน
2.3 แนะนำ ส่งเสริม ประสานงาน ให้ผู้ให้บริการมีการใช้มาตรการ การใช้อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล
2.4 ร่วมประเมินสุขภาพของผู้ให้บริการก่อนการทำงาน ระหว่างการทำงานหรือเมื่อออกจากงาน ในสภาพงานหรือสิ่งแวดล้อมที่อาจมีสิ่งคุกคามที่ทำให้เกิดโรค
3. ด้านการให้บริการสภาพแวดล้อมของผู้ป่วย
3.1 ร่วมตรวจวัดและประเมินสภาพแวดล้อมของผู้ป่วย (Healing Environment) เช่น การเก็บตัวอย่างอากาศเพื่อเพาะเชื้อ การตรวจวัดปริมาณและขนาดของฝุ่นในห้อง clean room เป็นต้น
3.2 รวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล จัดทำรายงานและมีแนวทางแก้ไขปัญหา
4. ด้านการฝึกอบรมและการบริการวิชาการ ให้กับผู้ให้บริการ ให้มีความรู้ความเข้าใจและปฏิบัติได้จริงด้านอาชีวอนามัย ตามที่กำหนดไว้ในองค์กร
5.จัดทำรายงานและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการประสบอันตราย การเจ็บป่วย หรือการเกิดเหตุเดือดร้อนรำคาญ
อันเนื่องจากการทำงาน
6.ร่วมจัดทำแผนงานด้านวิจัยในงานอาชีวอนามัย เพื่อนำองค์ความรู้มาปรับปรุง พัฒนางาน ด้านการให้บริการ การศึกษาและการฝึกอบรม
7.เก็บรวบรวมข้อมูล จำนวนและประเภทของงานที่รับผิดชอบเป็นรายเดือน และสรุปเป็นรายปี
8.ดำเนินงานระบบการจัดการด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย ISO 45000
9.ร่วมวางแผนและดำเนินงานด้านคุณภาพ เช่น งาน 5ส งานพัฒนา HA เพื่อให้ได้มาตรฐานตามนโยบายของคณะฯ
10.งานอื่น ๆ ตามที่ได้รับมอบหมายจากผู้บังคับบัญชา