รายละเอียดตำแหน่งงาน

  • ตำแหน่งที่เปิดรับสมัคร :
    อาจารย์ (วัฒนธรรมศึกษา ด้านสุขภาพ)
  • จำนวน :
    1 อัตรา
  • ประเภทบุคคล :
    พนักงานมหาวิทยาลัย
  • สังกัด :
    สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย
  • ปฏิบัติงาน :
    กลุ่มวิชาภาษา วัฒนธรรม การสื่อสารและการพัฒนา
  • เปิดรับสมัคร :
    16 สิงหาคม 2562
  • ปิดรับสมัคร :
    31 กรกฎาคม 2563 ( ขยายเวลารับสมัครครั้งที่ 2 )
  • ประกาศรายชื่อ :
    17 สิงหาคม 2563
  • วันที่นัดหมาย :
    -
  • วันที่รายงานตัว :
    -
  • ระดับการศึกษา :
    ปริญญาเอก
  • ประสบการณ์ :
    ต้องมีประสบการณ์วิจัยด้านวัฒนธรรมและสุขภาวะในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องกับสาธารณสุข หรือสุขภาพ หรือสาขาที่เกี่ยข้องกับวัฒนธรรสุขภาพ
  • อายุไม่เกิน :
    45 ปีนับถึงวันที่สมัคร
  • คุณสมบัติผู้สมัคร :

    คุณสมบัติทั่วไป

    ๑. ไม่จำกัดเพศ อายุไม่เกิน ๔๕ ปีนับถึงวันที่สมัคร (เพศชายต้องผ่านการเกณฑ์ทหารแล้ว หรือจบ ร.ด. ปี ๓)

    ๒. ไม่เคยต้องโทษจำคุก โดยคำพิพากษาเพราะกระทำผิดทางอาญา

    คุณสมบัติเฉพาะตำแหน่ง (Required qualifications) :

    ๑. เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอก สาขาใดก็ได้แต่ต้องมีประสบการณ์วิจัยด้านวัฒนธรรมและสุขภาวะ
    ในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องกับสาธารณสุข หรือสุขภาพ หรือสาขาที่เกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมสุขภาพ

    ๒. เป็นผู้ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการระดับผู้ช่วยศาสตราจารย์ขึ้นไป

    ๓. มีความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษระดับดี โดยมีผลคะแนน IELTS (Academic Module) คะแนนรวมไม่ต่ำกว่า ๖ คะแนน หรือ TOEFL IBT (Internet Based)  คะแนนรวมไม่ต่ำกว่า ๗๙ คะแนน หรือ TOEFL- ITP  คะแนนรวมไม่ต่ำกว่า ๕๕๐ คะแนน หรือ TOEFL- CBT คะแนนรวมไม่ต่ำกว่า ๒๑๓ คะแนน หรือ MU GRAD Test  คะแนนรวมไม่ต่ำกว่า ๘๐ คะแนน  และเป็นผลการสอบที่มีระยะเวลาไม่เกิน ๒ ปี นับถึงวันที่ยื่นใบสมัคร (แนบผลคะแนน ณ วันที่สมัคร) หากไม่มีผลคะแนนดังกล่าวมหาวิทยาลัยจะไม่พิจารณาใบสมัคร

    กรณี เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอกขึ้นไป และมีผลคะแนนทดสอบภาษาอังกฤษก่อนเข้าศึกษา โดยผลคะแนนทดสอบภาษาอังกฤษมากกว่าหรือเท่ากับเกณฑ์ที่กำหนดไว้ข้างต้น จะแนบผลคะแนนทดสอบภาษาอังกฤษก่อนเข้าศึกษาดังกล่าวแทนก็ได้  หรือ เป็นผู้สำเร็จการศึกษาจากหลักสูตรที่มีการเรียนการสอนเป็นภาษาอังกฤษ (หลักสูตรนานาชาติ) ในประเทศที่มีการใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาทางการ จะไม่แนบผลคะแนนทดสอบภาษาอังกฤษดังกล่าวก็ได้

    ๔. เป็นผู้ที่มีทักษะการวิจัยเชิงปริมาณ และการวิเคราะห์สถิติขั้นสูง (หากมีประสบการณ์การวิจัย longitudinal study จะได้รับการพิจารณาเป็นพิเศษ)

    ๕. ระบุเครือข่ายวิชาการทั้งในและต่างประเทศ และโปรดให้ข้อมูลความร่วมมือที่ทำร่วมกัน (อาทิ โครงการวิจัย การเผยแพร่ผลงานวิชาการ พร้อมหลักฐาน (ถ้ามี)

    ๖. มีประสบการณ์บริหารโครงการวิจัยระดับแผนงาน

    ๗. มีประสบการณ์บรรณาธิการหนังสือ หรือวารสารจะได้รับการพิจารณาเป็นพิเศษ

    ๘. มีประสบการณ์สอนหรือการบรรยายวิชาการในระดับอุดมศึกษา และมีผลงานวิจัย/หรืออยู่ระหว่างการพัฒนาผลงานเพื่อตีพิมพ์ทางวิชาการในฐานข้อมูลสากล

    ๙. มีความรู้และทักษะในการใช้ภาษาไทยและภาษาอังกฤษในการสื่อสาร และการวิจัยในระดับดีมาก

    ๑๐. หากมีความรู้ภาษาอาเซียนหรือภาษาอื่นๆ จะได้รับการพิจารณาเป็นพิเศษ

    ๑๑. ผู้สมัครต้องเป็นผู้ไม่ติดเงื่อนไขการชดใช้ทุนกับหน่วยงานใด

     

  • การทดสอบภาษาอังกฤษ :
    ผ่านเกณฑ์ทดสอบภาษาอังกฤษที่มหาวิทยาลัยมหิดลกำหนด จะต้องได้คะแนนไม่ต่ำกว่าเกณฑ์อย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนี้
    IELTS(Academic Module)
    คะแนนไม่ต่ำกว่า
    6
    TOEFL IBT
    คะแนนไม่ต่ำกว่า
    79
    TOEFL ITP
    คะแนนไม่ต่ำกว่า
    550
    TOEFL CBT
    คะแนนไม่ต่ำกว่า
    213
    MU GRAD TEST
    คะแนนไม่ต่ำกว่า
    80
    MU GRAD PLUS
    คะแนนไม่ต่ำกว่า
    90
    CU-TEP
    คะแนนไม่ต่ำกว่า
    75
    TU-GET (Computer Based)
    คะแนนไม่ต่ำกว่า
    550
    TU-GET (Computer Based)
    คะแนนไม่ต่ำกว่า
    80
    โดยผลคะแนนการทดสอบภาษาอังกฤษต้องมีอายุไม่เกิน 2 ปี นับถึงวันยื่นใบสมัคร
  • หน้าที่ความรับผิดชอบ :

    หน้าที่รับผิดชอบโดยย่อ : ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการวิจัย การสอน การให้คำแนะนำแก่นักศึกษา การบริการทางวิชาการที่เกี่ยวกับวัฒนธรรมโดยเฉพาะในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องข้างต้น

  • หลักเกณฑ์การคัดเลือก :

    การคัดเลือก : พิจารณาคุณสมบัติเบื้องต้นจากคณะกรรมการ เพื่อสอบนำเสนอผลงาน  สอบสอน  สอบสัมภาษณ์ ดังนี้

    ๑. ผู้สมัครนำเสนอแผนการสอน (course syllabus) จำนวน ๑ วิชา โดยระบุเนื้อหา /หัวข้อการสอนแต่ละครั้ง เอกสารสำหรับนักศึกษาอ่านประกอบในแต่ละครั้ง การวัดผลและประเมินผลการเรียน (แผนการสอน ๑ รายวิชา ประกอบด้วยการเรียนการสอนจำนวน ๑๕ ครั้ง) รายวิชาที่ผู้สมัครสามารถจัดทำแผนการสอนมีดังนี้

     

    สุขภาพในยุคดิจิตัล                                                           

    Health in Digital Era

    แนวคิดจักรวาลวิทยาทางการแพทย์ใหม่-เวชนิทัศน์การแพทย์ แนวคิดร่างพันธุ์ผสมไซเบอร์ กรอบคิดร่วมสมัยของความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลข่าวสาร การสะท้อนกลับ และสุขภาพในยุคดิจิทัล การย้ายฐานความรู้และปฏิบัติการทางการแพทย์จากสถาบันดั้งเดิมสู่การแพร่กระจายด้วยดิจิทัลเทคโนโลยี ความสำคัญของการใช้สื่อสังคมออนไลน์และเครื่องมือสื่อสารอิเล็กทรอนิกส์ในประเด็นสุขภาพด้วยรูปแบบการโต้กลับ ณ เวลาจริง ผลของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ต่อการแฝงฝังร่างและจิตวิสัยของมนุษย์ การเมืองแห่งการจ้องมองกับประเด็นความเป็นส่วนตัว ความใกล้ชิดผูกพัน และจริยธรรม

    The concept of new medical cosmology- e-scaped medicine, the concept of cyborg bodies, contemporary conceptualization of the relationship between information, reflexivity and health in the digital age, the shift in the location of medical knowledge and practice from medical institutions to diffuse digital information technologies, the importance of using social media and electronic devices with ‘real-time feedback’ on health issues, the implications of computerized technologies for human embodiment and subjectivity, the politic of
    gazing-privacy, intimacy, and ethical issues.

     

    ธุรกิจสุขภาพภายใต้แนวคิดเสรีนิยมใหม่                                           

    The Health Business under Neo-liberalism

     การวิเคราะห์มโนทัศน์ร่วมสมัยทางด้านชีวการแพทย์ภายใต้กรอบคิดเสรีนิยมใหม่ที่มีต่อร่างกาย ความงาม และสุขภาพ ระบบสุขภาพในสังคมทุนนิยมเสรี อุตสาหกรรมที่เกี่ยวกับร่างกาย สุขภาพ และระบบสุขภาพ วัฒนธรรมและความเชื่อมโยงระหว่างอำนาจแห่งเทคโนโลยีและอำนาจในการจัดการร่างกาย การแปลงเทคโนโลยีสู่ความจำเป็นทางศีลธรรม ภาพตัวแทนทางสังคมของความงามชาย-หญิง และการแพทย์เพื่อความงาม อันตรายและประเด็นขัดแย้งในธุรกิจสุขภาพ

    Analyzing contemporary concepts of bio-medicine under Neo-liberalism framework towards body, beauty, and health, health system in capitalist society, the commodification of the body, health and health care, culture and the intersection of ‘technologies of power’ and ‘techniques of the self’, the transformation of the technological imperative to a moral imperative, social representations of masculine/feminine beauty and aesthetic medicine, dangers and dilemmas of health business.

     

     

     

     

    วัฒนธรรมอาหาร สุขภาพ และสังคม                                                

    Food Culture, Health and Society

    ความเชื่อด้านพฤติกรรม และอิทธิพลโลกาภิวัตน์ต่อบริโภคนิสัยของประชาชน บริโภคนิสัยที่ก่อให้เกิดความเจ็บป่วยและโรคต่างๆ การศึกษาเพื่อเปลี่ยนแปลงความเชื่อและพฤติกรรม การศึกษาสังคมร่วมสมัยผ่านวัฒนธรรมอาหาร ความเป็นการเมืองเรื่องของอาหาร รสนิยมและการสร้างความแตกต่างผ่านอาหาร อาหาร เพศสภาพที่เกี่ยวกับอาหารและอัตลักษณ์ของกลุ่มคน การวิเคราะห์นโยบายรัฐในการแข่งขันเพื่อพัฒนาการบริโภคอาหารไปสู่อุตสาหกรรมครัวโลก

    Beliefs, behaviors and influences of globalization on people’s food habits, food habit as a cause for illnesses and diseases, education as a way to change beliefs and behaviors, exploring contemporary society through food culture, food politics, taste and distinction in food, food in relation to gender and identity, analyzing state policies in developing food industry as a competitive world cuisine.

     

    สุขภาพกับการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมในภูมิภาคอาเซียน                 

    Health and Cultural Change in ASEAN

     แนวคิดเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรม การเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมในยุคสมัยต่างๆ ทฤษฎีการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรม กระบวนการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมและการปรับตัว การเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมในเอเชีย และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ การเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมที่มีผลต่อพฤติกรรมสุขภาพ การเปลี่ยนแปลงด้านประชากรที่กระทบต่อวัฒนธรรมและสุขภาพของผู้สูงอายุ การเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมและสุขภาพของผู้หญิง นโยบายสุขภาพท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรม การวิเคราะห์กรณีศึกษาจากประเทศต่างๆ ในภูมิภาคอาเซียน

    Concepts of cultural change, cultural change in major eras in world history, theories of cultural change, health and cultural transformation within Asia and Southeast Asia, the consequences of cultural change on health behaviors, impact of population change on culture and elderly health, culture change and woman’s health, health policy amidst the cultural change, exploring case studies from ASEAN countries.

     

    สุขภาพกับชาติพันธุ์                                                                   

    Health and Ethnic Group

    แนวคิดเกี่ยวกับชาติพันธุ์ นิยามและการวัดชาติพันธุ์ ความเชื่อมโยงระหว่างชาติพันธุ์กับสุขภาพ พฤติกรรมสุขภาพของกลุ่มชาติพันธุ์ ทฤษฎีจิตวิทยาสังคมกับความแตกต่างทางสุขภาพ ต้นแบบของความสามารถทางวัฒนธรรม สถานะและปัญหาสุขภาพของกลุ่มชาติพันธุ์ สาเหตุของความแตกต่างทางสุขภาพในกลุ่มชาติพันธุ์ ความหลากหลายของการดูแลสุขภาพ

    Concept of ethnicity, definition of ethnicity and measurement, the nexus of ethnicity and health, health behavior of ethnic groups, psychosocial theories of health disparities, the model of cultural competence, health statuses and health problems of ethnic groups,  causes for ethnic differences in health, health care in diverse cultures.

     

     

     

    ๒. ผู้สมัครนำเสนอผลงานวิชาการ

    ๓. การสอบสัมภาษณ์ โดยพิจารณาจากคุณสมบัติทางวิชาการความสามารถในการถ่ายทอดความรู้ และบุคลิกภาพที่เหมาะสมกับตำแหน่งอาจารย์

  • อัตราเงินเดือนและสวัสดิการ :

    อัตราเงินเดือน : คุณวุฒิปริญญาเอก ๓๒,๔๕๐ บาท  (บวกเงินเพิ่มหากมีประสบการณ์ตรงที่เป็นประโยชน์ในการปฏิบัติหน้าที่)

    สิทธิประโยชน์และสวัสดิการ :  กองทุนประกันสังคม

     

  • หมายเหตุ :
    -
  • ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม :
    02-8002308-14 ต่อ 3207
  • เอกสารประกอบ :
    อ่านประกาศ   ดาวน์โหลดประกาศ
  • รายชื่อผู้มีสิทธิ์เข้าสอบข้อเขียน :
    ดาวน์โหลดประกาศ
  • รายชื่อผู้มีสิทธิ์เข้าสอบสัมภาษณ์ :
    อ่านประกาศ   
  • รายชื่อผู้ผ่านการคัดเลือก :