1. ได้รับคุณวุฒิปริญญาตรี/โท วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยา หรือ จิตวิทยาคลินิก หรือสาขาอื่นๆที่เกี่ยวข้อง (การพิจารณาคุณสมบัติด้านการศึกษา จะถูกพิจารณาร่วมกับคุณสมบัติอื่นๆ และประวัติการทำงาน) 2. ไม่จำกัดเพศ (หากเป็นเพศชายต้องผ่านการเกณฑ์ทหารหรือได้รับการยกเว้น กรุณาแนบใบ ส.ด.8 หรือ ส.ด.43 ด้วย) 3. อายุไม่เกิน 40 ปีถึงวันรับสมัคร 4. มีหนังสือรับรองการผ่านงานด้านจิตวิทยาคลินิก ได้รับใบอนุญาตประกอบโรคศิลปะ มาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี 5. เป็นผู้ไม่บกพร่องในศีลธรรม จริยธรรมอันดี ไม่ต้องโทษคดีอาญา และไม่มีลักษณะต้องห้าม ตามข้อ 6 แห่งข้อบังคับมหาวิทยาลัยมหิดลว่าด้วยการบริหารงานบุคคลพนักงานมหาวิทยาลัย พ.ศ. 2551 ประกอบกับกฎ ก.พ. ว่าด้วยโรค พ.ศ.2553
เป็นผู้ปฏิบัติงานที่ต้องใช้ความรู้ทางวิชาชีพของนักจิตวิทยาคลินิก ในการประเมินผู้ป่วย ประเมินญาติ ครอบครัว ผู้ดูแล เพื่อเป็นข้อมูลกับสหวิชาชีพสำหรับวางแผนการรักษาตลอดจน ช่วยเหลือดูแลจิตใจของผู้ป่วย และผู้ดูแล จัดกิจกรรมกระตุ้นส่งเสริมการรู้คิด สร้างเสริมแรงใจ พลังใจทางบวกเพื่อเพิ่มคุณภาพจิตใจ และอารมณ์ของผู้ป่วยให้สอดคล้อง เหมาะสมกับความสามารถของผู้ป่วย และผู้ดูแล ร่วมออกแบบโมเดลการดูแลผู้สูงอายุ ภายใต้ยุทธศาสตร์การดูแลผู้สูงอายุ ของคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล โดยมีลักษณะงานที่ต้องปฏิบัติการในด้านต่างๆ ดังต่อไปนี้ 1. ด้านงานบริการ งานปฏิบัติการ 1.1 ประเมิน ใน 3 ประเด็นหลัก ได้แก่ ภาวะบกพร่องทางการรู้คิด (cognitive impairment) ภาวะซึมเศร้า (depression) และภาวะเหนื่อยล้าของญาติหรือผู้ดูแล (caregiver burden) วิเคราะห์ ตรวจวินิจฉัย ด้วยเครื่องมือทดสอบทางจิตวิทยาคลินิกตามมาตรฐานวิชาชีพจิตวิทยาคลินิก 1.2 เข้าร่วมประเมินคัดกรองผู้สูงอายุที่มีภาวะเปราะบาง (frailty) ผู้สูงอายุในระยะกลาง (intermediate care: IMC) ผู้สูงอายุที่อยู่ระยะเปลี่ยนผ่าน (transitional care) เพื่อให้ได้เข้าสู่กระบวนการดูแลรักษาในระยะเปลี่ยนผ่านอย่างเหมาะสม โดยมีการบริหารจัดการ วางแผน ให้การดูแล ติดตาม ส่งปรึกษา ร่วมกับทีมสหสาขาวิชาชีพ ภายใต้โครงการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการดูแลผู้สูงอายุของหน่วยขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ผู้สูงอายุ และโครงการต่างๆ ของคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลับมหิดล 1.3 ติดตามเกี่ยวกับความสามารถด้านการรู้คิดหรือการทำงานของสมอง และภาวะซึมเศร้าที่อาจเกิดขึ้นได้ในผู้ป่วย มีการดูแลจิตใจให้กับผู้ดูแลที่ประสบกับภาวะเหนื่อยล้าจากการดูแล (Caregiver burden) 1.4 ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการช่วยเหลือผู้ที่มีปัญหาทางจิตเวช และสุขภาพจิต รวมถึงการให้คำปรึกษาผู้ป่วย และญาติ โดยประเมินสถานภาพ วินิจฉัยปัญหา วางแผน ประเมินผลด้านจิตใจ รวมถึงการฟื้นฟูสภาพ ป้องกันโรค และส่งเสริมสุขภาพป้องกันโรคในผู้ป่วยสูงอายุ เพื่อให้ได้รับการบริการที่ได้มาตรฐานวิชาชีพ 1.5 จัดกิจกรรมกระตุ้นการรู้คิด ส่งเสริมคุณภาพจิตใจและอารมณ์ของผู้ป่วย ผู้ดูแล ครอบครัว/ญาติ ทำกิจกรรม Brain Fitness สอนกลุ่มผู้ที่มารับบริการ 1.6 สำรวจ ศึกษา รวบรวม จัดเก็บ สถิติ ตัวชี้วัด สรุปจัดทำรายงาน สร้างฐานข้อมูล วิเคราะห์ รายงานผล ข้อเสนอแนะ แนวทางต่างๆ เพื่อนำไปใช้ในการดำเนินงาน ประกอบการพัฒนา และวางแผน เพื่อการดูแลผู้สูงอายุ และครอบครัวผู้ดูแล 1.7 พัฒนาความรู้ และทักษะตนเองในการดูแลผู้สูงอายุ ในทุกๆ มิติ ที่เกี่ยวข้องกับการดูแลผู้สูงอายุ เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด 1.8 ประชุม ปรึกษา วางแผนการทำงาน ประสานความร่วมมือ ให้ความร่วมมือในการทำงานร่วมกันกับทีมสหสาขาวิชาชีพต่างๆ ทั้งภายในหน่วยงาน ภายนอกหน่วยงานเพื่อสนับสนุน ส่งเสริมให้เกิดการดูแลผู้สูงอายุให้ครอบคลุมทุกมิติการดูแลอย่างครบถ้วนแบบองค์รวม
2. ด้านงานวิชาการ งานวิจัย งานนโยบาย และงานอื่นๆ ที่ได้รับมอบหมาย 2.1 ร่วมออกแบบรูปแบบการดูแล (model of care) ในผู้สูงอายุร่วมกับทีมสหสาขาวิชาชีพ หน่วยขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ผู้สูงอายุ (TCC) ภายใต้ยุทธศาสตร์การดูแลผู้สูงอายุของคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล 2.2 มีส่วนร่วมในงานวิชาการ งานวิจัยของหน่วยขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ผู้สูงอายุ (TCC) เช่น เป็นผู้ร่วมโครงการวิจัย เป็นผู้เก็บรวบรวมข้อมูล แบบสำรวจ วิเคราะห์ข้อมูลวิจัย ข้อคำถามในโครงการวิจัยต่างๆ ร่วมกับแพทย์ และสหวิชาชีพ เขียนบทความ จัดทำคู่มือ เพื่อพัฒนารูปแบบการดูแลผู้สูงอายุ ครอบครัว และผู้ดูแล 2.3 เป็นวิทยากร ให้คำแนะนำ ให้บริการทางวิชาการ ถ่ายทอดความรู้ทางด้านสุขภาพจิต ให้กับบุคลากรทางการแพทย์และบุคคลทั่วไป ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาบริการทางการแพทย์ในการดูแลผู้ป่วยสูงอายุ 2.4 ให้บริการข้อมูล ในรูปแบบต่างๆ เกี่ยวกับความรู้ทางด้านสุขภาพจิต แก่ครอบครัว กลุ่ม ชุมชน องค์กร หน่วยงานภาครัฐ เอกชน เครือข่าย ประชาชนทั่วไป และผู้ที่สนใจ ตลอดจนส่งเสริมให้เกิดความรู้ด้านสุขภาพจิตได้อย่างเหมาะสม และมีประสิทธิภาพ 2.5 จัดการฝึกอบรม จัดกิจกรรม จัดทำสื่อ และถ่ายทอดความรู้ด้านสุขภาพจิตแก่ บุคลากรภายในหน่วยงาน ครอบครัว กลุ่มชุมชน หน่วยงานภาครัฐ เอกชน เครือข่าย และประชาชนทั่วไป เพื่อให้ความรู้ สร้างความเข้าใจ และพัฒนาศักยภาพ และความสามารถในการดำเนินงานด้านการดูแลผู้ป่วยสูงอายุในพื้นที่ และชุมชนให้เกิดประสิทธิภาพ 2.6 เป็นตัวแทนหน่วยงานเข้าร่วมเป็นคณะกรรมการชุดต่างๆ 2.7 ปฏิบัติงานอื่นๆ ตามที่ได้รับมอบหมายจากผู้บังคับบัญชา
สอบสัมภาษณ์
1. เงินเดือนคุณวุฒิปริญญาตรี 20,090 บาท / คุณวุฒิปริญญาโท 23,440 บาท 2. เงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษของผู้ปฏิบัติงานให้บริการด้านการแพทย์ 3. Siriraj Fitness Center อาคารกีฬาและกิจกรรมนันทนาการ 4. กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ 5. การฝึกอบรมและพัฒนาพนักงาน 6. การตรวจสุขภาพประจำปี 7. ทำงานสัปดาห์ละ 5 วัน 8. ทุนการศึกษา / ฝึกอบรม 9. ประกันสังคมของโรงพยาบาลศิริราช 10. รถรับ-ส่งบุคคลากร 11. ศูนย์รับเลี้ยงและพัฒนาเด็กศิริราช 12. ศูนย์อาหารและร้านค้าสวัสดิการ 13. สมาชิกสหกรณ์ออมทรัพย์มหาวิทยาลัยมหิดล 14. สวัสดิการค่ารักษาพยาบาลบุคลากรและครอบครัว และสวัสดิการยืดหยุ่น (Flexible Benefit) 15. สิทธิลดหย่อนค่ารักษาพยาบาลและส่วนเกินสิทธิ 16. สิทธิการลากิจ ลาป่วย ลาพักผ่อนประจำปี 10 วัน/ปี (สะสมได้) การลาอื่นๆ ตามที่คณะฯกำหนด 17. สิทธิพิเศษส่วนลดร้านค้า 18. สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยอัตราดอกเบี้ยพิเศษ 19. เงินชดเชยเมื่อเกษียณ 20. เงินช่วยเหลือฌาปนกิจ