ประกาศความเป็นส่วนตัวด้านข้อมูลผู้สมัครงาน มหาวิทยาลัยมหิดล e-Recruitment Online
ประกาศความเป็นส่วนตัวด้านข้อมูลผู้สมัครงาน มหาวิทยาลัยมหิดล
มหาวิทยาลัยมหิดลเคารพสิทธิความเป็นส่วนตัวของผู้สมัครงาน และเพื่อให้เกิดความมั่นใจว่าผู้สมัครงานได้รับความคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล จึงได้จัดทำประกาศความเป็นส่วนตัวฉบับนี้ขึ้น เพื่อแจ้งให้ทราบถึงรายละเอียดที่เกี่ยวข้องกับการเก็บรวบรวม การใช้ และการเปิดเผย (รวมเรียกว่า “การประมวลผล”) รวมตลอดถึงการลบ และทำลายข้อมูลส่วนบุคคลของผู้สมัครงาน ทั้งช่องทางออนไลน์ และช่องทางอื่น ๆ ตามที่พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 กำหนด
ประกาศความเป็นส่วนตัวด้านข้อมูลส่วนบุคคลนี้ใช้กับข้อมูลส่วนบุคคลที่ได้รับจากผู้สมัครงานโดยตรง และข้อมูลส่วนบุคคลที่ได้รับจากบุคคลหรือหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องซึ่งมหาวิทยาลัยจะต้องแจ้งให้ผู้สมัครงานรับทราบภายใน 30 วัน โปรดอ่านและทำความเข้าใจถึงกระบวนการที่มหาวิทยาลัยดำเนินการเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคลของผู้สมัครงาน
ในกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับประกาศความเป็นส่วนตัวด้านข้อมูลส่วนบุคคล มหาวิทยาลัยมหิดลจะแจ้งประกาศความเป็นส่วนตัวด้านข้อมูลส่วนบุคคลใหม่ไปยัง E-mail ของผู้สมัครงาน และในช่องทางอื่นที่ผู้สมัครงานสามารถเข้าถึงได้ เช่น บนหน้า Website (https://privacy.mahidol.ac.th) เป็นต้นข้อมูลส่วนบุคคลคืออะไรเป็นต้น
ประกาศความเป็นส่วนตัวด้านข้อมูลส่วนบุคคลนี้ใช้กับข้อมูลส่วนบุคคลที่ได้รับจากผู้สมัครงานโดยตรง และข้อมูลส่วนบุคคลที่ได้รับจากบุคคลหรือหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องซึ่งมหาวิทยาลัยจะต้องแจ้งให้ผู้สมัครงานรับทราบภายใน 30 วัน โปรดอ่านและทำความเข้าใจถึงกระบวนการที่มหาวิทยาลัยดำเนินการเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคลของผู้สมัครงาน
ในกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับประกาศความเป็นส่วนตัวด้านข้อมูลส่วนบุคคล มหาวิทยาลัยมหิดลจะแจ้งประกาศความเป็นส่วนตัวด้านข้อมูลส่วนบุคคลใหม่ไปยัง E-mail ของผู้สมัครงาน และในช่องทางอื่นที่ผู้สมัครงานสามารถเข้าถึงได้ เช่น บนหน้า Website (https://privacy.mahidol.ac.th) เป็นต้นข้อมูลส่วนบุคคลคืออะไรเป็นต้น
ข้อมูลส่วนบุคคลคืออะไร
“ข้อมูลส่วนบุคคล” หมายถึง ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับบุคคลซึ่งทำให้สามารถระบุตัวตนบุคคลนั้นได้ ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม ซึ่งอาจรวมถึง ชื่อของผู้สมัครงาน หรืออาจรวมถึงข้อมูลและสารสนเทศอื่น ๆ เช่น วันเดือนปีเกิด สัญชาติ เพศ ที่อาจรวมกันแล้วสามารถระบุถึงผู้สมัครงานได้ ข้อมูลและสารสนเทศนี้อาจเก็บได้ในหลายรูปแบบ เช่น ทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือแบบฟอร์มกระดาษ
ฐานกฎหมายในการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล
ภายใต้กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล มหาวิทยาลัมหิดลถือเป็นผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล (Data Controller)
ซึ่งมีอำนาจตัดสินใจเกี่ยวกับการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล ทั้งนี้ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลมีหน้าที่แจ้งให้ผู้สมัครงานทราบถึงแนวทางที่มหาวิทยาลัยใช้ในการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล เช่น ข้อมูลอะไรที่มหาวิทยาลัยจัดเก็บ
ใช้พื้นฐานกฎหมายหรือข้อบังคับอะไร ทำไมถึงต้องจัดเก็บ จัดเก็บจากที่ใด และมีการแบ่งปันข้อมูลส่วนบุคคลให้ใคร รวมถึงแจ้งสิทธิให้กับข้อมูลส่วนบุคคลของผู้สมัครงาน
ประเภทของข้อมูลส่วนบุคคลที่มีการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผย
- ข้อมูลและเอกสารที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการสรรหาและคัดเลือก เช่น Resume, Curriculum Vitae (CV) จดหมายสมัครงาน ใบสมัครงาน
- ข้อมูลประกอบการสรรหาและคัดเลือก เช่น ผลการทดสอบข้อเขียน แบบทดสอบบุคลิกภาพ ผลการสอบสัมภาษณ์ ผลการประเมินวัดคุณลักษณะ ข้อมูลเกี่ยวกับสื่อและสารสนเทศดิจิตอล ความเห็นประกอบการสรรหาและคัดเลือก เป็นต้น
- ข้อมูลในการติดต่อ เช่น ชื่อ นามสกุล ที่อยู่ หมายเลขโทรศัพท์ อีเมล
- ข้อมูลส่วนตัว เช่น วันเดือนปีเกิด อายุ เพศ สถานะการสมรส
- ข้อมูลเกี่ยวกับสมาชิกครอบครัวหรือผู้อยู่ในความดูแลของผู้สมัครงาน เช่น ข้อมูลเกี่ยวกับคู่สมรส ข้อมูลเกี่ยวกับบิดามารดา ทั้งนี้ ก่อนการให้ข้อมูลกับมหาวิทยาลัยให้ผู้สมัครงานแจ้งประกาศความเป็นส่วนตัวนี้ให้บุคคลดังกล่าวทราบด้วย
- รูปถ่าย
- ข้อมูลเกี่ยวกับการศึกษา ความสามารถ และการพัฒนาศักยภาพ และคุณสมบัติอื่น ๆ เช่น ระดับการศึกษา วุฒิการศึกษา สถาบัน/มหาวิทยาลัย ประวัติการศึกษา ประวัติการฝึกอบรม ผลการศึกษา ผลการทดสอบ คุณสมบัติด้านวิชาชีพ ความสามารถทางด้านภาษา และความสามารถอื่น ๆ ข้อมูลจากการอ้างอิงที่ผู้สมัครงานได้ให้แก่มหาวิทยาลัย
- ข้อมูลเกี่ยวกับประสบการณ์ทำงานและข้อมูลเกี่ยวกับการจ้างงานในอดีต เช่น รายละเอียดของนายจ้าง ตำแหน่งงาน เงินเดือนและค่าตอบแทน ระยะเวลา สาเหตุการพ้นจากงาน รวมถึงตำแหน่งงานที่สนใจ
- สถานภาพทางการทหาร
- สำเนาเอกสารที่สามารถใช้เพื่อระบุตัวตนของผู้สมัครงาน เช่น เลขประจำตัวประชาชน ทะเบียนบ้าน หนังสือเดินทาง เอกสารอื่น ๆ ที่ออกให้โดยหน่วยงานของรัฐ
- รายละเอียดของผู้ที่สามารถติดต่อได้ในกรณีฉุกเฉิน
- ข้อมูลเกี่ยวกับยานพาหนะ ใบอนุญาตขับขี่ ความสามารถในการขับขี่ยานพาหนะ (เฉพาะผู้สมัครงานในตำแหน่งที่จำเป็นต้องใช้ความสามารถในการขับขี่ยานพาหนะ เช่น พนักงานขับรถยนต์ เป็นต้น)
ข้อมูลส่วนบุคคลที่มีความละเอียดอ่อน
มหาวิทยาลัยไม่มีความจำเป็นต้องเก็บข้อมูลส่วนบุคคลที่มีความละเอียดอ่อนของผู้สมัครงาน ได้แก่ เชื้อชาติ เผ่าพันธุ์
ความคิดเห็นทางการเมือง ความเชื่อในลัทธิ ศาสนาหรือปรัชญา พฤติกรรมทางเพศ ประวัติอาชญากรรม ข้อมูลสุขภาพ ความพิการ ข้อมูลสหภาพแรงงานข้อมูลพันธุกรรม ข้อมูลชีวภาพ ในกระบวนการสรรหาและคัดเลือก หากมหาวิทยาลัยได้รับข้อมูลส่วนบุคคล
ที่มีความละเอียดอ่อนของผู้สมัครงานจากเอกสารที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการสรรหาและคัดเลือก เช่น สำเนาบัตรประชาชน Resume Curriculum Vitae (CV) โดยจะถือว่าผู้สมัครงานยินยอมให้มหาวิทยาลัยเก็บ รวบรวม ข้อมูลส่วนบุคคลที่มีความละเอียดอ่อน
ของผู้สมัครงาน ทั้งนี้ มหาวิทยาลัยจะไม่นำข้อมูลส่วนบุคคลที่มีความละเอียดอ่อนไปใช้ประโยชน์อื่นนอกเหนือจากที่แจ้งไว้ในประกาศฉบับนี้ และจะควบคุมการเข้าถึงและแบ่งปันข้อมูลที่มีความละเอียดอ่อนอย่างระมัดระวังกับผู้ที่เกี่ยวข้องเท่านั้น รวมถึงกรณีที่ต้อง
ให้ความยินยอม มหาวิทยาลัยจะแจ้งเหตุผลของการใช้ข้อมูลดังกล่าว และให้เหตุผลของผลกระทบจากการไม่ให้ข้อมูลดังกล่าว เพื่อให้ผู้สมัครงานสามารถพิจารณาถึงเหตุผลความจำเป็นได้ ทั้งนี้มหาวิทยาลัยจำเป็นต้องเก็บข้อมูลส่วนบุคคลเพิ่มเติมซึ่งอาจรวมถึงข้อมูลส่วนบุคคลที่มีความละเอียดอ่อนหากได้รับการคัดเลือกให้บรรจุเป็นบุคลากรของมหาวิทยาลัยตามเหตุผลด้านการพิสูจน์ความผิด
ทางกฎหมายและความจำเป็นด้านสวัสดิการและสิทธิประโยชน์
สารสนเทศที่มหาวิทยาลัยมหิดลได้รับและส่งต่อให้หน่วยงานหรือองค์กรอื่นที่เกี่ยวข้อง
มหาวิทยาลัยอาจเปิดเผยและแบ่งปันข้อมูลส่วนบุคคลที่ได้รับจากผู้สมัครงานกับส่วนงาน/หน่วยงานในสังกัดมหาวิทยาลัยมหิดล บุคคลและนิติบุคคลอื่นที่ไม่ได้เป็นส่วนงาน/หน่วยงานในสังกัดมหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์
การเก็บรวบรวมและประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลตามที่ระบุไว้ในประกาศความเป็นส่วนตัวนี้ เช่น ผู้ให้บริการเกี่ยวกับกระบวน
การสรรหาและคัดเลือกบุคคลากร ผู้ให้บริการสารสนเทศที่เกี่ยวข้อง ผู้มีอำนาจตามกฎหมาย เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ในการสรรหา
และคัดเลือกบุคคลที่เหมาะสม ทั้งนี้ มหาวิทยาลัยจะกำหนดให้ผู้ที่ได้รับข้อมูลมีมาตรการปกป้องข้อมูลของผู้สมัครงานอย่างเหมาะสมและประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลดังกล่าวเท่าที่จำเป็นเท่านั้น และดำเนินการเพื่อป้องกันไม่ให้ใช้หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลโดยปราศจากอำนาจโดยมิชอบ
วัตถุประสงค์ของการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล
มหาวิทยาลัยจะดำเนินการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลของผู้สมัครงานโดยมีวัตถุประสงค์ ขอบเขต และใช้วิธีการ
ที่ชอบด้วยกฎหมาย โปร่งใส และเป็นธรรม โดยจะประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลของผู้สมัครงานตามความจำเป็น เพื่อประเมินความเหมาะสมของผู้สมัครงานต่อตำแหน่งงาน และเพื่อตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลที่ผู้สมัครงานได้ให้ไว้กับมหาวิทยาลัย โดยมีวัตถุประสงค์ตามตารางที่ระบุต่อไปนี้
วัตถุประสงค์ | ประเภทข้อมูลส่วนบุคคล | ฐานกฎหมายที่ใช้ |
1. เพื่อดำเนินการที่จำเป็นในการพิจารณาและคัดเลือกผู้สมัครงานในขั้นตอนต่าง ๆ เช่น ขั้นตอนการสมัครผ่านเว็บไซต์รับสมัครงานของมหาวิทยาลัย (E-Recruitment) หรือสมัครผ่านทางมหาวิทยาลัยโดยตรง ขั้นตอนการสัมภาษณ์ ขั้นตอนการประเมินและคัดเลือก | ข้อมูลส่วนบุคคลตามที่ระบุไว้ในหัวข้อประเภทของข้อมูลส่วนบุคคลที่มีการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผย | การปฏิบัติตามสัญญาและการจำเป็นเพื่อประโยชน์โดยชอบด้วยกฎหมายของผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลหรือของบุคคลหรือนิติบุคคลอื่นที่ไม่ใช่ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล |
2. เพื่อวัตถุประสงค์ในการติดต่อสื่อสารการนัดหมาย การสัมภาษณ์งาน และวัตถุประสงค์ในการประเมินความสามารถ พิจารณาคุณสมบัติ ตรวจสอบความเหมาะสมของผู้สมัครงานสำหรับตำแหน่งงานที่สมัคร รวมถึงเพื่อวัตถุประสงค์ในการพิจารณาและเสนอตำแหน่งที่เหมาะสม อื่น ๆ ให้กับผู้สมัครงานอันเป็นการเพิ่มโอกาสการจ้างงานให้แก่ผู้สมัครงาน | ข้อมูลส่วนบุคคลตามที่ระบุไว้ในหัวข้อประเภทของข้อมูลส่วนบุคคลที่มีการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผย | การปฏิบัติตามสัญญาและการจำเป็นเพื่อประโยชน์โดยชอบด้วยกฎหมายของผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลหรือของบุคคลหรือนิติบุคคลอื่นที่ไม่ใช่ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล |
3. เพื่อดำเนินการตรวจสอบประวัติและคุณสมบัติของผู้สมัครงานก่อนการจ้างงานภายใต้ขอบเขตของกฎหมายและตรวจสอบข้อมูลจากบุคคลอ้างอิงที่ผู้สมัครงานระบุ | ข้อมูลส่วนบุคคลตามที่ระบุไว้ในหัวข้อประเภทของข้อมูลส่วนบุคคลที่มีการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผย | การปฏิบัติตามสัญญาและการจำเป็นเพื่อประโยชน์โดยชอบด้วยกฎหมายของผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลหรือของบุคคลหรือนิติบุคคลอื่นที่ไม่ใช่ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล |
4. เพื่อประโยชน์ในการบริหารจัดการภายในมหาวิทยาลัยเกี่ยวกับกระบวนการสรรหาและคัดเลือก เช่น การส่งข้อมูลผู้สมัครหรือรายงานการสัมภาษณ์ให้ฝ่ายที่เกี่ยวข้องและผู้มีอำนาจตัดสินใจคัดเลือก | ข้อมูลส่วนบุคคลตามที่ระบุไว้ในหัวข้อประเภทของข้อมูลส่วนบุคคลที่มีการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผย | การปฏิบัติตามสัญญาและการจำเป็นเพื่อประโยชน์โดยชอบด้วยกฎหมายของผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลหรือของบุคคลหรือนิติบุคคลอื่นที่ไม่ใช่ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล |
5. เพื่อดำเนินการในกระบวนการบริหารงานบุคคลอื่น ๆ หากเป็นผู้ได้รับการคัดเลือกให้ปฏิบัติงาน เช่น กระบวนการบรรจุเป็นบุคลากรของมหาวิทยาลัย | ข้อมูลส่วนบุคคลตามที่ระบุไว้ในหัวข้อประเภทของข้อมูลส่วนบุคคลที่มีการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผย | การปฏิบัติตามสัญญาและการจำเป็นเพื่อประโยชน์โดยชอบด้วยกฎหมายของผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลหรือของบุคคลหรือนิติบุคคลอื่นที่ไม่ใช่ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล |
6. เพื่อเก็บบันทึกข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ (Log File) | ชื่อผู้ใช้งานในการ login ระบบ E-Recruitment | การปฏิบัติตามกฎหมายของผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 และ ฉบับที่ 2 พ.ศ 2560 |
หลักการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
แนวทางการดำเนินการเมื่อมีการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล มหาวิทยาลัยมหิดลมหิดลจะทำตามประกาศมหาวิทยาลัยมหิดล เรื่อง นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2563 โดยจะสอดคล้องกับหลักการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลดังต่อไปนี้
- เป็นการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลโดยชอบด้วยกฎหมาย มีความโปร่งใส และสามารถตรวจสอบได้ (Lawfulness, Fairness and Transparency)
- เป็นการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลภายใต้ขอบเขตและวัตถุประสงค์ที่มหาวิทยาลัยกำหนด และไม่นำไปใช้หรือเปิดเผยนอกเหนือขอบเขตและวัตถุประสงค์ของการเก็บรวบรวม ใช้ เปิดเผยข้อมูลนั้น (Purpose Limitation)
- เป็นการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลอย่างเพียงพอ เกี่ยวข้อง และเท่าที่จำเป็นตามวัตถุประสงค์ของการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล (Data Minimization)
- เป็นการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลที่ถูกต้องและดำเนินการให้ข้อมูลเป็นปัจจุบันในกรณีที่จำเป็น (Accuracy)
- เป็นการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลตามระยะเวลาเท่าที่จำเป็น (Storage Limitation)
- เป็นการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลที่มีมาตรการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูลที่เหมาะสม (Integrity and Confidentiality)
ระยะเวลาการเก็บรักษา
มหาวิทยาลัยมหิดลจะทำการเก็บข้อมูลส่วนบุคคลของผู้สมัครงานเป็นเวลา 2 ปี เว้นแต่ผู้สมัครงานได้รับคัดเลือกให้บรรจุและแต่งตั้งเป็นบุคลากรของมหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยจะดำเนินการโอนข้อมูลส่วนบุคคลของผู้สมัครงานไปยังฐานข้อมูลบุคลากรของมหาวิทยาลัย
ทั้งนี้เพื่อประโยชน์ของกระบวนการสรรหาและคัดเลือก ทั้งนี้เพื่อประโยชน์ของกระบวนการสรรหาและคัดเลือก ข้อมูลชื่อ-สกุล ของผู้สมัครงานยังคงปรากฏอยู่ในประกาศ ที่เกี่ยวข้องกับการสรรหาและคัดเลือกตลอดไป ได้แก่ ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิสอบคัดเลือก ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิสัมภาษณ์ ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิสอบภาคปฏิบัติ ประกาศรายชื่อผู้ได้การรับคัดเลือก และข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับประกาศ
ทั้งนี้เพื่อประโยชน์ของกระบวนการสรรหาและคัดเลือก ทั้งนี้เพื่อประโยชน์ของกระบวนการสรรหาและคัดเลือก ข้อมูลชื่อ-สกุล ของผู้สมัครงานยังคงปรากฏอยู่ในประกาศ ที่เกี่ยวข้องกับการสรรหาและคัดเลือกตลอดไป ได้แก่ ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิสอบคัดเลือก ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิสัมภาษณ์ ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิสอบภาคปฏิบัติ ประกาศรายชื่อผู้ได้การรับคัดเลือก และข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับประกาศ
สิทธิของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล
การใช้สิทธิของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล รวมถึงช่องทางและการอำนวยความสะดวกให้แก่เจ้าของข้อมูลส่วนบุคลมีดังต่อไปนี้ี้้
- 1. สิทธิขอเข้าถึงและขอรับสำเนาข้อมูลส่วนบุคคลที่เกี่ยวกับตนซึ่งอยู่ในความคุ้มครองของมหาวิทยาลัย หรือขอให้เปิดเผย ถึงการได้มาซึ่งข้อมูลส่วนบุคคลที่ตนไม่ได้รับความยินยอม (Right of Access)
- 2. สิทธิขอรับข้อมูลส่วนบุคคลที่เกี่ยวกับตนจากมหาวิทยาลัย ในกรณีที่มหาวิทยาลัยได้ทำให้ข้อมูลส่วนบุคคลนั้นอยู่ในรูปแบบที่สามารถอ่านหรือใช้งานโดยทั่วไปได้ด้วยเครื่องมือหรืออุปกรณ์ที่ทำงานได้โดยอัตโนมัติและสามารถใช้หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลได้ด้วยวิธีการอัตโนมัติ รวมทั้งสิทธิขอให้มหาวิทยาลัยส่งหรือโอนข้อมูลส่วนบุคคลในรูปแบบดังกล่าวไปยัง ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลอื่นเมื่อสามารถทำได้ด้วยวิธีการอัตโนมัติ และสิทธิขอรับข้อมูลส่วนบุคคลที่มหาวิทยาลัยส่ง หรือโอนข้อมูลส่วนบุคคลในรูปแบบดังกล่าวไปยัง ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลอื่นโดยตรง เว้นแต่โดยสภาพทางเทคนิค ไม่สามารถทำได้ (Right to Data Portability)
- 3. สิทธิคัดค้านการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลที่เกี่ยวกับตน (Right to Object)
- 4. สิทธิขอให้มหาวิทยาลัยดำเนินการลบหรือทำลาย หรือทำให้ข้อมูลส่วนบุคคลเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวบุคคล ที่เป็นเจ้าของข้อมูลได้ (Right to Erasure)
- 5. สิทธิขอให้มหาวิทยาลัยระงับการใช้ข้อมูลส่วนบุคคล (Right to Restriction of Processing)
- 6. สิทธิร้องขอให้มหาวิทยาลัยดำเนินการให้ข้อมูลส่วนบุคคลถูกต้อง เป็นปัจจุบัน สมบูรณ์ และไม่ก่อให้เกิดความเข้าใจผิด (Right to Rectification)
มหาวิทยาลัยเคารพสิทธิของผู้สมัครงานในฐานะเจ้าของข้อมูลภายใต้กฎหมายที่เกี่ยวข้อง ซึ่งผู้สมัครงานสามารถติดต่อมหาวิทยาลัยเพื่อขอใช้สิทธิของเจ้าของข้อมูลได้ ทั้งนี้ ตามกฎหมายบัญญัติและมหาวิทยาลัยอาจปฏิเสธการใช้สิทธิดังกล่าวข้างต้นของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลหรือผู้มีอำนาจกระทำแทนได้หากไม่ขัดต่อกฎหมาย
ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับประกาศด้านความเป็นส่วนบุคคล และการติดต่อประสานงาน
ในกรณีที่ผู้สมัครงานมีข้อสงสัยหรือคำถามเกี่ยวกับข้อมูลความเป็นส่วนบุคคลของผู้สมัครงาน และในประกาศฉบับนี้ไม่ได้ระบุไว้ สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้บนหน้า Website https://privacy.mahidol.ac.th รวมถึงข้อเสนอแนะต่าง ๆ เกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคล และประกาศมหาวิทยาลัยมหิดล เรื่อง นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2563
ในกรณีที่ต้องการความช่วยเหลือเพิ่มเติม สามารถประสานงานได้ผ่านเจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของมหาวิทยาลัย (Data Protection Officer: DPO) หรือประสานงานผ่านทาง E-mail: privacy@mahidol.ac.th